Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58599
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเพ็ชรพร เชาวกิจเจริญ-
dc.contributor.authorสิริกุลกันยา พิพิธวัฒนาพันธุ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-04-29T13:48:25Z-
dc.date.available2018-04-29T13:48:25Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58599-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการกำจัดโลหะหนักของเส้นใยปาล์มที่ไม่ผ่านการ ปรับสภาพ เส้นใยปาล์มที่ปรับสภาพด้วยกรดไฮโดรคลอริกและเส้นใยปาล์ม ที่ปรับสภาพด้วย ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ เส้นใยปาล์มที่ใช้ขนาด 2.00 ถึง 4.67 มิลลิเมตร ทำการทดลองโดยใช้ จาร์เทสต์กวนที่ความเร็ว 200 รอบ ต่อนาที เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ใช้น้ำเสียสังเคราะห์เตรียมจาก โลหะหนัก 3 ชนิด ได้แก่ ทองแดง นิกเกิล และสังกะสี ความเข้มข้น 5 มิลลิกรัมต่อลิตร ศึกษา ประสิทธิภาพในการกำจัดโลหะหนักและลักษณะทางกายภาพของวัสดุ พบว่าเส้นใยปาล์มที่ปรับ สภาพด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ มีประสิทธิภาพในการกำจัด โลหะหนักสูงกว่าเส้นใยปาล์มที่ ไม่ผ่านการปรับสภาพและเส้นใยปาล์มที่ปรับสภาพด้วยกรดไฮโดรคลอริก โดยกำจัดทองแดง นิกเกิล และสังกะสีได้เท่ากับ 82.58 เปอร์เซ็นต์ และ 94.46 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ซึ่งเส้นใยปาล์มที่ปรับสภาพ ด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์นั้นมีความสามารถในการดูดซับสูงสุดคือ กำจัดทองแดงได้ 8.68 มิลลิกรัมต่อกรัม กำจัดนิกเกิลได้ 3.77 มิลลิกรัมต่อกรัม และกำจัดสังกะสีได้ 6.72 มิลลิกรัมต่อกรัม โดยเส้นใยปาล์มที่ปรับสภาพนั้นจะมีประสิทธิภาพลดลงเมื่อความเข้มข้นของโลหะหนักเพิ่มขึ้น ในขณะที่ขนาดของเส้นใยปาล์มนั้นมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการกำจัดโลหะหนักน้อยมาก ผลการศึกษาลักษณะทางกายภาพของเส้นใยปาล์มที่ปรับสภาพด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ พบว่า มีค่าความถ่วงจำเพาะเท่ากับ 0.78 ซึ่งต่ำกว่าเส้นใยปาล์มที่ไม่ปรับสภาพ (ความถ่วงจำเพาะเท่ากับ 1.27) แต่มีค่าสูงกว่าเส้นใยปาล์มที่ปรับสภาพด้วยกรดไฮโดรคลอริก (ความถ่วงจำเพาะเท่ากับ 0.29) โดยจากการใช้เครื่องวัดพื้นที่ผิว (BET) พบว่าประมาณพื้นที่ผิวของเส้นใยปาล์มที่ไม่ปรับสภาพมีค่า 2.11 ตารางเมตรต่อกรัม ซึ่งมากกว่าปริมาณพื้นที่ผิวของเส้นใยปาล์มที่ปรับสภาพด้วยไฮโดรเจน เปอร์ออกไซด์ (1.61 ตารางเมตรต่อกรัม) และเส้นใยปาล์มที่ปรับสภาพกรดไฮโดรคลอริก (1.93 ตารางเมตรต่อกรัมสำหรับขนาดรูพรุนของเส้นใยปาล์มมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยขนาด รูพรุนของเส้นใยปาล์มที่ปรับสภาพด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์มีขนาดเฉลี่ย 55.82 อังสตรอม ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าขนาดรูพรุนของเส้นใยปาล์มที่ไม่ปรับสภาพ (เฉลี่ย 34.02 อังสตรอม) และเส้นใย ที่ปรับสภาพด้วยกรดไฮโดรคลอริก (เฉลี่ย 34.01 อังสตรอม) นอกจากนี้จากการวิเคราะห์โครงสร้าง พบว่า มีค่าการดูดกลืนแสงของหมู่ฟังก์ชัน -OH, -CH, CH₂O-และC=Cอีกด้วยen_US
dc.description.abstractalternativeThis research investigated the comparison of heavy metal removal efficiency by untreated palm-oil fiber, modified palm-oil fiber with hydrochloric acid and modified palm-oil fiber with hydrogen peroxide. Palm-oil fiber has 2.00-4.67 mm. in size. Each experiment was carried out by using jar test for 2 hours at 200 rpm. The synthetic wastewater was prepared at the concentration of 5 mg/I of heavy metal (copper, nickel and zinc). The removal efficiency of heavy metal was determined. The physical properties was determined. The results reported that the best heavy metal removal efficiency was palm-oil fiber modified with hydrogen peroxide. The heavy metal removal efficiency of palm-oil fiber modified with hydrogen peroxide for copper, nicker and zinc was 82.58%, 90.98%, and 94.46% respectively. The capacity of palm-oil fiber modified with hydrogen peroxide for copper, nickel and zinc was 8.68 meq/g, 3.77 meq/g and 6.72 meq/g respectively. The modified palm-oil fiber had low efficiency when the concentration was high. The size of modified palm-oil fiber had no effect for the removal effciency of heavy metal. The specific gravity of palm-oil fiber modified with hydrogen peroxide was equal to 0.78, which was lower than that of untreated palm-oil fiber (specific gravity = 1.27) but it was higher than palm-oil fiber modified with hydrochloric acid (specific gravity = 0.29). The BET surface area of untreated palm-oil fiber was equal to 2.11 m[superscript 2]/g, which was higher than that of hydrogen peroxide treated palm-oil fiber (BETsurface area = 1.61 m²/g) and palm-oil fiber modified with hydrochloric acid (BET surface area = 1.93 m²/g). Therefore, the average pore diameter was significantly different. The average pore diameter of palm-oil fiber modified with hydrogen peroxide was equal to 55.82 A[superscript o], which was higher than that of untreated palm-oil fiber (average pore diameter = 34.02 A⁰ and palm-oil fiber modified with hydrochloric acid (average pore diameter = 34.01 A⁰). The results also indicated that the absorbance of functional group -OH, -CH₂O -and C=C in the modified fiber.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.72-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectน้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดโลหะหนักen_US
dc.subjectเส้นใยพืชen_US
dc.subjectใยปาล์มen_US
dc.subjectSewage -- Purification -- Heavy metals removalen_US
dc.subjectPlant fibersen_US
dc.subjectFiber plantsen_US
dc.titleการกำจัดโลหะหนักโดยเส้นใยปาล์มที่ผ่านการปรับสภาพen_US
dc.title.alternativeRemoval of heavy metals by modified oil-palm fiberen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPetchporn.C@Chula.ac.th,petchporn.c@gmail.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.72-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sirikulkanya_ph_front.pdf985.55 kBAdobe PDFView/Open
sirikulkanya_ph_ch1.pdf440.1 kBAdobe PDFView/Open
sirikulkanya_ph_ch2.pdf4.12 MBAdobe PDFView/Open
sirikulkanya_ph_ch3.pdf921.78 kBAdobe PDFView/Open
sirikulkanya_ph_ch4.pdf2.8 MBAdobe PDFView/Open
sirikulkanya_ph_ch5.pdf371.22 kBAdobe PDFView/Open
sirikulkanya_ph_ch6.pdf237.39 kBAdobe PDFView/Open
sirikulkanya_ph_back.pdf5.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.