Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59119
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุวัฒนา วงษ์กะพันธ์-
dc.contributor.authorอรณิช จิตรแสวง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2018-06-19T08:44:46Z-
dc.date.available2018-06-19T08:44:46Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59119-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและปัจจัยการสื่อสารในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกศูนย์สุขภาพผู้สูงอายุกรุงเทพมหานคร โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการและการสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interview) กลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม ได้แก่ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสุขภาพ อาสาสมัครในการสอนออกกำลังกาย และผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกของศูนย์สุขภาพผู้สูงอายุกรุงเทพมหานคร สวนลุมพินี จำนวนทั้งสิ้น 30 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการสื่อสารในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกของศูนย์สุขภาพผู้สูงอายุกรุงเทพมหานคร สวนลุมพินี พบว่า มีรูปแบบการสื่อสารที่ปรากฏขึ้น เมื่อพิจารณาตามเกณฑ์ 4 รูปแบบ คือ 1. การสื่อสารสองทางที่ไม่เป็นทางการและมีปฏิกิริยาโต้ตอบมาก ซึ่งเป็นรูปแบบที่พบบ่อยที่สุดและมีผลต่อการสื่อสารในศูนย์สุขภาพผู้สูงอายุกรุงเทพมหานคร สวนลุมพินี มากที่สุด 2. การสื่อสารสองทางที่ไม่เป็นทางการและมีปฏิกิริยาโต้ตอบน้อย 3. การสื่อสารสองทางที่เป็นทางการ และ 4. การสื่อสารทางเดียวที่เป็นทาง 2. ปัจจัยการสื่อสารที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในศูนย์สุขภาพผู้สูงอายุ กรุงเทพมหานคร สวนลุมพินี พบว่า ปัจจัยการสื่อสารที่มีผลต่อพฤติกรรมของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 1. ปัจจัยด้านผู้ส่งสาร ได้แก่ เจ้าหน้าที่ของศูนย์สุขภาพฯ อาสาสมัครในการสอนออกกำลังกาย และผู้สูงอายุที่มาออกกำลังกาย ซึ่งจะต้องมีการสร้างความศรัทธา, ความน่าเชื่อถือ, การสร้างความใกล้ชิด คุ้นเคย และโดยเฉพาะผู้ส่งสารที่มีประสบการณ์ตรง ซึ่งจะทำให้มีความน่าเชื่อถือมาก 2. ปัจจัยด้านสาร การใช้สารแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ สาระเชิงวิชาการ, สาระเพื่อการจูงใจและสาระเพื่อการเสนอแนะความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเรื่องทั่วไป ซึ่งประโยชน์ของเนื้อหาสารจะมีผลต่อการตัดสินใจของผู้สูงอายุในการเข้าร่วมกิจกรรมมาก 3. ปัจจัยด้านช่องทางการสื่อสาร เน้นการสื่อสารระหว่างบุคคล โดยใช้สื่อบุคคลมากที่สุด ได้แก่ แพทย์ และผู้สูงอายุที่มาออกกำลังกาย ซึ่งจะมีมากที่สุดโดยใช้กลยุทธ์การบอกปากต่อปากและการเข้าทางผู้นำความคิด นอกจากนี้ยังใช้สื่อมวลชน อาทิ โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ เป็นปัจจัยเสริม 4. ปัจจัยด้านผู้รับสาร มีทั้งปัจจัยภายนอก เช่น เพื่อนหรือผู้ใกล้ชิด แพทย์ และปัจจัยภายใน ได้แก่ ความคิดอยากมีสุขภาพแข็งแรงอายุยืน เป็นปัจจัยที่มีผลเกี่ยวเนื่องกับการตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุทั้งสิ้นen_US
dc.description.abstractalternativeThis qualitative research aims to investigate the communication patterns and communication factors in the health care of Bangkok Elderly Health Care Center's members. Data were collected from informal interviews and in-depth interviews with thirty participants, divided into three sampling groups: health support professionals, exercise trainer volunteers, and members of the Center. The research results were as follows. First, in their health care, the members of the Center were found to use four communication patterns. The most frequent and influential pattern was informal two-way communication with high interaction. Second came informal two-way communication with low interaction. Formal two-way communication ranked third. The least frequent pattern was formal one-way communication. Second, the members' health care was affected by four communication factors: encoder, message, channel, and decoder. Encoders included the Center's health support professionals, exercise trainer volunteers, and members. The findings indicate that the health support professionals and exercise trainer volunteers should be able to create faith and intimacy. Moreover, they should have direct experience to be able to affect credibility. Messages could be classified into three types: academic message, motivation messages, and suggestions/ idea exchanges/general messages. It was found that the contents of these messages highly influenced the elderly members' decisions to participate in the Center's activities. In terms of channel, interpersonal communication through word of mouth from physicians and the elderly members seemed to be most effective. This could be supported by other media such as TV, radio, and newspapers. The decoder factor could be classified into an external factor and an internal factor. The external factor included friends and physicians, whereas the internal factor included the elderly members' desires to be healthy and live long. Both factors affected the elderly members' participation in the Center's activities and health care behavior.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.2050-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการสื่อสารทางการแพทย์en_US
dc.subjectผู้สูงอายุ -- การดูแล -- ไทยen_US
dc.subjectพฤติกรรมสุขภาพen_US
dc.subjectCommunication in medicineen_US
dc.subjectOlder people -- Care -- Thailanden_US
dc.subjectHealth behavioren_US
dc.titleรูปแบบและปัจจัยการสื่อสารในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกศูนย์สุขภาพผู้สูงอายุกรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeCommunication patterns and factors in caring for the member of Bangkok elderly health care centeren_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการประชาสัมพันธ์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSuwattana.V@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.2050-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
auranich_ch_front.pdf949.26 kBAdobe PDFView/Open
auranich_ch_ch1.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open
auranich_ch_ch2.pdf5.43 MBAdobe PDFView/Open
auranich_ch_ch3.pdf628.66 kBAdobe PDFView/Open
auranich_ch_ch4.pdf3.79 MBAdobe PDFView/Open
auranich_ch_ch5.pdf1.91 MBAdobe PDFView/Open
auranich_ch_back.pdf2.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.