Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5810
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | น้อมศรี เคท | - |
dc.contributor.author | สุรัตน์ สิงห์เวียง | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2008-02-05T03:39:54Z | - |
dc.date.available | 2008-02-05T03:39:54Z | - |
dc.date.issued | 2543 | - |
dc.identifier.isbn | 9743336796 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5810 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 | en |
dc.description.abstract | สังเคราะห์ข้อความรู้ในวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัยระหว่างปีพุทธศักราช 2529-2541 ด้วยวิธีการสังเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณลักษณะ จำนวนวิทยานิพนธ์ทั้งสิ้น 261 เรื่อง พบว่า วิทยานิพนธ์สาขาการศึกษาปฐมวัยพิมพ์เผยแพร่มากที่สุด ในปี พ.ศ. 2538 โดยส่วนใหญ่ศึกษากับประชากรที่เป็นเด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปี เนื้อหาสาระที่ศึกษาโดยส่วนใหญ่คือ การส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย โดยเฉพาะการส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา และระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้มากที่สุดคือ การวิจัยเชิงทดลอง ผลการสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ตามเนื้อหาสาระที่ศึกษา แบ่งออกเป็น 8 ด้าน ดังนี้ 1) ประวัติและวิสัยทัศน์ทางการศึกษาปฐมวัย พบว่า การเล่นของเด็กในอดีตเป็นการละเล่นพื้นบ้าน ต่อมาเปลี่ยนแปลงมาเป็นการเล่นประกอบของเล่นมากขึ้น ส่วนแนวโน้มการจัดการศึกษาในปี พ.ศ. 2544 มุ่งให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและสนับสนุนให้ท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากขึ้น 2) หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พบว่า มีพัฒนาการจากหลักสูตรที่เน้นอ่าน เขียน เรียนเลข มาเป็นหลักสูตรแบบเตรียมความพร้อม 3) สภาพและปัญหาการจัดการศึกษา และการจัดการเรียนการสอนพบว่า สภาพการบริหารจัดการและการจัดการเรียนการสอน แตกต่างกันตามลักษณะการให้บริการและสภาพสังคม ปัญหาส่วนใหญ่คือ ขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ 4) สื่อการเรียนการสอน มีการศึกษาถึงสือที่มีผลทางตรงกับเด็ก และสื่อที่มีผลทางอ้อมกับเด็ก 5) การส่องเสริมพัฒนาการเด็ก ส่วนใหญ่ศึกษาการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ 6) พฤติกรรมการสอน การนิเทศและการพัฒนาครู พบว่า ครูส่วนใหญ่มุ่งพัฒนาเด็ก ครูส่วนใหญ่ได้รับการนิเทศทางไกลและได้รับการพัฒนา โดยใช้ชุดการฝึกอบรมด้วยตนเอง 7) การอบรมเลี้ยงดูเด็ก และการพัฒนาความรู้ความสามารถของผู้ปกครอง มีการศึกษาบทบาทของบิดามารดา และมีการพัฒนาผู้ปกครองโดยชุดให้ความรู้ต่างๆ 8) กิจกรรมเสริมเพื่อเป็นบริการทางการศึกษา มีโครงการประสบการณ์เกี่ยวกับอาหารและการบริการทางสุขภาพ | en |
dc.description.abstractalternative | To synthesize 261 master degree theses in early childhood education during B.E. 2529-2541 in the aspect of quantity and quality. The findings were: The most of published theses of early childhood education were in B.E. 2538, most population of study was in 5-6 years, most content was to encourage child development, especially in intelligence. Most theses were experimental research. The findings of content synthesis were grouped in 8 topics. 1) In the past, children's play was a local play. After that the play changed in using more equipments and toys. Trend in early childhood in B.E. 2544 was to give knowledge to parents and support to local participation educational in management. 2) Curriculum in early childhood education was moved from emphasizing on reading, writing and arighmetics to learning readiness. 3) State and problem of instruction was found that the school managemetn was different in characteristics of service and social context. The major problem was a lack of persons who have knowledge and capacity enough in action. 4) Instructional materials were found to be an impact both directly and indirectly to the children. 5) Encouraging a child development was addressed to experiences and activities enhancing children as a whole child. 6) In teaching behavior, most teachers focused on the children development. In supervision, most teachers were received a long distance supervision and a self-study program. 7) Research studies on the role of child rearing and parent education were valued on fathers and mothers, and also developed them by using educational packages. 8) Additional activities for educational services were projects for nutrition and health service. | en |
dc.format.extent | 2040783 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การศึกษาปฐมวัย | en |
dc.subject | การวิเคราะห์เนื้อหา | en |
dc.title | การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิตสาขาการศึกษาปฐมวัย ระหว่างปีพุทธศักราช 2529-2541 | en |
dc.title.alternative | The synthesis of master degree thesis in early childhood education during B.E. 2529-2541 | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การศึกษาปฐมวัย | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Normsri.C@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.