Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5848
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปิ่นรัชฎ์ กาญจนัษฐิติ-
dc.contributor.advisorทิพย์สุดา ปทุมานนท์-
dc.contributor.authorวิมลรัตน์ อิสระธรรมนูญ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-02-13T04:42:35Z-
dc.date.available2008-02-13T04:42:35Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.isbn9741302002-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5848-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543en
dc.description.abstractย่านสามแพร่ง ได้แก่ บริเวณแพร่งนรา แพร่งภูธรและแพร่งสรรพศาสตร์ เป็นย่านประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งในกรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องจากการเป็นที่ตั้งของวังกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ วังกรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์และวังกรมหลวงสรรพศาสตร์ศุภกิจ ซึ่งชื่อของวังทั้งสามแห่งนี้ได้ปรากฏเป็นคำเรียก ย่านสามแพร่ง ในความหมายของการเป็นทางบกเพียงทางเดียวที่ผ่านพระนครชั้นในออกสู่พระนครชั้นนอก นอกจากนี้ ความสำคัญของย่านสามแพร่งยังเกิดจากชื่อเสียงในการเป็นย่านการค้าชั้นนำ และการเป็นแหล่งขายสินค้าเฉพาะเพื่อบริการแก่หน่วยงานราชการที่ตั้งอยู่โดยรอบพื้นที่ เมื่อหน่วยงานราชการทยอยย้ายออกไปจากพื้นที่ ได้ส่งผลให้ย่านสามแพร่งลดบทบาทความสำคัญลง ประเด็นการฟื้นฟูย่านสามแพร่งจึงเป็นประเด็นที่หลายฝ่ายให้ความสนใจ โดยหน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่นได้จัดทำแผนการอนุรักษ์และฟื้นฟูย่านสามแพร่งขึ้นเป็นส่วนหนึ่งในแผนอนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์ และในปี พ.ศ. 2541 ประชาชนผู้อาศัยอยู่ในย่านสารแพร่งได้จัดตั้ง ประชาคมคลองคูเมืองเดิมสามแพร่ง เพื่อแก้ไขปัญหาและฟื้นฟูย่านของพวกเขาให้กลับคืนความสำคัญ ซึ่งนับได้ว่าเป็นการอนุรักษ์ที่เริ่มต้นจากชุมชนเป็นครั้งแรกในประเทศไทย การวิจัยนี้ เป็นการศึกษาที่ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ที่เปิดโอกาสให้ผู้คนในย่านได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และฟื้นฟูถิ่นอาศัย โดยอาศัยการศึกษาภาคสนามด้วยวิธีสังเกตการณ์ สัมภาษณ์และวิเคราะห์ข้อมูลตามหลักวิชาการ "ปรากฏการณ์ศาสตร์" เพื่อให้เข้าใจความหมายของย่านจากการอยู่อาศัยของผู้คน ในนัยยะที่เป็นถิ่นอาศัย ถิ่นปฏิสันถาร ถิ่นต้อนรับขับสู้ ถิ่นความเชื่อศรัทธาและถิ่นแห่งภราดรภาพในชุมชน และการวิจัยได้อาศัยการประเมินคุณค่าตลอดจนความแท้ของย่านทั้งทางด้านกายภาพและกิจกรรม ด้วยวิธีการของการอนุรักษ์ย่านประวัติศาสตร์และชุมชน ต่อมาจึงทำการเปรียบเทียบความต้องการของผู้คนในย่านกับโครงการในแผนของหน่วยงานภาครัฐ จนได้ผลสรุปของงานวิจัยชิ้นนี้เป็น โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูย่านสามแพร่ง โครงการอนุรักษ์ที่ได้จากการวิจัย ประกอบด้วย โครงการองค์รวมและโครงการประสาน ยั่งยืน ได้แก่ โครงการชวนชิมอาหารลานภูธเรศ โครงการแพร่งนราถนนแห่งชีวิต โครงการตะละภัฏโรงเรียน-โรงเล่น โครงการแพร่งสรรพศาสตร์ตลาดชุมชนและโครงการตลาดผลไม้เครื่องแบบเครื่องหมายหลังกระทรวง ในการนำโครงการอนุรักษ์ไปปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ เสริมสร้างรากฐาน คือ การส่งเสริมให้ผู้คนในย่านเห็นความสำคัญและร่วมมือในการอนุรักษ์ เครื่องมือประสาน คือ การเลือกรูปแบบองค์กรชุมชนที่มีประสิทธิภาพ ประชาสัมพันธ์โครงการ คือ การเผยแพร่โครงการอนุรักษ์สู่สาธารณชน และรัฐบาลสนับสนุน คือการประสานดำเนินงานอนุรักษ์ด้วยความเข้าใจระหว่างหน่วยงานภาครัฐและชุมชนen
dc.description.abstractalternativeSam Prang District, composed of Prang Nara, Prang Poothon and Prang Sanphasart, is one of the most important districts in the historic area of Rattanakosin. It has a name of being a living historical district and it used to be the location of some old palaces. Sam Prang District had been recognized as a well-known trade center serving the central government district of this area. When the government offices moved out from this zone, Sam Prang District realized it had a crisis of losing its customers. The decline of this district worried the planners and its inhabitants, so master plans for development and conservation were established by local authorities. In 1998, the Klong Ku Muang Derm Sam Prang Community was established and it marked the first stepping stone in adopting the bottom-up approach conservation in Thailand. This research focuses on understanding how the inhabitants have been working on rejuvenating the economic and conservation of Sam Prang District through their daily lives and tasks. Five-month-field observations of the area were made. Experimental data included conservation with seven main actors of inhabitants, sketches, photograph and records; all of which were collected. The analysis of the experimental data is grounded in the knowledge and the process of Phenomenology. It is the analysis of five meanings of Sam Prang District as dwelling place, dialoging place, welcoming place, sacred place and neighboring place, historically and meaningfully as well as physically. Simultaneously, the knowledge and the process of the conservation area are used for the evaluation of the value and authenticity of physical elements and activities. The comparison between the top-down approach concervation program and the community requirement brought about the conclusion of this study. The wholly interweaving and sustainable program consists of food street program. life street program, edutainment center program, community bazaar program and the program for promoting of local specialty products. In conclusion, the implementation of conservation program consists of establishing mutual awareness within the community, effective local community organization, promoting public awareness and wholehearted governmental supporting.en
dc.format.extent5281579 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2000.109-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการฟื้นฟูเมือง -- กรุงเทพฯen
dc.subjectแพร่งนราen
dc.subjectแพร่งภูธรen
dc.subjectแพร่งสรรพศาสตร์en
dc.titleการศึกษาเพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟู ย่านสามแพร่งen
dc.title.alternativeA study for the preservation and renewal program of Sam Prang Districten
dc.typeThesises
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorkpinraj@chula.ac.th-
dc.email.advisortipsuda.p@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2000.109-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wimonrat.pdf5.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.