Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57953
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อาชัญญา รัตนอุบล | - |
dc.contributor.advisor | อังศินันท์ อินทรกำแหง | - |
dc.contributor.author | สืบสกุล สอนใจ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2018-03-30T08:15:41Z | - |
dc.date.available | 2018-03-30T08:15:41Z | - |
dc.date.issued | 2551 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57953 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของสมาชิกเครือข่ายการป้องกันยาเสพติดในชุมชนพื้นที่กรุงเทพมหานคร และเปรียบเทียบเส้นทางอิทธิพลระหว่างตัวแปรแฝงในรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่ 1 คือ สมาชิกเครือข่ายการป้องกันยาเสพติด ที่เป็นทางการ และกลุ่มตัวอย่างที่ 2 คือ สมาชิกเครือข่ายการป้องกันยาเสพติดที่ไม่เป็นทางการ โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 594 คน ตัวแปรที่ศึกษาประกอบด้วย ตัวแปรแฝง 4 ตัว ได้แก่ 1) การเรียนรู้ในเครือข่ายการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียน 2) การสนับสนุนทางสังคม 3) ความเป็นหุ้นส่วน และ 4) การปฏิบัติงาน ซึ่งวัดจากตัวแปรสังเกตได้ 14 ตัว ได้แก่ 1) การสนับสนุนจากครอบครัว 2) การสนับสนุนจากประชาชน ผู้นำชุมชน 3) การสนับสนุนจากหน่วยงานเอกชน 4) การสนับสนุนจากหน่วยงานราชการ 5) การมีเป้าหมายร่วมกัน 6) การกำหนดบทบาทและผลประโยชน์ร่วมกัน 7) การทำงานที่เป็นระบบ 8) การเรียนรู้ตามอัธยาศัย 9) การเรียนรู้แบบร่วมกัน 10) การเรียนรู้จากประสบการณ์การทำงาน 11) การเรียนรู้จากการสอนงาน 12) การเรียนรู้แบบเป็นทางการ 13) คุณลักษณะเฉพาะ และ 14) ผลการปฏิบัติงาน เครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบความตรงของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น จากค่าสถิติพื้นฐานด้วยโปรแกรม SPSS for windows version 15 ตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์ เชิงสาเหตุด้วยโปรแกรม LISREL version 8.72 พิจารณาความสอดคล้องรูปแบบด้วยข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้ 1. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของสมาชิกเครือข่ายการป้องกันยาเสพติดในชุมชนพื้นที่กรุงเทพมหานคร มี 3 ปัจจัย ได้แก่ การเรียนรู้ในเครือข่ายการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียน การสนับสนุนทางสังคมและความเป็นหุ้นส่วน 2. รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุตามสมมุติฐาน มีความสอดคล้องกับข้อมูลความคิดเห็น จากแบบสอบถามของทั้ง 2 กลุ่มตัวอย่างอยู่ในเกณฑ์ดี โดยที่รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุนี้สามารถอธิบายค่าความแปรปรวนของการปฏิบัติงาน ของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม ได้ร้อยละ 85.0 เท่ากัน และรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ มีความสอดคล้องกับข้อมูลความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่ 1 คืออยู่ในเกณฑ์ดีกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ 2 ด้วยค่าไค-สแควร์ = 169.32 df = 149 p = 0.41 GFI = 0.94 CFI = 0.99 RMR = 0.013 RMSEA = 0.073 3. ปัจจัยการเรียนรู้ในเครือข่ายการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียน ของกลุ่มที่ 1 มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวก ต่อการปฏิบัติงานสูงสุด โดยนัยคือถ้าพฤติกรรมการเรียนรู้ในเครือข่ายการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียนอยู่ในระดับสูงจะมีผลทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้นเช่นกัน ตรงข้ามกับกลุ่มตัวอย่างที่ 2 ที่ปัจจัยการเรียนรู้ในเครือข่าย การเรียนรู้นอกระบบโรงเรียน มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการปฏิบัติงานต่ำสุด 4. ผลการพิจารณาความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุกับข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสนทนากลุ่ม ของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มๆ ละ 8 คน พบว่ากลุ่มสนทนาทั้ง 2 กลุ่มมีความคิดเห็นสอดคล้องกับรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของแต่ละกลุ่ม | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were to 1) develop the causal relationship model of factors effecting performance of drugs prevention network members in Bangkok communities and 2) compare the path of latent variables between two sample groups: formal and informal drugs prevention network members. The samples were 594 drugs prevention network members in Bangkok communities. The study variables were consisted of four latent variables: 1) the learning in non-formal learning network, 2) social support, 3) partnership and 4) performance; and fourteen observed variables: 1) Family-Support, 2) People & Leader-Support, 3) Government agency-Support, 4) Private agency-Support, 5) Co-Target, 6) Role and Co-benefit, 7) System-works, 8) Informal-learn, 9) Collaborative-learn, 10) Action- learn, 11) Coaching, 12) Formal-learn, 13) Trait, and 14) Output. The research instrument to validate the causal relationship model was a questionnaire. The relevance of the causal relationship model was analyzed by using LISREL version 8.72 while the qualitative data were analyzed by the focus group data. The research results were as follows: 1. There were three factors effecting performance of drugs prevention network members in Bangkok communities: the learning in non-formal learning network, social support and partnership. 2. Two adjusted models were consistent with opinions from the questionnaires at the good level. The variance of the performance was about 85%. In addition, the causal model of the performance of the formal drugs prevention network members was higher than informal drugs prevention network members at chi-square = 169.32, df = 149, p = 0.41, GFI = 0.94, CFI = 0.99, RMR = 0.013 and RMSEA = 0.073 3. The learning factors in non- formal learning network of formal drugs prevention network members had direct positive at the highest level which can be implied that if the learning in non-formal learning network behaviors of drugs prevention network members were at the high level, the effects of the performance were at the high level as well. In contrast, the learning in non-formal learning network had the lowest direct positive effected on the performance of the informal drugs prevention network members. 4. Results in considering the relevance of the causal models with qualitative data from the focus group discussion of two sample groups of 8 indicated that they shared the same opinions which related to the causal relationship model of each group. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.233 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การควบคุมยาเสพติด -- ไทย -- กรุงเทพฯ | en_US |
dc.subject | ยาเสพติด -- ไทย -- กรุงเทพฯ | en_US |
dc.subject | Drug control -- Thailand -- Bangkok | en_US |
dc.subject | Narcotics -- Thailand -- Bangkok | en_US |
dc.title | อิทธิพลของปัจจัยด้านการเรียนรู้ในเครือข่ายการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียนด้านการสนับสนุนทางสังคมและด้านความเป็นหุ้นส่วน ที่มีต่อการปฏิบัติงานของสมาชิกเครือข่ายการป้องกันยาเสพติดในชุมชนพื้นที่กรุงเทพมหานคร | en_US |
dc.title.alternative | Effects of factors concerning learning in non-formal learning network, social support and partnership on performance of drugs prevention network members in communities in Bangkok area | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | การศึกษานอกระบบโรงเรียน | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Archanya.R@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | ungsinun@swu.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2008.233 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
suebsakul_so_front.pdf | 1.42 MB | Adobe PDF | View/Open | |
suebsakul_so_ch1.pdf | 2.65 MB | Adobe PDF | View/Open | |
suebsakul_so_ch2.pdf | 10.84 MB | Adobe PDF | View/Open | |
suebsakul_so_ch3.pdf | 2.47 MB | Adobe PDF | View/Open | |
suebsakul_so_ch4.pdf | 3.69 MB | Adobe PDF | View/Open | |
suebsakul_so_ch5.pdf | 4.85 MB | Adobe PDF | View/Open | |
suebsakul_so_back.pdf | 12.76 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.