Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58363
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกุณฑลทิพย พานิชภักดิ์-
dc.contributor.authorจุรณิตา เอกภักดิ์สกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-04-11T01:38:50Z-
dc.date.available2018-04-11T01:38:50Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58363-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractธุรกิจโรงแรมเชิงวัฒนธรรมในปัจจุบันมีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้น และมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรมของประเทศ อำเภอเมืองเชียงใหม่จัดอยู่ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้นเพื่อเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม และมีโรงแรมที่มีลักษณะทางกายภาพที่สะท้อนวัฒนธรรมอยู่หลายแห่ง จากการสืบค้นพบว่า โรงแรมรติล้านนา ริเวอร์ไซด์ สปา รีสอร์ท และ โรงแรมแทมมารีน วิลเลจเป็นโรงแรมเชิงวัฒนธรรมที่มีลักษณะทางกายภาพโดดเด่นจนได้รับรางวัลด้านวัฒนธรรม การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิธีการพัฒนาลักษณะทางกายภาพของโรงแรมเชิงวัฒนธรรม โดยเป็นงานวิจัยเชิงประจักษ์ ใช้การศึกษาเอกสาร การสำรวจ การสังเกต การสืบค้นข้อมูลรีวิวจากแหล่งข้อมูลออนไลน์และ การสัมภาษณ์ผู้ประกอบการโรงแรมกรณีศึกษา เพื่อนำผลการศึกษามาสรุปและวิเคราะห์เป็นบทเรียนของกรณีศึกษา จากผลการศึกษาพบว่าโรงแรมรติล้านนามีแนวคิดในการสร้างสถาปัตยกรรมที่เป็นตัวแทนของจังหวัดเชียงใหม่ หลังจากการปรึกษาสถาปนิก จึงเกิดเป็นแนวคิดการประกอบธุรกิจโรงแรมเชิงวัฒนธรรมและมีแนวคิดในการออกแบบลักษณะทางกายภาพของโรงแรมเป็นแบบวัง หรือ วิหารล้านนา แนวคิดดังกล่าวทำให้สถาปัตยกรรมของโรงแรมทั้งภายนอกและภายในเกิดบรรยากาศแบบวัง รวมถึงการบริการ และองค์ประกอบอื่น ๆ ที่ทำให้ผู้ที่มาเข้าพักได้สัมผัสวิถีชีวิตแบบวังอีกด้วย ส่งผลถึงความพึงพอใจจากการสืบค้นข้อมูลรีวิวจากแหล่งข้อมูลออนไลน์ทำให้พบว่าผู้ที่มาเข้าพักมีความพึงพอใจด้านสถาปัตยกรรมและการบริการเป็นอย่างสูง กระบวนการพัฒนาโรงแรมรติล้านนามีข้อจำกัดในด้านระยะเวลาในการออกแบบและก่อสร้างที่ใช้เวลานานถึง 5 ปีก่อนการเปิดตัวโรงแรมเนื่องจากมัณฑนากรใช้เวลาในการออกแบบรายละเอียดและองค์ประกอบภายในโรงแรม รวมถึงช่างฝีมือตกแต่งที่ใช้เวลาในการตกแต่งรายละเอียดอย่างประณีต ด้านการตลาดของโรงแรมรติล้านนาไม่มีการนำเสนอว่าเป็นโรงแรมเชิงวัฒนธรรมส่งผลทำให้ผู้ที่มาเข้าพักส่วนใหญ่ไม่ใช่นักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โรงแรมแทมมารีนมีแนวคิดในการสร้างสถาปัตยกรรมล้านนาร่วมสมัย โดยมีแรงบันดาลใจจากวัดอินทราวาสหรือ วัดต้นเกว๋น โดยแนวคิดดังกล่าวเกิดจากสถาปนิกที่ออกแบบโรงแรมแห่งนี้ให้เป็นลักษณะของชุมชน หมู่บ้านมะขาม ส่งผลให้การวางผังของโรงแรมเป็นลักษณะการวางผังแบบเปิด โดยมีความสัมพันธ์ระหว่างอาคารและที่ว่างที่ชัดเจนซึ่งเป็นลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมล้านนา รวมถึงนำแนวคิดมาใช้ในการบริการให้ผู้ที่มาเข้าพักเข้าใจถึงวิถีชีวิต การกิน อยู่ หลับ นอนแบบวิถีล้านนา มีการสอดแทรกศิลปะ วัฒนธรรมเข้าไปในพื้นที่ต่าง ๆ ของโรงแรมรวมถึงกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่จัดให้ผู้ที่มาเข้าพักได้เข้าร่วม จากการถอดคำสำคัญจากรีวิวออนไลน์พบว่า ผู้ที่เข้าพักเกิดการเรียนรู้ศิลปะ วัฒนธรรมล้านนา มีความพึงพอใจ ในกิจกรรมการเรียนรู้และการตกแต่งพื้นที่ต่าง ๆ ด้วยศิลปะ วัฒนธรรมล้านนา การพัฒนาโรงแรมแทมมารีนมีข้อจำกัดด้านระยะเวลาในการก่อสร้างซึ่งใช้เวลาถึง 3 ปี โรงแรมได้มีการนำเสนอโรงแรมว่าเป็นโรงแรมเชิงวัฒนธรรมซึ่งส่งผลทำให้ผู้ที่มาเข้าพักส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ผลการศึกษาสรุปได้ว่า 1) สถาปนิกผู้ออกแบบมีบทบาทในการเริ่มต้นของการพัฒนาโรงแรมเชิงวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก ในการนำแนวคิดเพื่อสื่อออกมาเป็นลักษณะทางกายภาพของโรงแรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะแห่ง 2) ภายใต้แนวคิดจากวัฒนธรรมล้านนาเดียวกันสามารถสื่อออกมาเป็นลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างกันไปตามลักษณะย่อยของวัฒนธรรม (วังและหมู่บ้าน) และ การตีความของผู้ออกแบบว่าจะให้ผู้ที่มาเข้าพักได้รับรู้วัฒนธรรมย่อยแบบใด 3) โรงแรมเชิงวัฒนธรรมมีข้อจำกัดในการต้องใช้ระยะเวลาในการออกแบบและก่อสร้างเนื่องจาก การนำศิลปะ วัฒนธรรมมาใช้มีรายละเอียดมาก การก่อสร้างและการตกแต่งต้องมีความประณีตและละเอียดกว่าโรงแรมทั่วไป และ 4) การใช้องค์ประกอบทางวัฒนธรรมมานำเสนอทางการตลาดของโรงแรมทำให้เข้าถึงเป้าหมายทางการตลาดซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมได้-
dc.description.abstractalternativeRecently, cultural hotel business has tended to prosper and been significant to tourism industry. It, moreover, has supported the cultural conservation of the country. Chiang Mai has been arranged on the rank in cultural heritage where their physical hotels reflect cultures in numerous hotels. From the search, Ratilanna Riverside Spa Resort and Tamarind Village Boutique Hotel are cultural hotels which are extremely outstanding in their physical characteristics; therefore, they are awarded by Thailand tourism organization. The objective of this study is to study the process of physical development of cultural hotels. This research is the empirical research using documentary, survey, observation, interview, and online research to conclude the study results and analyze lessons learned of case studies. According to the studies, the initial concept in building architecture of Ratilanna Riverside Spa Resort has represented Chiang Mai. After consulting with the architect, the idea of cultural hotels design had happened and the physical characteristics of the hotels had been designed as Lanna Palace. The idea that was mentioned above created the Palace’s atmosphere by their interior and exterior architecture including the service and other elements that provided customers ways of Lanna Palace’s living. The idea of the cultural hotel affected customers’ satisfaction. The online search of review information found that customers were highly pleased at architecture and service. However, the limitation of the development of Ratilanna Riverside Spa Resort was the period of time designing and constructing which spent five years before grand opening. Due to the elaboration and components in the hotel, the decorators and artists spent long period of time carefully decorating the hotel. Ratilanna Riverside Spa Resort marketing has not presented themselves as the cultural hotel; therefore, most visitors were not cultural tourists. Tamarind Village Boutique Hotel had the concept of building Lanna comtemporary architecture which is inspired by Wat Intharawat or Wat Ton Kwen. The concept that was mentioned above was from the architect who had designed this hotel to be like a community, Makham Village or Tamarind Village.​ Therefore, the hotel’s layout planning was an opened layout which the buildings and spaces were clearly associated and enhance the physical characteristics of remarkable Lanna architecture. Not only architecture that create the lanna culture atmosphere but also the activities which provided for customer in ordered to learn and gain Lanna cultural knowledge. Tamarind Village also spent 3 years constructing the buildings because of the cultural delicacy. The results of this study are 1) architects play the important role in ordered to deliver idea and concept into physical characteristics. 2) Beneath an identical culture, it can be interpreted into different ways of design. It causes customer’s experience reception. 3) Cultural hotel has its limitation, it takes long period of time designing and decorating due to the delicacy of cultural art and elements. Moreover, 4) Presenting cultural context as strength in marketing leads hotel to reach the target market which is cultural tourist.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.185-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleแนวทางในการพัฒนาลักษณะทางกายภาพของโรงแรมเชิงวัฒนธรรม: กรณีศึกษาโรงแรมรติล้านนา ริเวอร์ไซด์ สปา รีสอร์ท และโรงแรมแทมมารีน วิลเลจ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่-
dc.title.alternativeGUIDELINES TO DEVELOP PHYSICAL CHARACTERISTICS OF CULTURAL HOTEL: CASE STUDIES OF RATILANNA RIVERSIDE SPA RESORT AND TAMARIND VILLAGE BOUTIQUE HOTEL, AMPHOE MUEANG CHIANG MAI, CHANGWAT CHIANG MAI-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการพัฒนาที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorKundoldibya.P@Chula.ac.th,kpanitchpakdi@gmail.com-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.185-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5873365225.pdf7.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.