Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60014
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดำรงค์ วัฒนา-
dc.contributor.authorรุ่งทิวา เงินปัน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-09-14T06:04:53Z-
dc.date.available2018-09-14T06:04:53Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60014-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ดินในการให้บริการประชาชนของเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยคือ เจ้าหน้าที่กรมที่ดินที่ใช้ระบบงานในสำนักงานที่ดิน ตามโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศที่ดิน ระยะที่ 1 จำนวน 73 แห่ง เครื่องมือวิจัยใช้เก็บข้อมูลคือแบบสอบถามที่ได้ประยุกต์มาจากทฤษฎีการยอมรับเทคโนโลยี (Technology Acceptance Model) จำนวน 306 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและการวิเคระห์เส้นทางอิทธิพล โดยใช้โปรแกรม AMOS 24.0 ผลการวิจัยพบว่าความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยภายนอกต่อการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศของเจ้าหน้าที่กรมที่ดินมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( = 204.909 df= 189, P-value = .203, / =1.084, CFI = .997, GFI = .946, AGFI = .921, RMR=.011, RMSEA = .017) ตัวแบบมีความเที่ยงและความแม่นตรงโดยการวัดได้จากสถิติ CR และ AVE ซึ่งมีค่า 0.857 และ 0.750 ตามลำดับ ปัจจัยที่ส่งผลทางตรงต่อพฤติกรรมการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศประกอบไปด้วยปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์การใช้ระบบสารสนเทศที่ดิน การรับรู้ความง่ายของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดิน ทัศนคติที่มีต่อการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดิน แรงจูงใจในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดิน และได้รับปัจจัยอิทธิพลทางอ้อมมาจากปัจจัยการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดินที่เหมาะสมกับงาน และความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์กับงานระบบสารสนเทศที่ดิน ปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้นนำไปสู่การใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดิน ซึ่งตัวแปรต่างๆอธิบายค่าความแปรปรวนของอิทธิพลต่อการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ได้ที่ร้อยละ 75.8-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study factors influencing officers’ Land Information Technology acceptance for public service of the Department of Lands. This research’s sample was a group of 306 officers randomly drawn from 73 venues in the Department, who used the Lands Information System under the project of land information technology phase one. The tool used to collect the data was survey questionnaire. The collected data were analyzed by employing statistical techniques, ie., frequency, percentage, mean, standard deviation, factor analysis, and SEM (Structural Equeation Model). The results indicated that the causal relationships in the TAM, external factors affected information technology acceptance of the Department’s officers with a perfect model fit ( = 204.909 df= 189, P-value = .203, / =1.084, CFI = .997, GFI = .946, AGFI = .921, RMR=.011, RMSEA = .017). Reliability and validity of the model were satisfied through the measures of CR and AVE (0.857 and 0.750, respectively). The determinants that directly affected to Behavior intentions to use in land information technology were perceived usefulness in land information technology, perceived ease of use in land information technology, attitude toward using in land information technology and motivation in land information technology. The determinants that indirectly affected to behavior intentions to use in land information technology were task technology fit in land information technology and computer self efficacy in land information technology. All the factors led to actual use in information technology. The variables in the model accounted for 75.8 percent of the variance of the affected in actual use in information technology.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1181-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาการให้บริการประชาชน:กรณีศึกษาระบบสารสนเทศที่ดินของกรมที่ดิน-
dc.title.alternativeTHE INFORMATION TECHNOLOGY USAGE TO IMPROVE THE QUALITY OF PUBLIC SERVICE DELIVERY: A CASE STUDY OF THE DEPARTMENT OF LANDS’ LANDS INFORMATION SYSTEM-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineรัฐประศาสนศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorDamrong.W@Chula.ac.th,Damrong.W@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2017.1181-
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5780629024.pdf7.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.