Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59134
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสวภา เวชสุรักษ์-
dc.contributor.authorจิรัชญา บุรวัฒน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2018-06-20T06:45:21Z-
dc.date.available2018-06-20T06:45:21Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59134-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาหลักการแสดงของนางศูรปนขา ซึ่งเป็นตัวละครเอกในละครดึกดำบรรพ์ เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน ศูรปนขาชมป่า เกี่ยวกับความเป็นมา องค์ประกอบ และแบบแผนการแสดงนางศูรปนขาและนางศูรปนขาตัวแปลง โดยศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ การสังเกตการแสดงบนเวที วีดีทัศน์ ภาพถ่าย และการฝึกหัดรำด้วยตนเองโดยศิลปินต้นแบบที่มีประสบการณ์แสดงเป็นนางศูรปนขา ผลการศึกษาพบว่า นางศูรปนขาเป็นตัวละครสำคัญในการดำเนินเรื่องราวของละครดึกดำบรรพ์เรื่องรามเกียรติ์ ตามแบบแผนของกรมศิลปากร ที่ได้ต้นแบบบทละครมาจากบทพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ซึ่งได้ทรงนำเค้าโครงเรื่องมาจากมหากาพย์เรื่องรามายณะ ของอินเดีย แสดงครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2491 นางศูรปนขาจัดเป็นนางยักษ์ชั้นสูงที่มีกิริยามารยาทไม่เรียบร้อย มีอิทธิฤทธิ์สามารถแปลงกายและเหาะเหินเดินอากาศได้ นางศูรปนขามีอุปนิสัยเอาแต่ใจตนเอง หยิ่งทะนง เจ้าเล่ห์เพทุบาย มีนิสัยเจ้าชู้ อีกทั้งยังมีนิสัยโลเลและพาลเมื่อไม่ได้มาซึ่งสิ่งที่หวังไว้ นางแปลงกายเป็นสตรีรูปงามเพื่อยั่วยวนพระรามและพระลักษมณ์ให้หลงใหลเมื่อไม่สมหวังจึงพาลและใช้กำลังเข้าทำร้ายร่างกายผู้อื่น จากการที่นางแปลงกายนางศูรปนขาจึงมีลักษณะของนางยักษ์ที่เป็นนางกษัตริย์และนาแปลงที่มีลักษณะของนางยักษ์แฝงอยู่ แบบแผนการรำของนางศูรปนขามีลักษณะสำคัญ 2 รูปแบบ คือ 1. ตัวนางยักษ์ ใช้ท่ารำเฉพาะของนางยักษ์ มีการรำที่หนักแน่น สง่างามอย่างนางยักษ์ วงและเหลี่ยมกว้างกว่าตัวนางปกติ 2. ตัวนางยักษ์แปลงใช้ท่ารำที่ผสมระหว่างตัวนางยักษ์และตัวนางรำอย่างกระฉับกระเฉงว่องไว มีจริตมารยา เน้นการกระทบจังหวะ แรงและหนักแน่งอันเป็นลักษณะแฝงของนางยักษ์ นอกจากนี้ ยังมีการแทรกบทบาทตลกแต่ไม่หยาบคาย เพื่อสร้างความบันเทิงให้กับผู้ชม การขับร้องต้องร้องตรงจังหวะ ร้องเต็มเสียงและเสียงไม่เพี้ยน มีการเน้นเสียงสูงและต่ำให้สอดคล้องกับอารมณ์ตามบทบาท รวมทั้งเน้นการแสดงอารมณ์ออกทางสีหน้าและแววตาให้ชัดเจนในระดับมากกว่าปกติ ส่วนเครื่องแต่งกายเครื่องทรงกษัตรีย์ตามแบบละครหลวง ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ช่วยเสริมการแสดงให้ดูสมจริงมากขึ้น การวิจัยบทบาทของนางยักษ์ในละครรำของไทยมีอยู่เป็นจำนวนน้อย ควรมีการศึกษาในด้านบทบาทการแสดงของตัวละครประเภทนางยักษ์เพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อวงการนาฏยศิลป์ไทยทั้งด้านการแสดงและด้านงานวิชาการ รวมทั้งเป็นการเผยแพร่เกียรติคุณของนาฏยศิลป์ที่แสดงบทบาทนางยักษ์และเผยแพร่รูปแบบการแสดงให้เป็นที่ประจักษ์และดำรงอยู่คู่ชาติไทยสืบไปen_US
dc.description.abstractalternativeThis thesis is to study the performance principles of Surapanakha, the leading role in the Lakon Dukdumbun name Ramakien including the history, performance elements, dance patterns of Surapanakha role. Research methodology is based upon documentary, interviewing, observation of actual performance, VCD, photographs, and researcher's dance practice with dance experts who played this role. According to the case-studied, Surapanakha is one of the most important character in Ramakien ; Thai version based on Indian Hindhu epic written over 2,000 years ago, "Ramayana". The versin recognized today was compiled in the Kingdom of Siam under the supervision of was written by His Royal Highness Prince Narissaranuwattivongse. Surapanakha is an Ogress, the youngest sister of Toskan. She is very rude, cruel, tricky and have special woe for impersonate. She met with Rama, Lakshman and Sida in the forrest, Being in love with Rama, she transformed herself to be a beautiful woman and made a woe to Rama and tried in vain to interest him. She found that either Rama or Lakshman never trapped. The unique characteristic of this dancer is "A Fake Transformer". The 2 outstanding dramatic principles of Surapanakha are 1. Ogress Dancer-acting of aggressive dancing, integrate with elegant queen performance. 2. The Transforming Ogress Dancer representing of mixture of queen and ogress performance, reflect of androgynous characters however, the charming female characters also perform at the same time. Nevertheless, the sense of humor is another character of the performance. The singing line need to synchronize with rhythm and dramatic acting; shining through the face and eyes-sight of dancer. It was found that, there is a pity of the ogress dancing in Thai classical dance. Though, more paper and seriously research on this issue will create more benefit for the Tradition Thai dance both for the performance of show as well as academic research, in order to adore and tribute the honorable Ogress Dancers who contributed and keep inheriting of Thai Classical Dance.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.213-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectรามเกียรติ์ -- ตัวละครen_US
dc.subjectละครดึกดำบรรพ์en_US
dc.subjectDance -- Thailanden_US
dc.subjectRamayanaen_US
dc.titleหลักการแสดงของนางศูรปนขา ในละครดึกดำบรรพ์เรื่อง รามเกียรติ์en_US
dc.title.alternativeDramatic principles of Surapanakha in Lakon Dukdumbun, Ramakienen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนาฏยศิลป์ไทยen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSavapar.V@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.213-
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jiratchaya_Bu.pdf4.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.