Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58793
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ศิริเดช สุชีวะ | - |
dc.contributor.advisor | สุวิมล ว่องวาณิช | - |
dc.contributor.author | ปองภัทร อินทรัมพรรย์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2018-05-20T09:08:43Z | - |
dc.date.available | 2018-05-20T09:08:43Z | - |
dc.date.issued | 2551 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58793 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ ประการแรก เพื่อพัฒนามาตรวัดความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้สำหรับโรงเรียน ประการที่สอง เพื่อตรวจสอบคุณภาพของมาตรวัดความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนที่พัฒนาขึ้น และประการสุดท้าย เพื่อศึกษาลักษณะของความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนเมื่อใช้มาตรที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหาร และครู ในจังหวัดสมุทรปราการ ทั้ง 2 เขตพื้นที่การศึกษา โดยผู้บริหารจำนวน 347 คน และครู 413 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ มาตรวัดความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนฉบับผู้บริหาร และฉบับครู โดยมาตรวัดเป็นแบบตรวจสอบรายการประเมินที่พัฒนาขึ้น วิเคราะห์ความตรงตามโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน โดยใช้โปรแกรมลิสเรล และวิเคราะห์ความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายในตามสูตรการหาสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ผลการวิจัยสรุปได้ว่า มาตรวัดความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนได้พัฒนาขึ้นตามองค์ประกอบหลัก 5 องค์ประกอบ คือ การเรียนรู้ องค์กร บุคคล ความรู้ และเทคโนโลยี รวมทั้งหมด 16 ข้อในแต่ละข้อมีรูปแบบการตอบเป็นข้อรายการย่อยที่สะท้อนการปฏิบัติงานที่แสดงถึงความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้สำหรับโรงเรียน โดยมีกำหนดเกณฑ์การให้คะแนน (scoring rubric) คุณภาพของการปฏิบัติงาน ผลการตรวจสอบคุณภาพของมาตรพบว่ามีความเที่ยงแบบสอดคล้องภายในของมาตรเท่ากับ .96 ทั้งในฉบับผู้บริหารและฉบับครู โมเดลการวัดความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ในฉบับของผู้บริหาร ค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 89.37, p=0.06, ที่องศาอิสระ 70, GFI=0.97, AGFI = 0.94 และ RMR = 0.04 ในฉบับของครู ค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 81.48, p=0.07, ที่องศาอิสระ 64, GFI=0.98, AGFI=0.95 และ RMR= 0.03 ผลการใช้มาตรวัดในโรงเรียน สำหรับผู้บริหารพบว่าโรงเรียนมีความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในระดับปานกลาง โดยด้านการเรียนรู้มีการปฏิบัติงานจริงสูงสุด รองลงมา คือ ด้านบุคคล ส่วนด้านเทคโนโลยีมีการปฏิบัติงานจริงต่ำสุด ในขณะที่ครูพบว่าโรงเรียนมีความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในระดับปานกลาง โดยด้านการเรียนรู้มีการปฏิบัติจริงสูงสุด รองลงมา คือ ด้านองค์กร ส่วนด้านเทคโนโลยีมีการปฏิบัติงานจริงต่ำสุด | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were (1) to develop a learning organization being scale for schools (2) to test appropriateness of the developed scales and (3) to study learning organization for schools in developed scales. The sample consisted of 347 administrators and 413 teacher from 2 educational service areas in Samutprakarn province. The research instruments were the developed learning organization scale for schools separated in administrator issue and teacher issue. The scales were evaluation checklist. The construct validity was analyzed by confirmatory factor analysis through LISREL. The reliability of the scales was estimated by Cronbach’s alpha internal consistencies. The result of this research showed that the developed scale was composed 5 key elements such as learning, organization, people, knowledge and technology. It contained 16 items. The checklists reflected practices which represented learning organization for schools. The quality of the practices was checked based on constructed scoring rubrics. The internal consistency reliability of a learning organization scale for schools was 0.96 for administrator and teacher issue. The models of a learning organization scale for schools provided a chi-square goodness-of-fit test of 89.37, p = 0.06, df = 70, GFI = 0.97, AGFI = 0.94 and RMR = 0.04 for administrator issue and a chi-square goodness-of-fit test of 81.48, p = 0.07, df = 64, GFI = 0.98, AGFI = 0.95 and RMR = 0.03 for teacher issue. The results of using developed scales were that learning organization for schools was medium level for administrators. Learning and people factors were highly practiced, respectively. Technology factor was lowest in practice. For teachers, learning organization for schools was medium level. Learning and organization factors were highly practiced, respectively. Technology factor was lowest in practice. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.687 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การเรียนรู้องค์การ | en_US |
dc.subject | การสร้างมาตรวัด (สังคมศาสตร์) | en_US |
dc.subject | โรงเรียน | en_US |
dc.subject | Organizational learning | en_US |
dc.subject | Scaling (Social sciences) | en_US |
dc.subject | Schools | en_US |
dc.title | การพัฒนามาตรวัดความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้สำหรับโรงเรียน | en_US |
dc.title.alternative | The development of a learning organization scale for schools | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.degree.discipline | การวัดและประเมินผลการศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Siridej.S@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Suwimon.W@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2008.687 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Poangpat Indrumbarya.pdf | 2.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.