Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57222
Title: ผลของโปรแกรมการจัดการผู้ป่วยรายกรณีสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ต่อจำนวนวันนอนความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้ป่วย และความพึงพอใจของพยาบาล
Other Titles: Effects of case management program for valvular replacement patients on length of stay, patients' satisfaction of nursing service, and nurses'satisfaction
Authors: พัชรี คงปลอด
Advisors: ยุพิน อังสุโรจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Yupin.A@Chula.ac.th
Subjects: บริการการพยาบาล
หัวใจ -- โรค -- ผู้ป่วย
การดูแลแบบต่อเนื่อง
ความพอใจของผู้ใช้บริการ
การจัดการผู้ป่วยรายกรณี
Nursing services
User satisfaction
Heart -- Diseases -- Patients
Hospitals -- Case management services
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบจำนวนวันนอน ความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้ป่วย และความพึงพอใจของพยาบาล ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการจัดการผู้ป่วยรายกรณี สำหรับผู้ป่วยตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผู้ป่วยที่รับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมหัวใจชั้น 3 สถาบันโรคหัวใจ โรงพยาบาลราชวิถี ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว แพทย์ลงความเห็นว่ารักษาควรได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจจำนวน 30 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง กลุ่ม ๆ ละ 15 คน โดยการคัดเลือกวิธีจับคู่ซึ่งคำนึงถึงความคล้ายคลึงกันระหว่างกลุ่มโดยจับคู่ (Matched) รายคู่ ด้วยตัวแปร เพศ อายุ และชนิดของการผ่าตัดหัวใจ 2) กลุ่มตัวอย่างพยาบาล คือ บุคลากรทางการพยาบาลในหอผู้ป่วยสามัญศัลยกรรมหัวใจชั้น 3 สถาบัน โรคหัวใจโรงพยาบาลราชวิถี ที่ให้การดูแลผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจรั่วจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) คู่มือการจัดการผู้ป่วยรายกรณีสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ 2) แผนการสอนการจัดการผู้ป่วย รายกรณี 3) Clinical pathway 4) แบบสอบถามความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้ป่วย 5) แบบสอบถามความพึงพอใจในงานของพยาบาล ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเขิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และวิเคราะห์ค่าความเที่ยง โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้ป่วย และแบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาล .95 และ .94 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1. จำนวนวันนอนในโรงพยาบาลของกลุ่มที่ได้รับการดูแลโดยใช้โปรแกรมการจัดการผู้ป่วยรายกรณี ([X-bar] = 8.73, SD = 2.39) น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลแบบปกติ ([X-bar] = 11, SD = 1.03) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้ป่วยของกลุ่มที่ได้รับการดูแลโดยใช้โปรแกรมการจัดการผู้ป่วยรายกรณี ([X-bar] = 4.55, SD = 0.29) สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลแบบปกติ ([X-bar] = 3.78, SD = 0.41) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความพึงพอใจของพยาบาลหลังการใช้โปรแกรมการจัดการผู้ป่วยรายกรณี ([X-bar] = 3.51, SD = 0.32) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this research were to compare length of stay, patients' satisfaction, and nurses' satisfaction before and after using case management program. The research subjects composed of 20 nurses in Cardiovascular Thoracic Surgery Departments, Rajavithi Hospital. And 30 patients who professional had the valvular replacement operation divided 2 groups: .control group and experimental group. Each 15 person case selected using matched with variable gender, age and type of heart operation. The research instruments were 1) case management manual for valve replacement patients 2) clinical pathway 3) patients' satisfaction questionnaire and 4) nurses' satisfaction questionnaire. The content validity and reliability were established. The Cronbach's alpha coefficients were .95 and .94, respectively. Statisitcal techniques utilized in data analysis were percentage, mean, standard deviation, and t-test. Major findings of this study were as follows: 1. Length of stay after using case management program ([X-bar] = 8.73, SD = 2.39) was significantly less than before ([X-bar] = 11, SD = 1.03), at the .05 level. 2. Patients' satisfaction after using case management program ([X-bar] = 4.55, SD = 0.29) was significantly higher than before ([X-bar] = 3.78, SD = 0.41), at the .05 level. 3. Nurses' satisfaction after using case management program ([X-bar] = 4.02, SD = 0.15) was significantly higher than before ([X-bar] = 3.51, SD = 0.15) was significantly higher than before ([X-bar] = 3.51, SD = 0.32), at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57222
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1005
ISBN: 9741434111
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1005
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
phatcharee_kh_front.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
phatcharee_kh_ch1.pdf1.86 MBAdobe PDFView/Open
phatcharee_kh_ch2.pdf5.07 MBAdobe PDFView/Open
phatcharee_kh_ch3.pdf2.9 MBAdobe PDFView/Open
phatcharee_kh_ch4.pdf1.84 MBAdobe PDFView/Open
phatcharee_kh_ch5.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
phatcharee_kh_back.pdf10.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.