Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58257
Title: | ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมของพนักงานหญิงนวดแผนไทย |
Other Titles: | Factors predicting preventive behaviors for knee osteoarthritis among female Thai massage practitioners |
Authors: | ชนาภา อุดมเวช |
Advisors: | รัตน์ศิริ ทาโต |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | Ratsiri.T@chula.ac.th,ratsiri99@gmail.com |
Subjects: | ข้อเข่า -- โรค โรค -- การป้องกันและควบคุม ข้อเสื่อม Knee -- Diseases Medicine, Preventive Osteoarthritis |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบบรรยายเชิงทำนาย เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมของพนักงานหญิงนวดแผนไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานหญิงนวดแผนไทยที่ผ่านการอบรมการนวดเพื่อสุขภาพ ของสถานประกอบการนวดเพื่อสุขภาพ เขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 190 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย จากสถานประกอบการนวดเพื่อสุขภาพ เขตกรุงเทพมหานคร ผ่านการรับรองมาตรฐานสถานประกอบการนวดเพื่อสุขภาพจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม 7 ส่วน ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม 3) แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถตนเองในการกระทำพฤติกรรมป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม 4) แบบสอบถามทัศนคติต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม 5) แบบสอบถามการได้รับสนับสนุนทางสังคม 6) แบบสอบถามนโยบายของสถานประกอบการ และ 7) แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันข้อเข่าเสื่อม แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ได้ค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .87, .90, .91, 1.0, .72 และ .83 ตามลำดับ และตรวจสอบความเที่ยง มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .89, .87, .85, .86 และ .88 ตามลำดับ โดยแบบสอบถามความรู้โรคข้อเข่าเสื่อมมีค่า KR-20 เท่ากับ .72 วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวนค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณแบบมีขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมของพนักงานหญิงนวดแผนไทยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( x = 22.77, S.D = 3.312) 2) การสนับสนุนทางสังคม (Beta = .333) นโยบายของสถานประกอบการ (Beta = .309) และความรู้เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม (Beta = .197) สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมของพนักงานหญิงนวดแผนไทย ได้ร้อยละ 34.3 อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับปัจจัยด้านการรับรู้ความสามารถของตน และด้านทัศนคติต่อพฤติกรรมการป้องกันโรค ไม่สามารถทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมของพนักงานหญิงนวดแผนไทยได้ |
Other Abstract: | The objectives of this descriptive predictive research were to study knee osteoarthritis preventive behavior and identify its predictive factors among the female Thai massage practitioners. A simple random sample of 190 female Thai massage practitioners were recruited from Health massage establishments in Bangkok which were certified by the Health Establishment from Department of Health Service Support Ministry of Public Health. Data were collected using 7 questionnaires; 1) demographic data form, 2) knowledge about knee osteoarthritis disease, 3) self-efficacy, 4) attitude, 5) social support, 6) policy of establishments, and 7) knee osteoarthritis preventive behavior questionnaires. All questionnaires were validated by 5 experts. Their CVI were .87, .90, .91, 1.0, .72 and .83, respectively. Their Cronbach’s alpha coefficients were .89, .87, .85, .86 and .88, respectively. Knowledge about knee osteoarthritis disease had KR-20 at .72. Data were analyzed using stepwise multiple regression. The finding revealed that 1) knee osteoarthritis preventive behavior of female Thai massage practitioners was at average level ( x = 22.77, S.D = 3.312) 2) three variables were significant predictors of knee osteoarthritis preventive behavior. They were social support (Beta = .333), policy of establishments (Beta = .309), and knowledge about knee osteoarthritis disease (Beta = .197). They could explain 34.3 % of the variance in knee osteoarthritis preventive behavior of female Thai massage practitioners (p <.05). However, self-efficacy and attitude toward knee osteoarthritis preventive behavior were not able to predict preventive behaviors for female Thai massage practitioners. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาบาลศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58257 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1073 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.1073 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5777339636.pdf | 4.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.