Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59036
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุกรี รอดโพธิ์ทอง-
dc.contributor.advisorพัฒนา ภู่วนิชย์-
dc.contributor.authorทวี สระน้ำคำ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-06-06T07:56:12Z-
dc.date.available2018-06-06T07:56:12Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59036-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบการคิดวิจารณญาณของนักเรียนที่เรียนบทเรียนบนเว็บวิชาฟิสิกส์ที่ใช้วิธีสอนแบบนิรนัยและแบบอุปนัย (2) เปรียบเทียบการคิดวิจารณญาณของนักเรียนที่เรียนบทเรียนบนเว็บวิชาฟิสิกส์ที่ใช้แบบฝึกหลังเรียนโดยวิธีสร้างโจทย์และวิธีแก้โจทย์ และ (3) ศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างการใช้วิธีสอนแบบนิรนัยและแบบอุปนัยและแบบฝึกหลังเรียนโดยวิธีสร้างโจทย์และวิธีแก้โจทย์ในบทเรียนบนเว็บวิชาฟิสิกส์ที่มีต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศึกษาศาสตร์) จังหวัดขอนแก่น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 160 คน โดยการสุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลอง 4 กลุ่ม ๆ ละ 40 คน ตามวิธีสอนและแบบฝึกหลังเรียนที่ใช้ในบทเรียน ได้แก่ (A1) กลุ่มที่เรียนบทเรียนบนเว็บที่ใช้วิธีสอนแบบนิรนัยที่ใช้แบบฝึกหลังเรียนโดยวิธีสร้างโจทย์ (A2) กลุ่มที่เรียนบทเรียนบนเว็บที่ใช้วิธีสอนแบบนิรนัยที่ใช้แบบฝึกหลังเรียนโดยวิธีแก้โจทย์ (B1) กลุ่มที่เรียนบทเรียนบนเว็บที่ใช้วิธีสอนแบบอุปนัยที่ใช้แบบฝึกหลังเรียนโดยวิธีสร้างโจทย์ (B2) กลุ่มที่เรียนบทเรียนบนเว็บที่ใช้วิธีสอนแบบอุปนัยที่ใช้แบบฝึกหลังเรียนโดยวิธีแก้โจทย์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) บทเรียนบนเว็บวิชาฟิสิกส์ที่ใช้วิธีสอนแบบนิรนัยและอุปนัย ที่ใช้แบบฝึกหลังเรียนโดยวิธีแก้โจทย์และโดยวิธีสร้างโจทย์ วิชาฟิสิกส์ เรื่องสมดุลกล (2) แบบวัดการคิดวิจารณญาณตามแนวคิดของเอนนิส นำข้อมูลจากการทดลองมาวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง (2-Way ANOVA) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัย พบว่า 1.กลุ่มตัวอย่างที่เรียนบทเรียนบนเว็บที่ใช้วิธีสอนแบบนิรนัยและวิธีสอนแบบอุปนัย มีการคิดวิจารณญาณไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.กลุ่มตัวอย่างที่เรียนบทเรียนบนเว็บที่มีแบบฝึกหลังเรียนโดยวิธีสร้างโจทย์และวิธีแก้โจทย์ มีการคิดวิจารณญาณแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีสอนและแบบฝึกหลังเรียนที่ใช้ในบทเรียนบนเว็บ ต่อการคิดวิจารณญาณของกลุ่มตัวอย่างที่เรียนบนเว็บอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study the effect of Deductive and Inductive teaching with problem creating and problem solving practice formats in Web-Based Instruction on Mechanical Equilibrium content of Physics upon Critical Thinking mathayom suksa IV students. The subjects were 160 mathayom suksa IV students of Khon Kaen University Demonstration School, during the second semester of 2007 academic year. They were randomly grouped by Basic Physics examination results into 4 treatment groups, 40 students in each group. These 4 treatment groups were randomly according to 4 different types of Web-Based Instruction as: (A1) Deductive teaching with problem creating practice format, (A2) Deductive teaching with problem solving practice format, (B1) Inductive teaching with problem creating practice format, and (B2) Inductive teaching with problem solving practice format. The research instruments were the 40 multiple choice Items of Mechanical Equilibrium, which were adapted from Cornell Critical Thinking Test Level x, and the 4 different types of Web-Based Instruction with two units of Mechanical Equilibrium content. The Data were analyzed by 2-way Analysis of Variance at the .05 level of significance. The research results were as follows: 1.There was no statistical significant difference effect between Deductive teaching and Inductive teaching in Web-Based Instruction upon Critical Thinking of mathayom suksa IV students at the .05 level of significance. 2.There was statistical significant difference effect between problem creating and problem solving of practice formats in Web-Based Instruction upon Critical Thinking of mathayom suksa IV students at the .05 level of significance. 3.There was statistical significant interaction effect between the teaching methods and practice formats in Web-Based Instruction upon Critical Thinking of mathayom suksa IV students at the .05 level of significance.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1366-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการเรียนการสอนผ่านเว็บen_US
dc.subjectนักเรียนมัธยมศึกษาen_US
dc.subjectฟิสิกส์ -- การศึกษาและการสอนen_US
dc.subjectWeb-based instructionen_US
dc.subjectHigh schools -- Studentsen_US
dc.subjectPhysics -- Study and teaching (Secondary)en_US
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.titleผลของวิธีสอนแบบนิรนัยและวิธีสอนแบบอุปนัยที่มีแบบฝึกหลังเรียนต่างกันโดยใช้บทเรียนบนเว็บในวิชาฟิสิกส์ที่มีต่อการคิดวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4en_US
dc.title.alternativeEffect of inductive and deductive teaching with difference practice formats in WEB-BASED instruction on physics upon critical thinking of Mattayom Suksa IV studentsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorNo information provided-
dc.email.advisorpattana@kku.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.1366-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tawee Sranamkam.pdf3.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.