Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59277
Title: ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจ่าอากาศ ในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพโรงเรียนจ่าอากาศ พุทธศักราช 2548
Other Titles: Factors affecting learning achievement of air technical students in the vocational certificate curriculum B.E. 2548 of the Airforce Technical Training School
Authors: ฐานวัฒน์ พุฒวิบูลย์วุฒิ
Advisors: บุญมี เณรยอด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: โรงเรียนจ่าอากาศ -- นักเรียน
โรงเรียน -- การบริหาร
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์
Airforce Technical Training School (Thailalnd) -- Students
School management and organization
Academic achievement
Achievement motivation
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจ่าอากาศ ในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพโรงเรียนจ่าอากาศ พุทธศักราช 2548 ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ นักเรียนจ่าอากาศชั้นปีที่ 3 เหล่าทหารช่างอากาศ จำนวน118 คน เหล่าทหารสื่อสาร จำนวน 75 คน และเหล่าทหารสรรพาวุธ จำนวน 28 คน และผู้บริหารโรงเรียนจ่าอากาศ จำนวน 9 คน ครูผู้สอน จำนวน 49 คน ครูด้านการปกครอง จำนวน 16 คน รวมทั้งสิ้น 295 คน คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม และแบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคือ ตัวแปรปัจจัยด้านตัวนักเรียน ได้แก่ ความรู้พื้นฐานเดิม การใช้เวลาในการอ่านทบทวนตำราเรียน และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ตัวแปรปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายในที่พักอาศัย มีปัจจัยด้านการบริหารโรงเรียน ได้แก่ การจัดหาสื่อการเรียน การจัดการนิเทศภายใน สภาพอาคารสถานที่ห้องเรียน การจัดบริการห้องสมุด ปัจจัยด้านครูผู้สอน ได้แก่ ประสบการณ์ในการสอน วุฒิการศึกษา การสอนตรงสาขาวิชาที่จบการศึกษา การเตรียมการสอน การใช้สื่อการเรียนการสอน และการสอนโดยคำนึงถึงความแตกต่างของนักเรียน ตัวแปรปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายในที่พักอาศัย ได้แก่ การจัดการภายใน และการดำเนินกิจกรรมภายในที่พักอาศัย มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ตัวแปรปัจจัยทั้ง 14 ตัวแปรร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ 50.8% และเมื่อพิจารณาตัวแปรปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพบว่า มีตัวแปรปัจจัยเพียง 7 ตัว ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้แก่ ความรู้พื้นฐานเดิม การจัดการนิเทศภายใน และการสอนตรงสาขาวิชาที่จบการศึกษา ส่วนตัวแปรการจัดหาสื่อการเรียน ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01, .05 ในขณะที่ตัวแปรประสบการณ์ในการสอน ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในทางลบอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนตัวแปรสภาพอาคารสถานที่และห้องเรียน และตัวแปรวิธีการสอนโดยคำนึงถึงความแตกต่างของนักเรียน ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาลำดับความสำญของตัวแปรปัจจัยที่ส่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงสุดคือ ตัวแปรความรู้พื้นฐานเดิม รองลงมาเป็นตัวแปรประสบการณ์ในการสอน ส่วนอันดับสามเป็นการจัดการนิเทศภายใน ในขณะที่ตัวแปรที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำที่สุดคือ ตัวแปรสภาพอาคาร สถานที่และห้องเรียน และตัวแปรความแตกต่างของนักเรียน 2. ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรปัจจัยกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคือ ตัวแปรปัจจัยด้านตัวนักเรียนพบว่า ความรู้พื้นฐานเดิมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 โดยมีค่าความสัมพันธ์เท่ากับ 0.523 ตัวแปรปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายในที่พักอาศัย มีด้านการบริหารโรงเรียน พบว่าการจัดอบรมทางวิชาการ การจัดหาสื่อการเรียน และการจัดการนิเทศภายใน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 โดยมีค่าความสัมพันธ์เท่ากับ 0.345, 0.184 และ 0.173 ปัจจัยด้านครูผู้สอน พบว่า การอบรมเกี่ยวกับหลักสูตร มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 โดยมีค่าความสัมพันธ์เท่ากับ 0.311 ส่วนประสบการณ์ในการสอนและวุฒิการศึกษา มีความสัมพันธ์ทางลบกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01, 0.5 โดยมีค่าความสัมพันธ์เท่ากับ -0.372 และ -0.136 ตามลำดับ
Other Abstract: To study and analyze the relationships of the factors are effected to the Air Technical Students learning achievement undertaken in the vocational certificate curriculum B.E. 2548 of the Airforce Technical Training School. (ATTS) The school administrators, in service teachers, student affair officers ,and third year students in various branches were used as the sample. The findings offer evidence in support of study as the followings. 1. The factors effecting on the learning achievement. Firstly, the foundation of the student gather with catching up the knowledge after classroom toward the achievement motivation. Secondly, the school administration is concerned with the sufficient training aids providing, teacher supervision, classroom facility, library services. Thirdly, the teacher‘s role in experienced teaching, experienced in based knowledge, well prepared lesson plan ,and student individual differences. Finally, the school atmosphere dealing with the good management system and daily life activities has related to the learning achievement in statistically significant .01 level. Describing the variation of learning achievement gained 50.8% and only seven variable factors effected to this criteria as the basic knowledge of the student, the teacher supervision, earning a specific degree in teaching, and the sufficient training aids providing are correlated positively with achievement in statistically significant .05 level. In contradiction with the teacher’s role in experienced teaching, the classroom and the facilities, teaching on the student individual differences, are correlated negatively with achievement in statistically significant .01, .05 level. The most three significant variable factor of these findings were the student basic knowledge, the experienced teaching, the teacher supervision, respectively. The least three significant variable factor was the school atmosphere, classroom and facilities, teaching on the student individual differences. 2. The relationships between the variable factors and the learning achievement, first, the student factor, rely on students’ foundation. Second, the school administration factor enable in academic training, the sufficient training aids providing and the teacher supervision. Third, the teacher factor, having been trained in the content of the curriculum. The three factors correlate positively with achievement. Nevertheless, the experience in the field of teaching and knowledge background of the teacher are correlated negatively with achievement. The findings are statistically significant .01 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59277
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.718
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.718
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thanavat Putvibulvut.pdf24.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.