Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58931
Title: | การเตรียมไขพอลิเอทิลีนจากการแตกตัวด้วยความร้อนของแอลดีพีอีในเครื่องปฏิกรณ์ขนาดเล็ก |
Other Titles: | Preparation of polyethlene wax by thermal cracking of LDPE in microreactor |
Authors: | ตรีนุช จิวรเศรษฐ์กุล |
Advisors: | ธราพงษ์ วิทิตศานต์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | Tharapong.V@Chula.ac.th |
Subjects: | โพลิเอทิลีน แวกซ์ Polyethylene Waxes |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้ศึกษากระบวนการแตกตัวแอลดีพีอีไปเป็นไขพอลิเอทิลีนด้วยความร้อนภายในเครื่องปฏิกรณ์ขนาดเล็ก โดยศึกษาหาภาวะที่เหมาะสมการเตรียมในไขพอลิเอทิลีนเพื่อให้ได้คุณสมบัติตามต้องการจากการแตกตัวด้วยความร้อนของแอลดีพีอีในเครื่องปฏิกรณ์ขนาดเล็ก โดยจะศึกษาตัวแปร ซึ่งได้แก่ อุณหภูมิ 350-380 องศาเซลเซียส เวลาในการเกิดปฏิกิริยา 30-90 นาที ความดันเริ่มต้น 0-150 ปอนด์/ตารางนิ้ว ชนิดของแก๊สไนโตรเจนและไฮโดรเจน และเปอร์เซ็นต์ของเตตระริน 0.5-5.0 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก ผลิตภัณฑ์ไขที่ได้จะนำไปคำนวณหาร้อยละของผลิตภัณฑ์ พร้อมทั้งวิเคราะห์จุดหลอมเหลวและวัดความหนืด ด้วยเครื่องดิฟเฟอเรนเชียลสแกนนิ่งแคลอรี่มิเตอร์และเครื่องวัดความหนืด ตามลำดับ เพื่อตรวจสอบว่าคุณสมบัติตรงตามความต้องการนำไปใช้ประโยชน์ จากการวิจัยพบว่าภาวะที่เหมาะสมสำหรับกระบวนการแตกตัวแอลดีพีอีด้วยความร้อนในเครื่องปฏิกรณ์ขนาดเล็ก ซึ่งจะให้ร้อยละของผลิตภัณฑ์ไขพอลิเอทิลีนมากกว่า 97 % จุดหลอมเหลวในช่วง 105-109 องศาเซลเซียส และความหนืดระหว่าง 544-1800 เซนติพอยด์ อุณหภูมิ 360-370 องศาเซลเซียสและเวลาในการเกิดปฏิกิริยา 30-70 นาที ส่วนความดันเริ่มต้นไม่มีผลต่อร้อยละและคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ไขพอลิเอทิลีน นอกจากนี้ยังพบว่าเตตระรินจะมีส่วนร่วมในกลไกการแตกตัวด้วยความร้อน ซึ่งจะส่งผลให้จุดหลอมเหลวและความหนืดของผลิตภัณฑ์ไขพอลิเอทิลีนที่ได้ลดลง |
Other Abstract: | Thermal cracking of LDPE to Polyethylene wax in microreactor is investigated in this work. The effect of the reaction conditions including cracking temperature between 350 and 380C, reaction time was 30-90 minutes, initial pressure from 0 to150 psi, Tetralin solvent percent of 0.5-5.0 %weight and gas type are nitrogen and hydrogen on the yield and properties of polyethylene wax — such as melting point and viscosity. The Polyethylene wax has a melting point ranges of 105-109 ◦C. The viscosity ranges from 544 to 1,800 Cps.; the yield is over 97%. The proper cracking temperature is 360-370◦C and reaction time of 30 – 70 minutes. Initial pressure does not affect the yield and properties of Polyethylene wax. Moreover, Tetralin participates in the thermal cracking mechanism, which decreases melting point and viscosity of Polyethylene wax. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เคมีเทคนิค |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58931 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.2015 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.2015 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Threenuch jivorasetkul.pdf | 1.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.