Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5850
Title: | ประสิทธิภาพการกำจัดสารหนูในน้ำสังเคราะห์ด้วยตัวกลางเศษคอนกรีต |
Other Titles: | The efficiency of arsenic removal in synthetic water by concrete rubbish |
Authors: | นันทนา ชูฉัตร |
Advisors: | ธเรศ ศรีสถิตย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Thares.S@Chula.ac.th |
Subjects: | สารหนู การดูดซับ คอนกรีต น้ำ -- การทำให้บริสุทธิ์ -- การกำจัดสารหนู |
Issue Date: | 2543 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เปรียบเทียบประสิทธิภาพการกำจัดสารหนูในน้ำสังเคราะห์ ด้วยตัวกลางเศษคอนกรีตขนาดต่างๆ กัน ทดลองแบบแบทช์โดยการทดสอบไอโซเทอมการดูดติดผิว เพื่อศึกษาความสามารถในการดูดติดผิว และการทดสอบแบบคอลัมน์อย่างต่อเนื่อง เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการกำจัดสารหนู การทดลองศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการกำจัดสารหนู โดยใช้ตัวกลางเศษคอนกรีต ใช้คอลัมน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.025 เมตร ความสูงคอลัมน์ 1.70 เมตร ความสูงชั้นสารดูดติดผิว 1.50 เมตร ใช้น้ำสังเคราะห์ที่เตรียมจากสารประกอบโซเดียมอาร์เซเนต ผสมกับน้ำประปา ที่ความเข้มข้นสารหนูในน้ำประมาณ 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร อัตราการไหลของสารละลาย 3.7 BV/hr จากการทดลองพบว่า เศษคอนกรีตสามารถกำจัดสารหนูในน้ำได้ ในการทดลองแบบคอลัมน์ที่มีอัตราการไหล 3.7 BV/hr ที่ชั้นความสูงตัวกลาง 1.50 เมตร ตัวกลางทุกขนาดที่ทดลอง มีประสิทธิภาพการกำจัดสารหนูสูงสุดร้อยละ 100 โดยเศษคอนกรีตขนาด 1.0 มม. มีประสิทธิภาพการกำจัด 96.14-100 เปอร์เซนต์และให้ปริมาณน้ำที่ผ่านการกำจัด 1,028.6 BV เศษคอนกรีตขนาด 1.75 มม. มีประสิทธิภาพการกำจัด 95.57-100 เปอร์เซนต์และให้ปริมาณน้ำที่ผ่านการกำจัด 958.3 BV เศษคอนกรีตขนาด 2.0 มม. มีประสิทธิภาพการกำจัด 96.71-100 เปอร์เซนต์และให้ปริมาณน้ำที่ผ่านการกำจัด 728.9BV และเศษคอนกรีตขนาด 2.36 มม. มีประสิทธิภาพการกำจัด 95.92-100 เปอร์เซนต์และให้ปริมาณน้ำที่ผ่านการกำจัด 691.9 BV ตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเศษคอนกรีตที่มีขนาดเล็ก ให้ปริมาณน้ำที่ผ่านการกำจัดที่มากกว่าเศษคอนกรีตขนาดใหญ่ ดังนั้นแนวโน้มของการนำเศษคอนกรีตมากำจัดสารหนูออกจากน้ำ จึงเป็นไปได้สูง |
Other Abstract: | To study the efficiency of arsenic (+5) remonal in synthetic water by concrete rubbish. In order to study the adsorption of concrete rubbish was used by batch testing adsorption isotherm and to compare the efficiency of arsenic (+5) removal was used by continuous experiment. Experimental devices for continuous study consist of column diameter 0.025 m. and 1.70 m. height, filled with 1.50 m. of concrete rubbish. The synthetic water was prepared concentration about 1.0 mg/L by tap water at flow rate 3.7 BV/hr. The result found that concrete rubbish can remove arsenic (+5) in water. For continous experimental at flow rate 3.7 BV/hr and 1.50 m. of media found that each of difference size of media reach to the maximun performance at 100% removal, at 1.0 mm. of concrete rubbish has the efficiency of removal 96.14-100% to treated water volume 1,028.6 BV and 1.75 mm. of concrete rubbish has the efficiency of removal 95.57-100% to treated water volume 958.3 BV and 2.0 mm. of concrete rubbish has the efficiency of removal 96.71-100% to treated water volume for 728.9 BV and at 2.36 mm. of concrete rubbish has the efficiency of removal 95.92-100% to treated water volume 691.9 BV respectively. It show that the small size of concrete rubbish has treated water volume more than larger size. Therefore the trendency of using concrete rubbish to remove arsenic (+5) in water is high possibility. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา) |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5850 |
ISBN: | 9743465944 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nantana.pdf | 1.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.