Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59242
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมยศ ชิดมงคล-
dc.contributor.authorอารีย์ เมฆวิลัย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-06-28T07:43:07Z-
dc.date.available2018-06-28T07:43:07Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59242-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en_US
dc.description.abstractเพื่อศึกษาการใช้ตัวแทนความคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ และพฤติกรรมการเรียนคณิตศาสตร์แตกต่างกัน ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 446 คน ที่ทำแบบวัด การใช้ตัวแทนความคิดทางคณิตศาสตร์ แบบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ และแบบวัดพฤติกรรมการเรียน คณิตศาสตร์ และสุ่มนักเรียน 24 คน เพื่อใช้ในการสัมภาษณ์การใช้ตัวแทนความคิดทางคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ ข้อมูลโดยหาค่าความถี่และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ปานกลาง และต่ำ ต่างก็มีการใช้ สัญลักษณ์หรือตัวแปรเป็นตัวแทนความคิดทางคณิตศาสตร์ มากที่สุด ส่วนรองลงมา นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนสูง มีการใช้ข้อความเป็นตัวแทนความคิดทางคณิตศาสตร์ แต่นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปานกลาง และต่ำ มีการใช้รูปภาพเป็นตัวแทนความคิดทางคณิตศาสตร์ 2. นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีความสามารถด้านมิติสัมพันธ์สูง ปานกลาง และต่ำ ต่างก็มีการใช้ สัญลักษณ์หรือตัวแปรเป็นตัวแทนความคิดทางคณิตศาสตร์ มากที่สุด ส่วนรองลงมานักเรียนที่มีความสามารถ ด้านมิติสัมพันธ์สูง มีการใช้ข้อความเป็นตัวแทนความคิดทางคณิตศาสตร์ แต่นักเรียนที่มีความสามารถด้าน มิติสัมพันธ์ปานกลาง และต่ำ มีการใช้รูปภาพเป็นตัวแทนความคิดทางคณิตศาสตร์ 3. นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีพฤติกรรมการเรียนคณิตศาสตร์สูง และต่ำ ต่างก็มีการใช้สัญลักษณ์ หรือตัวแปรเป็นตัวแทนความคิดทางคณิตศาสตร์ มากที่สุด ส่วนรองลงมา นักเรียนมีการใช้รูปภาพเป็นตัวแทน ความคิดทางคณิตศาสตร์en_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study mathematical representations of ninth grade students with different mathematics learning achievements, spatial abilities, and mathematics learning behaviors. The population of this research were ninth grade students in schools under the office of Bangkok education service area 1. The subjects were 446 ninth grade students. These students were tested with the mathematical representations test, spatial abilities test and mathematics learning behaviors test and the 24 students were randomly interviewed. The data were analyzed by means of frequency and percentage. The results of the study revealed that: 1. Most of ninth grade students with high, medium and low mathematics learning achievements used symbolic representation. Students with high achievement used text representation while those with medium and low achievements used picture representation. 2. Most of ninth grade students with high, medium and low spatial abilities used symbolic representation. Students with high spatial abilities used text representation while those with medium and low spatial abilities used picture representation. 3. Most of ninth grade students with high and low mathematics learning behaviors used symbolic representation and picture representation respectively.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.627-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectคณิตศาสตร์en_US
dc.subjectผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนen_US
dc.subjectพฤติกรรมการเรียนen_US
dc.subjectความสามารถด้านมิติสัมพันธ์en_US
dc.subjectMathematicsen_US
dc.subjectAcademic achievementen_US
dc.subjectLearning behavioren_US
dc.subjectSpatial abilityen_US
dc.titleการศึกษาการใช้ตัวแทนความคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์และพฤติกรรมการเรียนคณิตศาสตร์แตกต่างกันen_US
dc.title.alternativeA study of mathematical representations of ninth grade students with different mathematics learning achievements, spatial abilities, and mathematics learning behaviorsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการศึกษาคณิตศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSomyot.C@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.627-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Aree Makwilai.pdf43.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.