Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58541
Title: การเพิ่มอัตราผลผลิตของสายการประกอบชุดหัวอ่านเขียนสำเร็จในการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ
Other Titles: Increasing productivity of head stack assembly line in hard disk drive manufacturing
Authors: อัครวัฒน์ ไค่นุ่นสิงห์
Advisors: สมชาย พัวจินดาเนตร
Advisor's Email: fiespj@eng.chula.ac.th
Subjects: ฮาร์ดดิสก์
สายการผลิต
กรรมวิธีการผลิต
อุตสาหกรรมอุปกรณ์หน่วยเก็บของคอมพิวเตอร์
Hard disks (Computer science)
Assembly-line methods
Manufacturing processes
Computer storage device industry
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มอัตราผลผลิตด้านแรงงานของสายการประกอบชุดหัวอ่านเขียนสำเร็จในการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟของโรงงานหนึ่ง ซึ่งมีจำนวน 13 สถานีงาน ได้แก่ ประกอบ flex cable กับแขนอ่าน เชื่อมต่อVCM ประกอบหัวอ่านเขียน ตอกยึด ใส่ตัวแยกหัวอ่าน ทาน้ำยาประสาน เชื่อมต่อวงจร ตรวจสอบการเชื่อม ตรวจสอบตำแหน่ง ตรวจสอบแรงกด บันทึกหมายเลข ทดสอบทางไฟฟ้า และตรวจสอบขั้นสุดท้าย ปัญหาความสูญเปล่าและสถานีงานคอขวดของสายการผลิตได้ดำเนินการปรับปรุงโดย (1) ลดข้อบกพร่องของการรับสัญญาณอ่านโดยทบทวนความสัมพันธ์ระหว่างความผันแปรของกระบวนการผลิตและข้อกำหนดสัญญาณอ่านใหม่ และได้ลดจำนวนเสียหายจากไฟฟ้าสถิตของชุดหัวอ่านโดยปรับปรุงวิธีสลายประจุไฟฟ้าสถิต (2) ลดเวลาการถอด ประกอบ และปรับตั้งเครื่องจักรโดยปรับปรุงระบุสัญลักษณ์ตำแหน่ง (3) ลดเวลาการเปลี่ยนรุ่นโดยให้ทำงานเป็นแบบขนาน (4) ลดเวลารอคอยการรับจ่ายชิ้นส่วนวัตถุดิบโดยติดตั้งสัญญาณร้องขอวัตถุดิบเวลาต้องการ (5) ลดรอบเวลาการทำงานของสถานีงานที่อยู่ในเกณฑ์สูงจำนวน 4 สถานีงาน โดยปรับกิจกรรมของคนให้ทำงานร่วมกับเครื่องจักร ลดเวลาการทำงานของเครื่องจักรลง และขจัดกิจกรรมที่ไม่ก่อคุณค่าต่อผลิตภัณฑ์ ผลการศึกษาพบว่า (1) ข้อบกพร่องชิ้นงานชุดหัวอ่านเขียนลดลงจากเดิมร้อยละ 0.34 เหลือร้อยละ 0.07 (2) เวลาการถอด ประกอบชิ้นส่วน และปรับตั้งเครื่องจักรลดลงจาก 64 เหลือ 12 นาทีต่อครั้ง (3) เวลาการเปลี่ยนรุ่นลดลงจาก 12 เหลือ 6.5 นาทีต่อครั้ง (4) การรอรับจ่ายชิ้นส่วนวัตถุดิบไม่เกิดขึ้น (5) ขั้นตอนการทำงานลดลงจาก 13 เหลือ 12 ขั้นตอน (6) รอบเวลาของกระบวนการผลิตลดลงจาก 12.3 เป็น 11.1 วินาที (7) ผลผลิตเพิ่มขึ้นจาก 6146 เป็น 6810 ชิ้นต่อวัน หรือคิดเป็นร้อยละ 10.8 (8) พนักงานในการผลิตลดลงจาก 23 เหลือ 22 คน และ (9) อัตราผลผลิตด้านแรงงานเพิ่มขึ้นจาก 12.7 เป็น 14.7 ชิ้นต่อชั่วโมงแรงงาน คิดเป็นร้อยละ 18.23 ของก่อนการปรับปรุง
Other Abstract: The objective of this study was to increase the labor productivity of head stack assembly line in hard disk drive manufacturing. The head stack assembly process consisted of 13 workstations which were Flex cable and carriage assembly VCM soldering Head assembly Swaging Head separator insertion Flux apply Beam soldering Solder inspection Alignment test Gramload test Serial reader Electrical test and Final inspection. Finding causes of waste and retarding work station in the process were (1) Reducing the defect of reading signal by revising the specification and reading head damage from electrical discharge by improve method of electrical discharge. (2) Reducing the machine repairing time by refer positioning symbol. (3) Reducing model changing time by work parallel method. (4) Reducing material waiting time by applied material request signal. (5) Reducing the cycle time of 4 retarding work stations by re-arrange the activity between man and machine machine time reduction and eliminate non-value add work station. The results of improvement (1) Defects of head stack assembly reducing from 0.34% to 0.07% of production assessment from process cycle time (2) Machine repairing time reducing from 64 to 12 minute per cycle time. (3) Model changing time reducing from 12 to 6.5 minute per cycle time. (4) No material waiting time. (5)The work stations reducing from 13 to 12 work stations (6) Process cycle time reduce from 12.3 to 11.1 second. (7) Productivity was increase from 6146 to 6810 pieces/day or 10.8% (8) Manpower was reducing from 23 to 22 operators. (9) The labor productivity was increase from 12.7 to 14.7 pieces/man-hours or 18.23%
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58541
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.774
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.774
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Aukrawat Kainunsingh.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.