Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58445
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิรุจ กิจนันทวิวัฒน์-
dc.contributor.authorปวีร์ ศิริรักษ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-04-11T01:43:06Z-
dc.date.available2018-04-11T01:43:06Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58445-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางสู่ความสำเร็จของการนำนโยบายการศึกษาระบบทวิศึกษาไปสู่การปฏิบัติของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนจังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาการนำนโยบายการศึกษาระบบทวิศึกษาไปสู่การปฏิบัติในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มประชาการ ได้แก่ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในจังหวัดนครราชสีมาจำนวน 12 แห่ง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ทำการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลสำหรับการสัมภาษณ์ คือ ผู้บริหารที่ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ หรือรองผู้อำนวยการของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในจังหวัดนครราชสีมาจำนวน 11 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากกลุ่มประชากร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยของสภาพปัจจุบันพบว่าการนำนโยบายการศึกษาระบบทวิศึกษาไปสู่การปฏิบัติของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนจังหวัดนครราชสีมายังมีปัญหาในการนำนโยบายการศึกษาระบบทวิศึกษาไปสู่ปฏิบัติจำนวน 11 นโยบาย จากทั้งหมด 12 นโยบาย สภาพปัญหาที่สำคัญ 3 ลำดับแรก ได้แก่ 1) ครูนิเทศยังไม่ผ่านการฝึกอบรมจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2) การเบิกค่าใช้จ่ายนั้นไม่ได้จ่ายตามข้อกำหนดกระทรวงการคลัง และ 3) ขาดแคลนครูฝึกที่ผ่านการอบรมและได้รับการแต่งตั้งจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ผู้วิจัยสามารถสร้างแนวทางพัฒนาของการนำนโยบายการศึกษาระบบทวิศึกษาไปสู่การปฏิบัติของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในจังหวัดนครราชสีมาจากการวิเคราะห์เนื้อหาของประเด็นปัญหาและแนวทางสู่ความสำเร็จที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นจำนวน 15 แนวทาง โดยแนวทางพัฒนาที่สำคัญ 3 ลำดับแรก ได้แก่ 1) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาควรส่งเสริมให้มีการจัดอบรมการนิเทศการฝึกอาชีพของครูนิเทศของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนโดยเฉพาะ และกำหนดเกณฑ์การแต่งตั้งครูฝึกให้พิจารณาจากทักษะและประสบการณ์ทำงานเป็นสำคัญ 2) กระทรวงศึกษาธิการควรดำเนินการสร้างกรอบมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพให้ครบทุกสาขาวิชา และออกหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติของประกาศกำหนดการเบิกค่าใช้จ่ายงบประมาณสำหรับวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนให้เป็นแนวทางเดียวกันทั่วประเทศ และ 3) วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนควรทำการสร้างความร่วมมือในการจัดการเรียนการสอนร่วมกับวิทยาลัยอาชีวศึกษาของรัฐบาลและสถานประกอบการ-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to 1) study current situations, problems, and successful guidelines of dual education systems policy implementation of private vocational colleges in Nakhon Ratchasima province; 2) present approaches for development of dual education systems policy implementation of private vocational colleges in Nakhon Ratchasima province. The research tool was structured interview form. The population was a group of 12 private vocational schools in Nakhon Ratchasima province. Data were collected by an interview. The informants for interview, selected by purposive sampling, were 11 principals or vice-principals of private vocational colleges in Nakhon Ratchasima province. Content analysis was used to analyze the data. The research findings revealed that current situations of dual education systems policy implementation of private vocational colleges in Nakhon Ratchasima province had problems in 11 out of 12 policies. The first two major problems were 1) college supervisors were not trained by the Office of Vocational Education Commission; 2) reimbursements were not paid in accordance with the Ministry of Finance regulations and 3) lack of trainers who were trained and appointed by the Office of Vocational Education Commission. From content analysis of issues and successful guidelines, the researcher developed 15 approaches for development of dual education systems policy implementation of private vocational colleges in Nakhon Ratchasima. The first three major developments were 1) The Office of Vocational Education Commission should arrange training program for private vocational college supervisors and defines criterion for the appointment of trainers based on their skills and work experience; 2) The Ministry of Education should develop a standard framework for Vocational qualifications and issue guidelines the reimbursement of budget expenditures for private vocational colleges; and 3) private vocational colleges should cooperate teaching and learning with public vocational colleges and corporations.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.533-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleแนวทางการพัฒนาการนำนโยบายการศึกษาระบบทวิศึกษาไปสู่การปฏิบัติของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในจังหวัดนครราชสีมา-
dc.title.alternativeAPPROACHES FOR DEVELOPMENT OF DUAL EDUCATION SYSTMES POLICY IMPLEMENTATION OF PRIVATE VOCATIONAL COLLEGES IN NAKHON RATCHASIMA PROVINCE-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorVirut.K@Chula.ac.th,kvirut24@gmail.com-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.533-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5883834927.pdf9.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.