Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5995
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชอุ่ม มลิลา | - |
dc.contributor.advisor | สมชาย แย้มวัณณังค์ | - |
dc.contributor.author | นินารถ นิตบงกช | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2008-02-26T05:19:38Z | - |
dc.date.available | 2008-02-26T05:19:38Z | - |
dc.date.issued | 2543 | - |
dc.identifier.isbn | 9743463135 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5995 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 | en |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะปรับปรุงคุณภาพของงานประกอบตัวถังรถกระบะ ซึ่งชี้บ่งด้วยค่าดรรชนี ED DPU (ELECTRO DEPOSITION DEFECT PER UNIT) เป้าหมายของการปรับปรุงให้ค่าดรรชนีมีค่าน้อยลงกว่า 1 การศึกษาวิจัยได้ถูกแยกออกเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกจะทำการปรับเปลี่ยนระบบคุณภาพเพื่อมารองรับให้สามารถดำรงระดับคุณภาพหลังการปรับปรุงค่าดรรชนีได้ตามเป้าหมายแล้ว ขั้นตอน 2 จะเป็นการปรับปรุงค่าดรรชนีโดยตรง ระบบคุณภาพจะประกอบไปด้วย การจัดโครงสร้างองค์กรเพื่อมารับผิดชอบด้านคุณภาพการตรวจสอบ การซ่อมด้านคุณภาพในสายการผลิต การควบคุมกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบเขียน และการควบคุมกระบวนการ ในขั้นตอนที่ 2 เป็นการปรับปรุงค่าดรรชนี โดยอาศัยเทคนิคทางวิศวกรรมอุตสาหการและเทคนิคในด้านการออกแบบมาช่วยในการปรับปรุงแก้ไข การปรับปรุงจะมุ่งเน้นไปที่ชิ้นส่วนภายนอก และสามารถสรุปผลการปรับปรุงได้ดังนี้คือ 1. ปรับปรุงที่ชิ้นส่วน CARGO SIDE OUTER ซึ่งมีขนาดที่ช่องไฟท้ายผิดไปจากแบบเขียน ปรับปรุงโดยให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนดำเนินการแก้ไขกระบวนการปั๊มขึ้นรูป ทำให้สามารถลดค่า ED DPU ลงได้ 0.5 (ซ้ายและขวา) 2. ปรับปรุงที่ชิ้นส่วน BODY SIDE OUTER ซึ่งมีปัญหาขอบบิด เนื่องจากการสปอท (SPOT) ปรับปรุงโดยแก้ไขรูปร่างของหัวทิปให้มีรูปร่างเข้ากับบริเวณปีกของ BODY SIDE OUTER ทำให้สามารถลดค่า ED DPU ลงได้ 1 (ซ้ายและขวา) 3. ปรับปรุงที่ชิ้นส่วน FLOOR & BOLSTER ซึ่งมีปัญหาการเกิดหนามสปอท ปรับปรุงโดยทำการแก้ไขวงจรการไหลของกระแสไฟฟ้า ทำให้สามารถลดค่า ED DPU ลงได้ 0.3 4. ปรับปรุงที่ชิ้นส่วน DOOR ซึ่งมีปัญหาบุบหลังจากสปอท ปรับปรุงโดยการออกแบบปืนสำหรับสปอทใหม่ ทำให้สามารถลดค่า ED DPU ลงได้ 0.54 (ซ้ายและขวา) การปรับปรุงค่า ED DPU โดยรวมแล้วจะสามารถลดค่า ED DPU จาก 3.1 เหลือ 0.98 ได้ในเดือนมี.ค. 2543 และนอกจากนี้ยังสามารถลดค่าแรงจากการซ่อมลงได้อีก 105.29 บาท/คัน หรือประมาณ 6% ของค่าแรงทางตรง/คัน | en |
dc.description.abstractalternative | The objective of this thesis is to improve the quality of body-truck assembly work indicating by the index ED DPU (electro deposition defect per unit). The target of improvement is aiming at the value less than one of the ED DPU. The studies was separated into two parts, namely, preparation of quality system to support the operations and to maintain the quality level after improvemant, and secondly, the quality itself improvement. The quality system composed of restructuring the quality organization, setting up the inspection and repairing-work manuals on assembly line, seting up the procedures to control changes in product design and process control. Of the second part, the improvement of ED DPU index had been enabled by employing the techniques of industrial engineering and industrial design. The improvements had been emphasised on outer parts, one-by-one, and the improvements could be concluded as follows: 1. CARGO SIDE OUTER PARTS The problem was the size of rear comb lamp miss. Counter-measured by information to vendor to improve press process, the ED DPU was reduced 0.5 (RH/LH) 2. BODY SIDE OUTER PARTS The problem was the twisting at flanges after spot. Counter-measured by improved shape of spot tip to match with shape of flanges, the ED DPU was reduced 1 (RH/LH) 3. FLOOR & BOLSTER PARTS The problem is burring after spot. Counter-measured by improved circuit of power transmission during welding the ED DPU was reduced 0.3 4. DOOR PARTS The problem was the swelling after spot. Counter-measured by creation of the tool assisted the spot welding, the ED DPU was reduced 0.54 (RH/LH). With all the above mentioned improvement the ED DPU index was reduced from 3.1 to 0.98 in March 2000, and the direct labour cost of repairing was reduced by 105.29 baht per unit or about 6% of total direct labour cost per unit. | en |
dc.format.extent | 5970572 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ | en |
dc.subject | อุตสาหกรรมรถกระบะ -- ไทย | en |
dc.subject | รถกระบะ -- ชิ้นส่วน | en |
dc.title | การปรับปรุงคุณภาพของงานประกอบตัวถังรถกระบะ | en |
dc.title.alternative | Quality improvement of body truck assembly work | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมอุตสาหการ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Chaum.M@chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Somchai.Y@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ninart.pdf | 5.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.