Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57205
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรอนงค์ อร่ามวิทย์-
dc.contributor.advisorอุปถัมภ์ ศุภสินธุ์-
dc.contributor.authorปณิภัทร บุญมี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-02-22T01:59:15Z-
dc.date.available2018-02-22T01:59:15Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57205-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: ศึกษาผลของยา rosiglitazone ที่มีต่อภาวะดื้ออินซูลินในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบถาวรที่ไม่เป็นเบาหวาน และความปลอดภัยจากการใช้ยาในผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงทดลองชนิด pretest-posttest with repeated measure design ในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบถาวรที่ไม่เป็นเบาหวาน แผนกโรคไต โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ผู้เข้าร่วมการวิจัยได้รับยา rosiglitazone ขนาด 2 มิลลิกรัม (4 มิลลิกรัม แบ่งครึ่งเม็ด) วันละ 2 ครั้งนาน 12 สัปดาห์ ทำการประเมิน (1) ค่า homeostasis model assessment index (HOMA-IR) (2) ผลการตรวจร่างกาย (3) ผลทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ ระดับไขมันในเลือด ฮีมา โตคริตและฮีโม โกลบิน และการทำงานของตับ (4) การประเมินปริมาณน้ำและไขมันในร่างกายโดย bioelectrical impedance analysis (BIA) (5) อาการไม่พึงประสงค์ ในสัปดาห์ที่ 4, 8 และ 12 หลังได้รับยา ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 12 ราย เป็นเพศชายร้อยละ 83.33 อายุเฉลี่ย 54.17 +- 11.42 (38-81) ปี น้ำหนักเฉลี่ย 61.12 +- 6.30 กิโลกรัม ดัชนีมวลกายเฉลี่ย 22.97 +- 1.73 กิโลกรัมต่อตารางเมตร เข้ารับการล้างไตนาน 54 +- 34 เดือน ก่อนเริ่มการวิจัยพบว่าผู้ป่วยมีระดับอินซูลินและระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารเฉลี่ย 28.50 +- 23.70 UIU/ml และ 5.44 +- 0.59 mmol/L ตามลำดับ ซึ่งคำนวณค่า HOMA-IR ได้ค่าเฉลี่ย 6.70 +- 5.23 หลังจากให้ยา rosiglitazone นาน 12 สัปดาห์พบว่า HOMA-IR ลดลง 3.45 +- 4.30 เทียบเท่ากับร้อยละ 51.49 และระดับอินซูลินลดลง 15.17 +- 20.34 UIU/ml อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในขณะที่ระดับน้ำตาลไม่เปลี่ยนแปลง (p>0.05) เมื่อพิจารณาด้านความปลอดภัยของยาพบว่าในสัปดาห์ที่ 4 มีผู้ป่วย 7 ราย (ร้อยละ 58.33 ของผู้ป่วยทั้งหมด) ที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 16.57 +- 37.47 กิโลกรัม ซึ่งเป็นผู้ที่แสดงอาการบวมบริเวณอวัยวะส่วนปลาย 5 ราย (ร้อยละ 41.67 ของผู้ป่วยทั้งหมด) ผลการประเมินด้วย BIA ในผู้ป่วยทั้ง 12 รายพบว่าปริมาณน้ำรวมมีค่าเพิ่มขึ้น 5.32 +- 5.65 ลิตร ปริมาณน้ำนอกเซลล์มีค่าเพิ่มขึ้น 5.03 +- 7.94 ลิตรทั้งพลาสมาซึ่งเพิ่มขึ้น 0.86 +- 0.60 ลิตรและน้ำระหว่างเซลล์เพิ่มขึ้น 2.48 +- 1.99 ลิตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในขณะที่ปริมาณน้ำในเซลล์ ปริมาณ ไขมันในร่างกาย และผลทางห้องปฏิบัติการ (ได้แก่ระดับความดันโลหิต ระดับไขมันในเลือด ค่าความเข้มข้นเลือด และการทำงานของตับ) ไม่เปลี่ยนแปลง (p>0.05) อาการไม่พึงประสงค์อื่นทีพบได้แก่ อาการปวดศีรษะและชา (ร้อยละ 8.33) สรุปผลการศึกษา: Rosiglitazone มีประสิทธิผลในการลดภาวะดื้ออินซูลินที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบถาวรที่ไม่เป็นเบาหวาน นอกจากนี้อาการข้างเคียงจากการใช้ยาที่พบในการวิจัยได้แก่ น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น อาการบวมน้ำบริเวณอวัยวะส่วนปลายและการเพิ่มขึ้นของปริมาณน้ำในร่างกายen_US
dc.description.abstractalternativeObjective: To investigate the safety and efficacy of rosiglitazone on insulin resistance in CAPD patients without diabetes mellitus. Method: A pretest-posttest with repeated measure design study was carried out in CAPD outpatients of Pramonkutklao Hospital. All patients received rosiglitazone 4 mg/day (2 mg twice daily) for 12 weeks. Patients were assessed for: (1) efficacy in insulin resistance reduction assess by Homeostasis Model Assessment Index (HOMA-IR) (2) changes in physical examination (3) changes in labolatory data include lipid profiles, hemoglobin and hematocrit level, liver function test (4) changes in body composition assess by bioelectrical impedance analysis (BIA) and (5) incidence of adverse events. Result: From the total of 12 patients, 83.33 percent was male, average age was 54.17+-11.42 (38-81) years old, average body weight was 61.12 +-6.30 kg., average body mass index was 22.97+-1.73 kg/m[superscript] and average dialysis dialysis duration was 54 +-34 months. At baseline, all patients showed an insulin resistance (average HOMA-IR 6.70 +_ 5.23) and high fasting insulin level (28.50+-23.70 UIU/ml) but normal fasting blood sugar level (5.45 +- 0.59 mmol/L). After 12 weeks of rosiglitazone therapy, there were significant decrease in HOMA-IR (3.45+-4.30 or 51.49 percent; p<0.05) and fasting insulin level (15.17+-20.34 UIU/ml; p<0.05) but no significant change in fasting blood sugar level (p>0.05). For the safety profiles, the incidence of weight gain was 58.33 percent at week 4 (increased by 16.57+-37.47 kg). Five out of twelve patients (41.67 percent) had peripheral edema. The body composition measured by BIA method showed significant increase in total body water extra-cellular water (both plasma volume and interstitial fluid) by 5.32+-5.65 L, 5.93+-7.94 L, 0.86+-0.60 L and 2.48+-1.99 L, respectively. But no significant changes in intra-cellular water, fat mass, systolic and diastolic blood pressure, lipid profiles, liver function test, hemoglobin and hematocrit level (p>0.05). The other adverse events were headache and numbness (8.33 percent). Conclusion: Rosiglitazone significantly improved insulin resistance in CAPD patients without diabetes. However, adverse events of clinical significance are weight gain, peripheral edema and body water increase, which deserves cautious monitoring.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.877-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectไตวายเรื้อรังen_US
dc.subjectโรซิกลิตาโซนen_US
dc.subjectการดื้ออินซูลินen_US
dc.subjectไต -- โรค -- ผู้ป่วยen_US
dc.subjectRosiglitazoneen_US
dc.subjectInsulin resistanceen_US
dc.subjectKidneys -- Diseases -- Patientsen_US
dc.subjectContinuous ambulatory peritoneal dialysisen_US
dc.titleผลของยาโรซิกลิตาโซนต่อภาวะดื้ออินซูลินในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบถาวรที่ไม่เป็นเบาหวานen_US
dc.title.alternativeEffect of rosiglitazone on insulin resistance in nondiabetic patients undergoing continuous ambulatory peritioneal dialsis (CAPD)en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเภสัชศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเภสัชกรรมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPornanong.A@Chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.877-
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
panipat_bu_front.pdf1.73 MBAdobe PDFView/Open
panipat_bu_ch1.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open
panipat_bu_ch2.pdf4.22 MBAdobe PDFView/Open
panipat_bu_ch3.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
panipat_bu_ch4.pdf6.65 MBAdobe PDFView/Open
panipat_bu_ch5.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open
panipat_bu_back.pdf2.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.