Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59401
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เอกชัย ลีลารัศมี | - |
dc.contributor.advisor | อัจฉรา จันทร์ฉาย | - |
dc.contributor.author | ศุภมาส วิจารณ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2018-09-06T08:47:10Z | - |
dc.date.available | 2018-09-06T08:47:10Z | - |
dc.date.issued | 2553 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59401 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 | en_US |
dc.description.abstract | สภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนทำให้โรงงานอุตสาหกรรมต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงที่สุด หนทางหนึ่งที่ช่วยลดต้นทุนการผลิต คือการสามารถตรวจสอบพฤติกรรมการใช้พลังงานไฟฟ้าเพื่อเป็นแนวทางในการใช้พลังงานอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าของทางผู้ประกอบการโดยตรง งานวิจัยฉบับนี้จึงนำเสนอการพัฒนาผลิตภัณฑ์มิเตอร์อัจฉริยะแบบไร้สายสำหรับสังเกตการใช้ไฟฟ้าแบบเวลาจริงและศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านการตลาด ตัวผลิตภัณฑ์แบ่งการทำงานออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนของทางด้านฮาร์ดแวร์ คือมิเตอร์ในการส่งค่าวัดพลังงานแบบไร้สาย โดยส่งผ่านคลื่นวิทยุ โพรโทคอล Zigbee ตามมาตรฐาน IEEE802.15.4 ผ่านตัวประสานกลาง (Coordinator) และส่วนของทางด้านซอฟต์แวร์ประยุกต์ ได้แก่ ระบบสารสนเทศในรูปของฐานข้อมูลที่สืบค้นผ่านเว็บแอพลิเคชัน ซึ่งแบ่งเป็นมอดูลย่อยดังนี้ การแสดงผลปริมาณการใช้ไฟฟ้าแบบ Real time, ซอฟต์แวร์คำนวณค่าไฟฟ้า ณ ปัจจุบัน, ซอฟต์แวร์เปรียบเทียบการใช้ไฟฟ้าระหว่างอัตราแบบ TOU (Time of Use) และ TOD (Time of Day) และภาพรวมของการใช้ไฟฟ้าของมิเตอร์แต่ละตัว ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นสามารถประมวลผลการสืบค้นย้อนหลังและ Export ข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์ต่อได้ ผลการศึกษาความเป็นไปได้เชิงพาณิชย์ ทำโดยวิธีสำรวจปัจจัยและการยอมรับในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากกลุ่มตัวอย่าง 53 โรงงาน พบว่าร้อยละ 66 มีความสนใจในตัวผลิตภัณฑ์ทางด้านฮาร์ดแวร์ โดยคำนึงถึงคุณภาพ ประสิทธิภาพในการใช้งานและราคา ตามลำดับ ส่วนความต้องการทางด้านซอฟต์แวร์ผู้ประกอบการให้ความสำคัญด้านปริมาณข้อมูลการใช้ไฟฟ้า และความสามารถในการวิเคราะห์ จากนั้นนำแนวคิดดังกล่าวมาพัฒนาต้นแบบ ทดสอบการทำงานด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ การแสดงผลและการสืบค้นข้อมูล ผลที่ได้จากการทำงานของระบบมีประสิทธิภาพตรงตามที่ได้ออกแบบไว้ ส่งผลให้ลดค่าใช้จ่ายด้านการใช้ไฟฟ้าลงได้ถึง 13.16% ในกรณีโรงเลื่อยแปรรูปไม้ตัวอย่าง และจากการสอบถามผู้ประกอบการ พบว่ามีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนไปใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลาที่มีการใช้ไฟน้อยกว่าปกติ ซึ่งมีอัตราไฟฟ้าถูกกว่า ผลที่ได้จากการทดสอบผลิตภัณฑ์และสอบถามความเป็นไปได้เชิงพาณิชย์ข้างต้นเป็นข้อบ่งชี้ได้ว่าผลิตภัณฑ์นี้สามารถนำไปผลิตได้ในเชิงอุตสาหกรรมต่อไป | en_US |
dc.description.abstractalternative | Due to economic uncertainty, factories need to consider minimizing production cost. One way to reduce cost is monitor its energy usage in order to use energy economically with high efficiency without reducing productivity and quality. The research presents a wireless smart meter product development for real time monitoring electricity usage and its market feasibility study. The product is comprised of 2 parts. The first is the hardware, a wireless meter for sending the energy usage data via radio wave protocol Zigbee (IEEE802.15.4) to a coordinator. The second is the application software, an information system designed and developed in the form of database accessible via web applications. The software has sub-modules; Display of real time electricity quantity usage, program for electricity usage fee calculation at present, electricity usage rate comparison between TOU (Time of Use) and TOD (Time of Day), Summary of electricity usage for each meter. The software is capable of processing backward traceability and data export for further analysis. The commercialization feasibility study surveys to find out of factor and acceptance for selection and buying the product uses sampling of 53 factories. The results shows that 66% are interested in hardware by considering quality, efficiency and price respectively. On software need, the participants consider quantity of electricity usage, and analytical function. These findings are used to develop prototype, test of hardware and software, display, and data search. The result shows that the system works efficiently according to the design. Practical implementation with a sawmill wood factory shows that a 13.16% energy saving cost can be achieved. According to interviewing the factory owners, the finding shows that there is a potential to change the time usage of electricity to the period that has lower fee rate. The results from product testing and commercialization feasibility interviewing indicate that the product is appropriated to be manufactured for the industry. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1605 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | เครื่องวัดไฟฟ้า | en_US |
dc.subject | นวัตกรรมทางเทคโนโลยี | en_US |
dc.subject | การใช้พลังงานไฟฟ้า | en_US |
dc.subject | การควบคุมต้นทุนการผลิต | en_US |
dc.subject | Electric meters | en_US |
dc.subject | Technological innovations | en_US |
dc.subject | Electric power consumption | en_US |
dc.subject | Cost control | - |
dc.title | การพัฒนาเชิงนวัตกรรมมิเตอร์อัจฉริยะแบบไร้สายสำหรับสังเกตการใช้ไฟฟ้าแบบเวลาจริง | en_US |
dc.title.alternative | Innovative development of wireless smart meter for real time monitoring of electricity usage | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม (สหสาขาวิชา) | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Ekachai.l@chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Chandrachai@yahoo.com | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2010.1605 | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Supamas Wijarn.pdf | 2.42 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.