Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59467
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพัดชา อุทิศวรรณกุล-
dc.contributor.authorณัฐสุภา เจริญยิ่งวัฒนา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-09-14T05:06:12Z-
dc.date.available2018-09-14T05:06:12Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59467-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560-
dc.description.abstractเสื้อผ้าเป็นสินค้าที่ผู้บริโภคมักคุ้นเคยกับการได้เห็นสินค้าจริงก่อนการซื้อมาแต่ไหนแต่ไร แต่เมื่อความนิยมในการซื้อขายทางอินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้น เนื่องจากรูปแบบการใช้ชีวิตที่เน้นความสะดวก ทำให้ผู้บริโภครุ่นใหม่มีแนวโน้มหันมาซื้อเสื้อผ้าผ่านระบบออนไลน์ อย่างไรก็ดีการเลือกซื้อเสื้อผ้าให้ถูกใจ ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ยิ่งเมื่อการซื้อเสื้อผ้านั้น ผู้ซื้อไม่สามารถลองใส่ จึงมีโอกาสที่จะนำไปสู่ความไม่พึงพอใจ หากผู้ซื้อได้รับสินค้าไม่ตรงกับที่คิดไว้ เนคเทคได้เคยทำการสำรวจพบว่า การที่ผู้บริโภคไม่ได้เห็นสินค้าจริงก่อนการซื้อ จึงทำให้ผู้บริโภคบางส่วนไม่นิยมซื้อสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ต เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น สำหรับธุรกิจแฟชั่นออนไลน์ ความผิดพลาดของตัวสินค้ามาจากความเสี่ยงผลิตภัณฑ์ (Product Risks) ความเสี่ยงนี้มีต้นตอมาจากปัจจัยเสี่ยงด้านประโยชน์ใช้สอย (Functional Risks) และปัจจัยเสี่ยงด้านจิตวิทยา (Psychological Risks) ความเสี่ยงด้านประโยชน์ใช้สอย เกี่ยวข้องกับการที่ขนาดของเสื้อผ้าไม่พอดีกับรูปร่างของผู้ซื้อ ทำให้เกิดปัญหาในการสวมใส่ (Sizing & Fitting Problem) ส่วนความเสี่ยงด้านจิตวิทยา เกี่ยวข้องกับความไม่พึงพอใจที่ผู้ซื้อมีต่อเสื้อผ้าออนไลน์ (ที่ผู้ซื้อตัดสินใจจากภาพที่เห็นในเวบไซต์เท่านั้น แต่เมื่อนำมาลองสวมใส่จริงกลับไม่ถูกใจ) ความรู้สึกในเชิงลบจะเกิดขึ้น เมื่อความรู้สึกที่ได้รับจากการสวมใส่นั้นไม่ตรงกับภาพลักษณ์ของตนเอง (Self-Image) อย่างที่จินตนาการไว้ ดังนั้นงานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อค้นหา 1) รูปแบบการแต่งกาย (Fashion Style) ที่สอดคล้องกับบุคลิกภาพของกลุ่มผู้บริโภคหญิงไทยเจนเนอร์เรชั่นวายที่สนใจเรื่องแฟชั่นและภาพลักษณ์ ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่นิยมซื้อสินค้าออนไลน์ที่สำคัญ 2) องค์ประกอบการออกแบบแฟชั่น (Fashion Elements) ที่ช่วยลดความเสี่ยงผลิตภัณฑ์จากปัจจัยเสี่ยงด้านประโยชน์ใช้สอยและด้านจิตวิทยา 3) เพื่อทดลองสร้างอัตลักษณ์การออกแบบแฟชั่น (Fashion brand Identity) ที่สอดคล้องกับความชอบ (Product Preference) และการตัดสินใจซื้อ (Purchase Intention) ผ่านระบบออนไลน์โดยไม่ต้องลอง การวิจัยนำเอากระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณมาใช้ร่วมกัน ทั้งการสอบถามผู้เชี่ยวชาญสาขาแฟชั่นด้วยเทคนิคเดลฟาย แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างและแบบสอบถามผู้บริโภค พร้อมทั้งมีการตรวจสอบเครื่องมือวิจัย ด้วยการหาคะแนนความสอดคล้องของแบบสอบถามแต่ละชุด มีค่า IOC ที่ 0.925, 0.897, 0.873 และ 0.872 ความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของ Cronbach เท่ากับ 0.823 และ 0.831 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าสไตล์แฟชั่นสองอันดับแรกที่สอดคล้องกับบุคลิกภาพของผู้บริโภคหญิงไทยเจนเนอร์เรชั่นวาย ได้แก่ สไตล์โรแมนติกและสไตล์มินิมอล ส่วนองค์ประกอบการออกแบบแฟชั่นที่ช่วยลดความเสี่ยง แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ 1) องค์ประกอบฯที่ลดความเสี่ยงเรื่องขนาดและความพอดี 2) องค์ประกอบฯที่ลดความเสี่ยงเชิงจิตวิทยา 3) องค์ประกอบฯที่ลดความเสี่ยงได้พร้อมกันทั้งสองด้านซึ่งนำไปสู่การลดความเสี่ยงผลิตภัณฑ์ในที่สุด เนื่องจากธุรกิจแฟชั่นเป็นธุรกิจที่เน้นภาพลักษณ์และความงาม ผลการศึกษาดังกล่าวจะถูกนำมาใช้สร้างอัตลักษณ์การออกแบบเครื่องแต่งกาย ช่วยลดความเสี่ยงให้การซื้อเสื้อผ้าผ่านระบบออนไลน์รวมถึงมีความสอดคล้องกับภาพลักษณ์และความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น-
dc.description.abstractalternativeClothing is a product that mostly consumers prefer to see or try on the actual product before purchasing it. But when the popularity of online shopping is increased, due to the development of communication technology on the internet. Lifestyles of the urban new generation are focused time-saving activities, leading fashion online shopping to be an upcoming trend of buying behavior among Thai consumers. However, buying clothes online is not easy, especially with clothes that buyers have no chance to try on. If the buyers receive clothes mismatch their intentions. These might lead them to dissatisfaction. According to a survey conducted by NECTEC, the results showed that the uncertainty feeling may occur to consumers who had no chance to experience the real products. So, they were afraid to buy such products via the internet in order to avoid product risks. For online fashion business, product risks were caused by functional risk and psychological risk. Functional risk related to sizing & fitting problems (the clothing’s size that might not fit the buyer's body shape) Psychological risk related to the buyer's dissatisfaction with the online clothing. Therefore, this research aimed to identify 1) The fashion style that corresponded to the personality of the Thai female generation Y. 2) Fashion elements that reduced product risks in terms of functional and psychological risk. 3) To find the identity of fashion online that consistented with consumer’s product preference and purchase intention (without having to try). The study brought together qualitative and quantitative research processes. The validity of questionnaires were examined by IOC scores of 0.925, 0.897, 0.873 and 0.872. While the reliability were examined by Cronbach's Alpha equal 0.823 and 0.831. The top two preference fashion styles that matched the personality of the Thai female Gen Y were romantic and minimal style. The outcomes of fashion elements were divided into three groups: 1) Functional risk-minimizing elements, 2) Psychological risk-minimizing elements, 3) Both functional and psychological risk-minimizing elements which led to product risk reduction. The use of fashion style and fashion elements that congruent to the consumers’satisfaction. Therefore consumers tend to adopt these brands at the end.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1462-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectเจนเนอเรชันวาย-
dc.subjectการออกแบบแฟชั่น-
dc.subjectGeneration Y-
dc.subjectFashion design-
dc.titleอัตลักษณ์การออกแบบแฟชั่นออนไลน์เพื่อเจนเนอเรชั่นวาย-
dc.title.alternativeIdentity of Thai online fashion for generation y-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาเอก-
dc.degree.disciplineศิลปกรรมศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorupatcha@chula.ac.th,patcha.paris@gmail.com-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2017.1462-
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5686806735.pdf18.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.