Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5970
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทศพล ปิ่นแก้ว-
dc.contributor.authorพงษ์ธร จาฏุพจน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-02-26T01:52:05Z-
dc.date.available2008-02-26T01:52:05Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.isbn9743462392-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5970-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543en
dc.description.abstractศึกษาประสิทธิภาพของมวลหน่วงปรับค่าในการลดการสั่นไหวและความเสียหาย ของโครงสร้างที่มีพฤติกรรมแบบอิลาสโตพลาสติก ภายใต้การเคลื่อนตัวบริเวณฐานรองรับของโครงสร้างแบบฮาร์โมนิก และจากสัญญาณแผ่นดินไหว โดยวัตถุประสงค์หลักของการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมและข้อจำกัด ของมวลหน่วงปรับค่าในการลดการสั่นไหวและความเสียหายของโครงสร้างอินอิลาสติก อันจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงประสิทธิภาพของมวลหน่วงปรับค่าต่อไป เมื่อขนาดความเร่งสูงสุดของการเคลื่อนตัวที่ฐานของโครงสร้าง อยู่ในระดับความรุนแรงต่ำจนถึงปานกลาง โครงสร้างสั่นไหวในช่วงอิลาสติกหรือในช่วงอิลาสติกที่เกิดความเสียหายไม่มาก มวลหน่วงปรับค่ามีประสิทธิภาพในการลดการสั่นไหว และความเสียหายของโครงสร้างอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม เมื่อขนาดความเร่งสูงสุดของการเคลื่อนตัวที่ฐานเพิ่มขึ้น โครงสร้างเกิดความเสียหายมากขึ้น ประสิทธิภาพของมวลหน่วงปรับค่ามีค่าลดลง ถึงแม้ว่าความสามารถในการทำงานของมวลหน่วงปรับค่าที่วัดจาก (1) ค่าอัตราส่วนความเร่งของมวลหน่วงปรับค่าเทียบกับ ความเร่งสัมบูรณ์ของโครงสร้างและ (2) ค่าความต่างระหว่างเฟสการสั่นของโครงสร้างและการสั่นของมวลหน่วงปรับค่า ยังคงมีสภาพที่เหมาะสมเหมือนเช่นในกรณีที่ โครงสร้างมีพฤติกรรมในช่วงอิลาสติกก็ตาม ทั้งนี้เป็นผลจากค่าความหน่วงของโครงสร้างที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากการสลายพลังงานของโครงสร้างอินอิลาสติกเป็นสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของมวลหน่วงปรับค่า กับระบบมวลหน่วงปรับค่าแบบหลายหน่วย และระบบมวลหน่วงปรับค่าแบบกึ่งแอคทีฟ พบว่าระบบมวลหน่วงปรับค่าแบบกึ่งแอคทีฟมีประสิทธิภาพสูงสุด ในขณะที่ประสิทธิภาพของระบบมวลหน่วงปรับค่าแบบหลายหน่วย มีค่าใกล้เคียงกับระบบมวลหน่วงปรับค่า ดังนั้นระบบมวลหน่วงปรับค่าจึงเหมาะสำหรับการเพิ่มความสามารถใช้งาน หรือลดทอนระดับความเสียหายได้แก่ อาคารภายใต้แผ่นดินไหวที่มีระดับความรุนแรงต่ำถึงปานกลาง แต่ไม่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มความต้านทานให้กับ อาคารภายใต้แผ่นดินไหวความรุนแรงมากอย่างมีนัยสำคัญen
dc.description.abstractalternativeTo study the effectiveness of tuned mass damper (TMD) in reducing vibration and damage of an elasto-plastic SDOF structure subjected to harmonic and earthquake excitations. The main objective of this research is to study TMD's behavior and its limitations in reducing vibration and damage of an inelastic structure so that improvement on the performance of TMD can be properly effected. For low to medium peak ground accelerations (PGA), where is minor inelastic deformation in the structure, TMD effectively reduces the response and damage of the structure. However, its effectiveness decreases as the PGA increases although the performance index of TMD, determined from (1) the ratio between TMD acceleration to absolute structural acceleration and (2) the phase lag between structural and TMD response, remains in the proper condition as in the case of an elastic structure. This is mainly because of an increasing in structural damping caused by hysteresis of inelastic structure. Comparing TMD with multiple tuned mass damper (MTMD) and semi-active tuned mass damper (STMD), the obtained results indicate that STMD is the most effective while the effectiveness of MTMD is close to TMD. Thus, TMD is useful only for reducing vibration and damage of the structure under low and medium intensity earthquakes. However, it is not effective under high intensity shaking.en
dc.format.extent3241194 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectมวลหน่วงปรับค่าen
dc.subjectอาคาร -- การสั่นสะเทือนen
dc.subjectการวิเคราะห์โครงสร้าง (วิศวกรรมศาสตร์)en
dc.titleการศึกษามวลหน่วงปรับค่าสำหรับควบคุมการสั่นไหวของโครงสร้างอินอิลาสติกen
dc.title.alternativeA study on tuned mass dampers for vibration control of inelastic structuresen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิศวกรรมโยธาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorfcetpk@eng.chula.ac.th, Tospol.P@chula.ac.th-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pongtorn.pdf3.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.