Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59062
Title: สถาบันครอบครัวของกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตกรุงเทพมหานคร : ศึกษากรณีกลุ่มชาติพันธุ์ซิกข์ มอญ เขมรและไทย : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: The family institution of ethnic groups in Bangkok Metropolis : the case of Sikh, Mon, Khmer and Thai ethnic groups
Authors: สุภาวดี มิตรสมหวัง
Email: ไม่มีข้อมูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Subjects: ครอบครัว -- ไทย -- กรุงเทพฯ
ครอบครัว -- ไทย
กลุ่มชาติพันธุ์ -- ไทย -- กรุงเทพฯ
ซิกข์ -- ไทย -- ความเป็นอยู่และประเพณี
มอญ -- ไทย -- ความเป็นอยู่และประเพณี
เขมร -- ไทย -- ความเป็นอยู่และประเพณี
ชาวไทย -- ไทย -- ความเป็นอยู่และประเพณี
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยเรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเรื่อง “สถาบันครอบครัวของกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตกรุงเทพมหานคร” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากเงินงบประมาณแผ่นดิน ประจำปี 2542 เป็นงานวิจัยที่มุ่งศึกษาระบบสังคมย่อยของสถาบันครอบครัวของกลุ่มชาติพันธุ์ซิกข์ มอญ เขมรและไทย โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครอบครัวจำนวน 200 ครอบครัว และกลุ่มตัวอย่างที่เป็นบุคคลจำนวน 600 คน การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้เกณฑ์การคัดเลือกจากการสืบสายบรรพบุรุษมาจากกลุ่มชาติพันธุ์ซิกข์ มอญ เขมร และไทย การเก็บข้อมูลอาศัยการแนะนำจากกลุ่มตัวอย่างที่เรียกว่า Snow-balling การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) และการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถาม รวมทั้งการสังเกตการณ์กิจกรรมในชุมชน ตลอดระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา 1 ปี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยใช้โปรแกรมการวิเคราะห์ข้อมูล SPSS และ Ethnograph ผลการศึกษา พบว่า มีการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจนในระบบสังคมย่อยของสถาบันครอบครัวของชาวไทยเชื้อสายซิกข์ มอญ เขมร และไทย ดังต่อไปนี้ – มีการเปลี่ยนแปลงในการเลือกคู่ครองจากผู้ใหญ่จัดหาให้เป็นการเลือกโดยตนเองมากขึ้นยกเว้นกลุ่มซิกข์ – มีการผสมผสานขนบธรรมเนียมประเพณีที่เกี่ยวกับการสมรสข้ามวัฒนธรรมมากขึ้นในครอบครัวของกลุ่มชาติพันธุ์มอญ เขมรโปรตุเกส และเขมรจาม มีการอนุญาตให้สามารถสมรสนอกกลุ่มมากขึ้นในกลุ่มมอญและเขมรโปรตุเกส ส่วนกลุ่มอื่นยังมีน้อย – จำนวนสมาชิกลดลง ครอบครัวมีลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยวเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากมีการตั้งครอบครัวใหม่มากขึ้น – การแสดงบทบาทของสมาชิกในครอบครัวมีการเปลี่ยนแปลงชัดเจน ภรรยาเปลี่ยนบทบาทจากแม่บ้านมาเป็นผู้ช่วยหารายได้เพื่อเลี้ยงครอบครัวมากขึ้น ในขณะที่สามีเริ่มแสดงบทบาทในการช่วยเหลืองานบ้านและเลี้ยงลูกมากขึ้น สำหรับผู้อาวุโส พบว่าบทบาทในครอบครัวเริ่มน้อยลง มีฐานะเป็นผู้อาศัยมากกว่าเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจในครอบครัวเช่นในอดีต ส่วนเด็กจะลดบทบาทในการช่วยทำงานหาเลี้ยงชีพในบ้านน้อยลง บทบาทเด่นของเด็กคือการเรียน – สำหรับอำนาจในครอบครัว พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงจากสามีเป็นใหญ่ในครอบครัว มาเป็นการใช้อำนาจร่วมกัน (Equalitarian) – ส่วนค่านิยม พบว่าค่านิยมที่ครอบครัวให้ความสำคัญมากที่สุด คือการศึกษา ความขยันขันแข็ง การเคารพผู้อาวุโส การยึดมั่นในคุณธรรม และความรักในพวกพ้อง ค่านิยมเหล่านี้มีผลต่อความสำเร็จของสมาชิกในครอบครัว – ในส่วนการอบรมเลี้ยงดู พบว่าครอบครัวของทั้ง 4 กลุ่มชาติพันธุ์จะใช้วิธีอะลุ้มอล่วย (Authoritative) มากกว่าใช้การลงโทษรุนแรง ปัญหาที่พบในชุมชนมากที่สุดคือ ปัญหายาเสพติด ปัญหาการขาดที่ยึดเหนี่ยวทางใจของเด็กในครอบครัว และปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่มเด็ก ส่วนปัญหาอาชญากรรมร้ายแรงไม่พบ ในการแก้ปัญหานี้ ผู้วิจัยเสนอให้มีการลดบทบาทของพ่อแม่ในการแสวงหารายได้ให้น้อยลงเพื่อให้มีเวลาในการสร้างความรักและความอบอุ่นให้ลูกได้มากขึ้น รวมทั้งการเพิ่มบทบาทและความสำคัญของผู้สูงอายุในครอบครัวให้มากขึ้นด้วย
Other Abstract: This research work, which is part of the research project on the family institution of ethnic groups in Bangkok Metropolis, funded by the 1999 national budget, aims at studying various institutionalsub-systems of Sikh, Mon, Khmer and Thai families. The sample groups under this study consist of 200 families and 600 persons, selected from those of Sikh, Mon, Khmer and Thai descents. The data collection was conducted using the access technique called “snow-balling”, in-depth interviews, questionnaire-based interviews as well as the one-year long observation of activities in each sample group’s communities. The analysis of data employed descriptive statistics and content analysis methods using SPSS and Ethnograph programs. It is found from the research results that there are remarkable changes in the family institution sub-systems of Sikh, Mon, Khmer and Thai ethnic groups as follows:- - There is a shift from preferential to free choice matchings or marriages in all ethnic groups except in Sikh families. – There are more cross-cultural marriages in Mon, Portuguese Khmer and Cham Khmer families due to cultural assimilation. Exogamy is increasingly allowed by Mon and Portuguese Khmer ethnic groups while in the other groups, it is still minimal. – The number of family members in all ethnic groups become less. The family is characterized as nuclear family due to the increasing number of families of procreation. – There is an obvious change in the family members’ roles. The wives change their roles from housewives and child caring providers to be the second breadwinners in the families while the husbands participate more in household errands and child rearing. As for the elders, it is found that their roles of advisor and decision-maker are decreasing. For the children, their role in helping the family earn the family incomes becomes declining. Their major role at present is found to be studying. – Concerning family authority, there is a change from patriarchal-oriented to equalitarian. – The most important values of the studied families are education, hard working, respects to the elders, morality and family cohesiveness. These values are the major factors affecting the family members’ achievements. – As for parenting behaviors, it is found that all of these 4 ethnic groups use more authoritative parenting style than authoritarian parenting style. The problems most encountered within the communities of these ethnic groups are drug abuses, lack of psychological supports from the parents and conflicts among adolescents. There is no severe criminal behavior found in the studied communities. In order to solve the stated problems, the researcher recommends that parents should be less concentrative on income earning in order to have more time to promote loves and cares towards their children, and the role and importance of elders in the families should also be promoted.
Description: โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเรื่อง สถาบันครอบครัวของกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตกรุงเทพมหานคร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59062
Type: Technical Report
Appears in Collections:Pol - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supawadee Mi_Res_2544.pdf8.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.