Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58994
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนกพร จิตปัญญา-
dc.contributor.advisorองค์การ เรืองรัตนอัมพร-
dc.contributor.authorนิตยา ศรีสุข-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.coverage.spatialกรุงเทพฯ-
dc.date.accessioned2018-06-03T03:05:32Z-
dc.date.available2018-06-03T03:05:32Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58994-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ รายได้ ระดับการศึกษา ประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ ระดับความสามารถในการทำกิจกรรม อาการไม่สบาย การสนับสนุนทางสังคม การรับรู้ภาวะสุขภาพโดยทั่วไป กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้ แนวคิดคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของ Wilson & Cleary (1995) เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และโรงพยาบาลตำรวจจำนวน 140 ราย เลือกโดยวิธีการสุ่มอย่างเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบบันทึกข้อมูลด้านบุคคล แบบประเมินการรับรู้ภาวะสุขภาพโดยทั่วไป แบบประเมินอาการไม่สบาย แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม และแบบวัดคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และจากการหาค่าความเที่ยงของแบบประเมินได้เท่ากับ .88, .83, และ .81 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและหาความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและสถิติอีตา ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง ในเขตกรุงเทพมหานครยู่ในระดับดี ( = 69.39, SD=11.58) 2. อายุ และอาการไม่สบายมีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง ในเขตกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=-.373 และ -.705 ตามลำดับ) 3. รายได้ ประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ และการรับรู้ภาวะสุขภาพโดยทั่วไปมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง ในเขตกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=.232, .722 , และ .455 ตามลำดับ) 4. เพศ ระดับการศึกษา ระดับความสามารถในการทำกิจกรรม และการสนับสนุนทางสังคม ไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ ในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง ในเขตกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study the relationships between personal factors, left ventricular ejection fraction, activities daily life , unpleasant symptoms, social support, general health perception, and health-related quality of life in patients with chronic heart failure in Bangkok. The theorical framework based on Health-Related Quality of Life Conceptual Model of Wilson and Cleary (1995). One hundred and forty chronic heart failure patients were recruited by using a multi-stage sampling technique from Out-Patient Departments of Rajavithi Hospital, Bhamongkutklao Hospital, and Police General Hospital, selected by a multi-stage sampling. The instruments used for data collection were the Demographic Data Form, LVEF Form, NYHA Form, A 100-mm horizontal Visual Analogue Scale of General Health Perception, Cardiac Symptoms Survey (CSS), ENCRICH Social Support Questionaire, and The Minnesota Living with Heart Failure Questionaire. These instruments were tested for content validity by a panel of experts. Internal consistency reliability for each questionnaire, tested by Cronbach’s alpha were .88, .83, and .81, respectively. Data were analyzed using mean, standard deviation, Pearson’s product-moment correlation and Eta coefficient. Major findings were as follow: 1. Patients with chronic heart failure had good HRQOL (mean 69.39, SD = 11.58). 2. Age and unpleasant symptoms were significantly negative related to HRQOL (r=-.373 and -.705, respectively, p<.05). 3. Income per month, left ventricular ejection fraction, and general health perception were significantly positive related to HRQOL (r=.232, .722, and .455, respectively, p<.05). 4. Sex, education level, activities daily life, and social support were not significantly related to HRQOLen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1006-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectหัวใจวาย -- ผู้ป่วย -- สุขภาพen_US
dc.subjectผู้ป่วย -- ไทย -- กรุงเทพฯen_US
dc.subjectคุณภาพชีวิตen_US
dc.subjectHeart failure -- Patients -- Healthen_US
dc.subjectPatients -- Thailand -- Bangkoken_US
dc.subjectQuality of lifeen_US
dc.titleปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังในเขตกรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeFactors associated with health-related quality of life in patients with chronic heart failure, Bangkoken_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการพยาบาลผู้ใหญ่en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorchanokporn.j@chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.1006-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nittaya Srisuk.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.