Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57167
Title: ผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน ตามทฤษฎีการเรียนรู้จากการปรับเปลี่ยนมโนทัศน์ที่มีต่อพฤติกรรมแบบพึ่งพา ของผู้ป่วยติดยาเสพติดของศูนย์บำบัดยาเสพติดในเขต 3 จังหวัดชายแดนใต้
Other Titles: Effects of organizing non-formal education activities based on transformative learning theory on dependence behavior of drug addicts in Drug Dependence Treatment Centers in three Southern provinces
Authors: ธาวินี สุพุทธิกุล
Advisors: วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Wirathep.P@Chula.ac.th
Subjects: กิจกรรมการเรียนการสอน
การศึกษานอกระบบโรงเรียน
การเรียนรู้การเปลี่ยนแปลง
คนติดยาเสพติด
การพึ่งพา (จิตวิทยา)
Activity programs in education
Non-formal education
Transformative learning
Drug addicts
Dependency (Psychology)
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามทฤษฎีการเรียนรู้จากการปรับเปลี่ยนมโนทัศน์ ที่มีต่อพฤติกรรมแบบพึ่งพาของผู้ป่วยติดยาเสพติดของศูนย์บำบัดยาเสพติดในเขต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) เปรียบเทียบผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน ตามทฤษฎีการเรียนรู้จากการปรับเปลี่ยนมโนทัศน์ ที่มีต่อพฤติกรรมแบบพึ่งพาของผู้ป่วยติดยาเสพติดระหว่างก่อนและหลังการทดลอง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง โดยมีกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ ผู้ป่วยติดยาเสพติด จำนวน 40 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลองเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน ตามทฤษฎีการเรียนรู้จากการปรับเปลี่ยนมโนทัศน์ที่มีต่อพฤติกรรมแบบพึ่งพาจำนวน 20 คน และกลุ่มควบคุมไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมนี้จำนวน 20 คน กลุ่มทดลองจะเข้าร่วมกิจกรรม 2 ระยะ คือ ระยะการดำเนินกิจกรรมเป็นเวลา 33 ชั่วโมง และระยะทดลองปฏิบัติเป็นเวลา 2 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบตามทฤษฎีการเรียนรู้จากการปรับปลี่ยนมโนทัศน์ ที่มีต่อพฤติกรรมแบบพึ่งพาของผู้ป่วยติดยาเสพติด แบบวัดพฤติกรรมแบบพึ่งพา และประเด็นสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (x-bar) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติทดสอบค่าที (t-test) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการของกิจกรรม ได้แก่ (1) ความรู้สึกไม่พอใจกับสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ (2) การตรวจสอบตนเอง (3) การประเมินตนเอง (4) การวิพากษ์วิจารณ์ร่วมกัน (5) การค้นหาทางเลือก (6) การวางแผนการปฏิบัติ (7) การศึกษาหาความรู้และทักษะที่ใช้เพื่อดำเนินตามแผน (8) การทดลองปฏิบัติตามแผนและประเมินผลย้อนกลับ (9) การพัฒนาความสามารถและความเชื่อมั่นบทบาทใหม่ (10) การบูรณาการมโนทัศน์ใหม่เข้ากับวิถีการดำเนินชีวิต 2) ผลการทดลองจัดกิจกรรมพบว่า กลุ่มทดลองมีระดับพฤติกรรมแบบพึ่งพาหลังการทดลองต่ำกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: To 1) develop the non-formal education activities based on Transformative Learning theory on dependence behavior of drug addicts in Drug Dependence Treatment Centers in three southern provinces, 2) compare effects of organizing non-formal education activities based on Transformative Learning theory on dependence behavior of drug addicts between before and after experiment. This was quasi-experimental research. The subjects were 40 drug addicts. They were divided into 2 groups: 20 were in the experimental group and 20 were in the controlled group. The experimental group participated in 2 phases of the activities: the activities were organized for 33 hours and the practice part for 2 weeks. The research instruments were the planning of organizing activities based on dependence behavior of drug addicts, the dependence behavior test, and the focus groups questions. The data were analyzed by using Means (x-bar), Standard Deviation (S.D.), and independent-samples t (t-test) at .05 level of significance. The results of this study were 1) the activities processes were (1) disorienting Dilemma (2) self-examination (3) critical assessment (4) recognition that others have shared similar transformations (5) exploration of new roles or actions (6) development of a plan for action (7) acquisition of knowledge and skills for implementing the plan (8) tryout of the plan (9) development of competence and self-confidence in new roles (10) reintegration into life on the basis of new perspectives, 2) the results of organizing activities of this study were that the experimental group had dependence behavior level after experiment lower than before experiment at .05 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57167
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.750
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.750
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
tawinee_su_front.pdf1.4 MBAdobe PDFView/Open
tawinee_su_ch1.pdf1.78 MBAdobe PDFView/Open
tawinee_su_ch2.pdf6.33 MBAdobe PDFView/Open
tawinee_su_ch3.pdf3.48 MBAdobe PDFView/Open
tawinee_su_ch4.pdf3.67 MBAdobe PDFView/Open
tawinee_su_ch5.pdf2.93 MBAdobe PDFView/Open
tawinee_su_back.pdf6.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.