Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58371
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกุณฑลทิพย พานิชภักดิ์-
dc.contributor.authorวนารัตน์ อิ้มพัฒน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-04-11T01:39:13Z-
dc.date.available2018-04-11T01:39:13Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58371-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractเขตเมืองเก่ากรุงเทพมหานครมีความสำคัญในเชิงการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม และมีการพัฒนาที่พักนักท่องเที่ยวประเภทโฮสเทลขึ้นเป็นจำนวนมาก งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษา การพัฒนาที่พักประเภทโฮสเทลที่มีแนวคิดเชิงธุรกิจและที่มีแนวคิดธุรกิจเกื้อกูล เพื่อศึกษาความแตกต่างของแนวคิด กระบวนการและผลการดำเนินงาน วิเคราะห์บทเรียนจากการพัฒนา โดยการศึกษาเอกสารและสัมภาษณ์ผู้พัฒนา ศึกษาผลด้านการบริการ กลุ่มลูกค้าและความพึงพอใจจากเอกสารผู้ให้บริการจองห้องพักออนไลน์ การเข้าพักเพื่อสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์กลุ่มลูกค้าและพนักงาน ศึกษาผลด้านกายภาพจากเอกสารการก่อสร้าง การสำรวจและสังเกตการณ์ ศึกษาผลด้านชุมชนจากการสำรวจและสัมภาษณ์ชุมชน ผลการศึกษาพบว่า โครงการที่มีแนวคิดเชิงธุรกิจ ผู้พัฒนามีแนวคิดพัฒนาด้านกายภาพและการบริการเพื่อผลทางการเงิน โดยคัดเลือกตัวอาคารจากตึกแถวยุคเก่า คัดเลือกสถาปนิกและผู้รับเหมาทั่วไป ออกแบบจัดพื้นที่ใช้สอยโดยคำนึงถึงผลด้านการเงิน ได้จำนวน 51 เตียง ออกแบบตกแต่งนำเสนอความเป็นไทยโดยใช้จุดขายจากตัวอาคารและสภาพแวดล้อมชุมชน มีการก่อสร้างนานถึง 1 ปี 4 เดือน ใช้ช่องทางการตลาดออนไลน์ทั่วไป จัดสรรบุคลากรทั่วไปและให้บริการแบบเป็นกันเอง ผลการดำเนินงาน ได้กลุ่มลูกค้าตรงตามที่วางไว้คือ นักท่องเที่ยวแบ็คแพ็กเกอร์ทั่วไปซึ่งมีพฤติกรรมชอบความบันเทิง และได้รับผลสำเร็จด้านความพอใจจากลูกค้าอย่างดีเยี่ยม มีผลสำเร็จในเชิงธุรกิจทั้งด้านผลกำไรที่ค่อนข้างสูงและมีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยสูงถึง 85% แต่มีปัญหาอุปสรรคในขั้นตอนการก่อสร้างจากความเสื่อมสภาพของอาคาร ความไม่เชี่ยวชาญของผู้ร่วมพัฒนาและปัญหาจากปัจจัยภายนอก จึงทำให้มีมีต้นทุนการพัฒนาสูงระยะเวลานานถึง 1 ปี 7 เดือน โครงการที่มีแนวคิดธุรกิจเกื้อกูล ผู้พัฒนามีแนวคิดพัฒนาทั้งเชิงธุรกิจและด้านชุมชน เพื่อผลทางการเงินและฟื้นชุมชน โดยมีการวิเคราะห์คัดเลือกที่ตั้งและตัวอาคารก่อนการพัฒนา มีการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล วางแผนงานทั้งเชิงธุรกิจและด้านชุมชน ออกแบบจัดพื้นที่ใช้สอยโดยคำนึงถึงผลด้านการเงินและการใช้งานของลูกค้า ได้จำนวน 100 เตียง นำเอกลักษณ์ชุมชนมาใช้ตกแต่งอย่างเรียบง่าย ใช้ช่องทางการตลาดและเผยแพร่ข้อมูลชุมชนทางออนไลน์ จัดสรรบุคลากรคนในชุมชนและให้บริการท่องเที่ยวชุมชน ผลการดำเนินงาน ได้กลุ่มลูกค้าตรงตามกลุ่มเป้าหมายหลักซึ่งมีพฤติกรรมรักความสงบ และได้รับผลสำเร็จด้านความพอใจจากลูกค้าอย่างดีเยี่ยม แต่ไม่ตรงกลุ่มเป้าหมายนักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มีผลความสำเร็จในเชิงธุรกิจด้านผลกำไรเกินที่คาดการณ์ไว้และอัตราการเข้าพักเฉลี่ย 70% สูงกว่าค่าเฉลี่ยตลาด โดยกระบวนการพัฒนาเป็นไปตามขั้นตอนหลักวิชา จึงมีปัญหาอุปสรรคน้อย ใช้เวลาพัฒนา 1 ปี 5 เดือน ใช้เวลาก่อสร้างเพียง 6 เดือน ทำให้มีต้นทุนต่ำ ชุมชนได้รับประโยชน์จากการเผยแพร่ข้อมูลชุมชน มีรายได้และความรู้เพิ่มขึ้น ปัญหาอุปสรรคในการพัฒนาเกิดจากผู้ก่อสร้างและผู้ให้บริการเป็นคนในชุมชนที่ยังไม่มีความพร้อม และกลุ่มลูกค้ายังไม่ตอบสนองต่อบริการด้านชุมชน สรุปผลการศึกษา กรณีศึกษาทั้งสองโครงการมีแนวคิด กระบวนการพัฒนาที่แตกต่างกัน โดยประสบผลสำเร็จเชิงธุรกิจตามแนวคิดและเป้าหมายที่วางแผนไว้ และได้รับความพึงพอใจจากกลุ่มลูกค้าของตนทั้ง 2 โครงการ โครงการเชิงธุรกิจมีผลประโยชน์เกิดกับผู้พัฒนาเพียงฝ่ายเดียว ขณะที่โครงการธุรกิจเกื้อกูลก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งกับผู้พัฒนา ลูกค้าและชุมชน-
dc.description.abstractalternativeThe historical area in Bangkok plays an important role in tourism and cultural awareness, leading to the establishments of hostels. As a result, this study aimed to investigate the differences in hostel development between general and inclusive business concepts in terms of process, operational results and lessons learnt from the development. The study was based on the literature review, the developers’ interviews and customer satisfaction results. In addition, the satisfaction reports of those who booked the hostels online, the researcher’s observations by staying overnight at the hostels, interviewing customers and hostel staff were included as research tools. As for the physical aspects, the blueprints of the hostels were examined, including survey and observation. Regarding the community aspects, surveys and interviews were carried out. The findings revealed that the developers that followed the general business concept focused on financial issues. They selected an old row-house and an architect and a general building contractor. The building accommodated 51 beds with functional areas and the selling point was Thainess based on the physical features of the building and the surrounding communities. The construction took one year and four months. The marketing was conducted online. The staff was those who were interested and the service was friendly. The developers could attract the targeted customers – backpackers who preferred entertainment – and the customer satisfaction rate was very high. The profits were also high and the occupancy rate was at 85%. However, problems arose during construction because the buildings were in a deteriorating condition, the co-developers’ lack of expertise and also external factors; consequently, the development cost was high and development planning took one year and seven months. While the developers that followed the inclusive business concept focused on both the financial issue and community development, they conducted a feasibility study to select the location and the building. The data were analyzed and plans for conducting business and developing communities were drawn. Financial issues and customer needs were taken into consideration when the functional areas were designed. The building accommodated 100 beds. The unique characteristics of communities were used to decorate the building. Marketing was conducted online. Community residents were hired to work there and a community tour was operated. Most of the guests were as targeted – those who preferred tranquility – and the customer satisfaction rate was very high. However, this kind of hostel did not meet the needs of eco-tourists. The profits were higher than expected and the occupancy rate was at 70%, which was higher than the market average. The process development followed the principles so few problems arose. The development planning took one year and five months but the construction took only six months, resulting in low cost. Such development also benefitted communities, in that, community residents could earn more income and gain more knowledge about their communities. However, there were some problems about builders and service providers – community residents – because they were not as well prepared as well as customers that did not respond to community services. It can be concluded that the two hostels are different in terms of concept and development process, but they are successful in terms of business plans and customer satisfaction. The general business concept benefits only the developers while the inclusive business concept benefits the developers, customers and communities.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.182-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleความแตกต่างระหว่างการพัฒนาที่พักประเภทโฮสเทลที่มีแนวคิดเชิงธุรกิจกับที่มีแนวคิดธุรกิจเกื้อกูลในเขตเมืองเก่ากรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษา โครงการ เฮีย โฮสเทล และ วันซ์ อะเกน โฮสเทล-
dc.title.alternativeTHE DIFFERENCE OF HOSTEL DEVELOPMENT BETWEEN GENERAL AND INCLUSIVE BUSINESS CONCEPTS IN HISTORICAL AREA IN BANGKOK: A CASE STUDIES OF HERE HOSTEL AND ONCE AGAIN HOSTEL-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการพัฒนาที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorKundoldibya.P@Chula.ac.th,kpanitchpakdi@gmail.com-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.182-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5873586625.pdf19.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.