Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58972
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชนกพร จิตปัญญา | - |
dc.contributor.author | ชัญญา ถนอมลิขิต | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2018-05-30T00:21:28Z | - |
dc.date.available | 2018-05-30T00:21:28Z | - |
dc.date.issued | 2551 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58972 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 | en_US |
dc.description.abstract | การวิเคราะห์อภิมานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์ค่าขนาดอิทธิพลของการปฏิบัติการพยาบาลต่อผลลัพธ์ทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองวัยผู้ใหญ่ 2) เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะของงานวิจัยที่มีผลต่อความแปรปรวนของค่าขนาดอิทธิพลของการปฏิบัติการพยาบาลต่อผลลัพธ์ทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองวัยผู้ใหญ่ โดยศึกษาจากวิทยานิพนธ์และรายงานการวิจัยในประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2534 – พ.ศ. 2551 จำนวน 21 เรื่อง เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสรุปคุณลักษณะของงานวิจัยและแบบประเมินคุณภาพงานวิจัย ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ 0.90 และหาค่าความเที่ยงโดยวิธีผู้ประเมินร่วมกันระหว่างผู้วิจัยและอาจารย์ที่ปรึกษา ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.86 นำข้อมูลไปวิเคราะห์ตามวิธีของ Glass, McGaw, & Smith (1981) ได้ค่าขนาดอิทธิพลจำนวน 142 ค่า ผลการวิเคราะห์งานวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1.งานวิจัยที่นำมาวิเคราะห์ ส่วนใหญ่เป็นวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต (71.4%) และจากมหาวิทยาลัยมหิดลจำนวนมากที่สุด (38.1%) จากคณะพยาบาลศาสตร์ (66.7%) และสาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ (42.9%) คุณภาพงานวิจัยโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (71.4%) และพบว่าการปฏิบัติการพยาบาลด้านการรู้คิดและพฤติกรรม การปฏิบัติการพยาบาลด้านสังคม และการปฏิบัติการพยาบาลแบบผสมผสาน ถูกนำมาศึกษามากที่สุด (ด้านละ 23.80%) ส่วนผลลัพธ์ทางสุขภาพด้านจิตใจ ถูกนำมาศึกษามากที่สุด (32.43%) 2. ผลการวิเคราะห์ค่าขนาดอิทธิพลของการปฏิบัติการพยาบาลของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองวัยผู้ใหญ่ พบว่าการปฏิบัติการพยาบาลด้านการสนับสนุนระบบการพยาบาล มีค่าขนาดอิทธิพลใหญ่ที่สุด (d= 5.24) โดยการพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลมีค่าขนาดอิทธิพลสูงสุด (d=5.24) 3.ผลการวิเคราะห์ค่าขนาดอิทธิพลของผลลัพธ์ทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองวัยผู้ใหญ่ พบว่าผลลัพธ์ทางสุขภาพด้านจิตใจ มีค่าขนาดอิทธิพลสูงที่สุด (d=2.43) โดยความมีคุณค่าในตนเองมีค่า ขนาดอิทธิพลสูงสุด (d=3.80) 4.รูปแบบการวิจัย สถานที่ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ระยะเวลาในการป่วย และระยะเวลาทั้งหมดที่ใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล มีความสัมพันธ์กับค่าขนาดอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= .359, .404, .520, .424 และ .434 ตามลำดับ) | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this meta analysis were to study 1) Methodological and substantive characteristics of nursing intervention on health outcomes in stroke adult patients 2) Influences of methodological and substantive characteristics on the effect size. Total of 21 true and quasi-experimental studies in Thailand during 1991 – 2008 were included. Studies were analyzed for method of Glass, McGaw, and Smith (1981). This meta-analysis yielded 142 effect sizes. Results were as follows: 1. The majority of the study were Master thesis (38.1%); from mahidol university (38.1%); from faculty of nursing (66.7%) and major of adult nursing (66.7%); decided in very good quality (71.4%). Most of nursing interventions were cognitive and behavior nursing intervention, social nursing intervention and integrate nursing intervention (23.80%). Most of health outcomes used was psychological health outcomes (32.43%). 2. Nursing interventions had the largest effect-size on nursing system nursing intervention (d= 5.24). A clinical nursing practice guideline had the largest effect-size (d= 5.24) 3. Health outcomes the largest effect-size on psychological health outcomes (d=2.43). Self esteem had the largest effect-size (d=3.8) 4. The type of research, place of nursing intervention, statistic for analysis, time of illness and total time of nursing intervention were positive significantly correlated effect-size at the level of .05.(r= .359, .404, .520, .424 and .434 respectively) | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.992 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การวิเคราะห์อภิมาน | en_US |
dc.subject | การพยาบาล -- ประสิทธิผล | en_US |
dc.subject | โรคหลอดเลือดสมอง -- ผู้ป่วย | en_US |
dc.subject | Meta-analysis | en_US |
dc.subject | Nursing -- Effectiveness | en_US |
dc.subject | Cerebrovascular disease -- Patients | en_US |
dc.title | ประสิทธิผลของการปฏิบัติการพยาบาลต่อผลลัพธ์ทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองวัยผู้ใหญ่ : การวิเคราะห์อภิมาน | en_US |
dc.title.alternative | The Effectiveness of nursing interventions on health outcomes in stroke adult patients : A meta-analysis | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | พยาบาลศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | chanokporn.j@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2008.992 | - |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ChanyaThanomlikhit.pdf | 1.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.