Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59234
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอวยพร เรืองตระกูล-
dc.contributor.advisorนงลักษณ์ วิรัชชัย-
dc.contributor.authorอรอุมา เจริญสุข-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-06-28T04:44:50Z-
dc.date.available2018-06-28T04:44:50Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59234-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en_US
dc.description.abstractพัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลตัวแปรกำกับที่มีการส่งผ่านสมรรถนะการตัดสินใจทางจริยธรรม และจิตลักษณะตามสถานการณ์ของพฤติกรรมจริยธรรม โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยคือ 1) เพื่อตรวจสอบอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านจิตลักษณะเดิมกับปัจจัยด้านสถานการณ์ ที่มีต่อพฤติกรรมจริยธรรมผ่านปัจจัยด้านจิตลักษณะตามสถานการณ์ 2) เพื่อเปรียบเทียบอิทธิพลหลักของปัจจัยด้านจิตลักษณะเดิมและปัจจัยด้านสถานการณ์ระหว่างขนาดอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมจริยธรรม และขนาดอิทธิพลทางอ้อมผ่านสมรรถนะการตัดสินใจทางจริยธรรม และจิตลักษณะตามสถานการณ์ และ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของระดับสมรรถนะการตัดสินใจทางจริยธรรมที่มีต่อพฤติกรรมจริยธรรม กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 741 คน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จังหวัดนนทบุรีและปทุมธานี ได้มาจากการสุ่มแบบสองขั้นตอน เครื่องมือวิจัยมี 4 ชุดคือ 1) แบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมจริยธรรม วัดปัจจัยด้านจิตลักษณะเดิมด้านสถานการณ์ และด้านจิตลักษณะตามสถานการณ์มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.934, 0.942 และ 0.912 ตามลำดับ 2) แบบวัดพฤติกรรมจริยธรรม มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.967 3) แบบวัดการให้เหตุผลเชิงจริยธรรม (The Defining Issues Test: DIT) มีค่าความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายใน (internal consistency) ของระดับขั้นจริยธรรมอยู่ระหว่าง 0.564-0.631 และ 4) แบบวัดการตัดสินใจทางจริยธรรม (The Moral Judgment Test: MJT) วัดสมรรถนะทางจริยธรรม (moral competence) มีคุณภาพสอดคล้องตามเกณฑ์ที่กำหนด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบความตรงของโมเดลอิทธิพลของตัวแปรกำกับ ที่มีการส่งผ่านด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ว่า 1) โมเดลแสดงอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านจิตลักษณะเดิม กับปัจจัยด้านสถานการณ์ที่มีต่อพฤติกรรมจริยธรรม ผ่านปัจจัยด้านจิตลักษณะตามสถานการณ์และสมรรถนะการตัดสินใจทางจริยธรรม มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์มีค่า Chi-square = 177.645, df = 152, P = 0.076, RMSEA = 0.015, RMR = 0.137, GFI = 0.977, AGFI = 0.968, CFI = 0.999 ตัวแปรสาเหตุร่วมกันอธิบายความแปรปรวนในพฤติกรรมจริยธรรม จิตลักษณะตามสถานการณ์ และสมรรถนะการตัดสินใจทางจริยธรรมได้ 93.373%, 79.376% และ 0.004% ตามลำดับ ผลการศึกษาแสดงว่า โมเดลมีลักษณะอิทธิพลของตัวแปรกำกับที่มีการส่งผ่านและเทอมปฏิสัมพันธ์ มีความสำคัญอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดอิทธิพลหลักที่เป็นปัจจัยเชิงสาเหตุ 2) อิทธิพลของปัจจัยด้านสถานการณ์ต่อพฤติกรรมจริยธรรมซึ่งมีค่าเท่ากับ 0.763 สูงกว่าอิทธิพลของปัจจัยด้านจิตลักษณะเดิมซึ่งมีค่าเท่ากับ 0.269 และอิทธิพลทางตรงจากปัจจัยเชิงสาเหตุมีค่าสูงกว่าขนาดอิทธิพลทางอ้อม ผ่านสมรรถนะการตัดสินใจทางจริยธรรมอยู่มาก และ 3) ขนาดอิทธิพลของระดับสมรรถนะการตัดสินใจทางจริยธรรมที่มีต่อพฤติกรรมจริยธรรมมีค่าเท่ากับ -0.027 อยู่ในระดับต่ำมากen_US
dc.description.abstractalternativeTo develop and validate the mediated moderation model of moral behaviors having moral judgment competence and organismic interaction as mediators with three sub-objectives as follows: 1) to investigate the interaction effects between psychological factor and situational factor on moral behaviors mediated through situational psychological factor, 2) to compare the main effects of psychological factor and situational factor between the direct effects on moral behaviors and indirect effects via moral judgment competence and organismic interaction, and 3) to study the effects of moral judgment competence on moral behaviors. The sample, randomly selected using two-stage sampling, consisted of 741 Grade 9 students in the schools under the jurisdiction of the Office of Basic Education Committee, Ministry of Education, at Nonthaburi and Pathumthani. The four research instruments were 1) the questionnaire measuring the factors affecting moral behaviors in terms of psychological, situational, situational psychological factors with reliabilities of 0.934, 0.942, and 0.912 respectively; 2) moral behavior scale with reliability of 0.967; 3) moral reasoning scale (The Defining issue Test: DIT) with internal consistency reliability of moral stages ranging from 0.564-0.631; and 4) moral judgment scale (The Moral Judgment Test: MJT) measuring moral competence with satisfactory properties as required. Data analyses were descriptive statistics, analysis of variance, and the analysis to validate the mediated moderation model using LISREL. The major findings were summarized as follows: 1) the model displaying the interaction effects between psychological factor and situational factor on moral behaviors mediated through organismic interaction was fit to the empirical data with Chi-square = 177.645, df = 152, P = 0.076, RMSEA = 0.015, RMR = 0.137, GFI = 0.977, AGFI = 0.968, CFI = 0.999. The causal factors could account for 93.373, 79.376 and 0.004 of the variations in moral behaviors, situational psychological factor, and moral judgment competence, respectively. The study results indicated that the model displayed the highly significance of the mediated moderating effects and the interaction effects on the change of the causal factors’ main effects. 2) The effect of situational factors on moral behaviors, being equal to 0.763, was stronger than the effect of psychological factors which was equal to 0.269. The direct effects of the causal factors were extremely higher than the indirect effects via moral judgment competence. And 3) the effect of moral judgment competence on moral behaviors was -0.027 which was considerably weak.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.716-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectจริยธรรมen_US
dc.subjectการพัฒนาจริยธรรมen_US
dc.subjectจริยศึกษาen_US
dc.subjectนักเรียนมัธยมศึกษาen_US
dc.subjectMoral developmenten_US
dc.subjectMoral educationen_US
dc.titleการพัฒนาโมเดลตัวแปรกำกับที่มีการส่งผ่านสมรรถนะการตัดสินใจทางจริยธรรมและจิตลักษณะ ตามสถานการณ์ของพฤติกรรมจริยธรรมของนักเรียน : การประยุกต์ใช้รูปแบบทฤษฎีปฏิสัมพันธ์นิยม ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม และทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมen_US
dc.title.alternativeDevelopment of a mediated moderation model of students' moral behaviors having moral judgment competence and organismic interaction as mediators : an application of the interactionism model, moral tree, and moral development theoriesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorAuyporn.R@chula.ac.th-
dc.email.advisorNonglak.W@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.716-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Orn-uma Charoensuk.pdf41.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.