Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60110
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorยศวีร์ สายฟ้า-
dc.contributor.authorสิริรักษ์ นักดนตรี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-09-14T06:07:20Z-
dc.date.available2018-09-14T06:07:20Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60110-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่การเรียนรู้อย่างมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 5 และเพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้อย่างมืออาชีพใช้กรอบแนวคิดภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามแนวคิดของBass and Avolio (1994) และกรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้อย่างมืออาชีพที่ได้จากการสังเคราะห์ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 55 คน ครู จำนวน 275 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและt–test เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถามการวิจัยเรื่อง“แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่ง การเรียนรู้อย่างมืออาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 5” จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ ฉบับสำหรับผู้บริหาร และฉบับสำหรับครู ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้อย่างมืออาชีพของผู้บริหารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 5 ตามมุมมองของผู้บริหารรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับดีเยี่ยม โดยด้านที่มีการปฏิบัติมากที่สุด คือ การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านที่มีการปฏิบัติน้อยที่สุด คือ การกระตุ้นทางปัญญา สำหรับตามมุมมองของครูผู้บริหารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 5 มีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้อย่างมืออาชีพในระดับดี โดยด้านที่มีการปฏิบัติมากที่สุด คือ การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านที่มีการปฏิบัติน้อยที่สุด คือ การสร้างแรงบันดาลใจ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อมูลสภาพภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้อย่างมืออาชีพของผู้บริหารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 5 ตามมุมมองของผู้บริหารและตามมุมมองของครูมีความสัมพันธ์เป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้อย่างมืออาชีพประกอบด้วย 1) ศึกษาวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนา 2) ประเมินสมรรถนะก่อนการพัฒนา 3) สร้างความเข้าใจและความตระหนักในความสำคัญของพัฒนา 4) ใช้วิธีการพัฒนาที่หลากหลาย 5) พัฒนาด้วยตนเอง 6) พัฒนาโดยสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้อย่างมืออาชีพด้วยระบบการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง 7) จัดอบรมพัฒนาเชิงปฏิบัติการ 8) กำกับติดตามผลการปฏิบัติงาน 9) จัดนิทรรศการหรือสัมมนานำเสนอผลการปฏิบัติงาน-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were 1) to study transformational leadership towards professional learning community of schools under secondary educational service office 5; 2) to present approaches for development of transformational leadership towards professional learning community of schools. The research Framework of transformational leadership by Bass and Avolio (1994) consisted of 1) Idealized Influence, 2) Inspirational Motivation, 3) Intellectual Stimulation, 4) Individualized Consideration and research framework of professional learning community by synthesis consisted of 1) Goals, vision, and the mission of school to development for student; 2) The Development Promotion of quality education that focusing on improving the quality of the students and teachers to be professional; 3) Promoting the participation of those involved, and working together as a team; 4) supervision, monitoring and evaluation towards professional learning community to reflect the performance. Instruments used were questionnaire. The sample were devired from the stratified random sampling method. Respondents, consisted of 55 administrators and 275 teachers. Statistics used for data analysis included frequency, percentage, average, standard deviation and t-test. The results of the study were as follows: (1) The state of transformational leadership towards professional learning community of schools under secondary educational service area office 5 according to the executives’ aspect was excellent. (2) The guideline to develop transformational leadership towards a Professional Learning Community consists of 1) studying and analyzing of the necessary in development, 2) assessing performance before development, 3) developing understanding and awareness of the importance of development, 4) using various development approaches, 5) self-development, 6) developing by building a professional learning community through method of advising and coaching, 7) organizing training and development workshop, 8) supervising and monitoring leader’s performance, 9) organizing exhibitions or seminars to present the performance.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1011-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้อย่างมืออาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 5-
dc.title.alternativeAPPROACHES FOR DEVELOPMENT OF TRANSFORMATIONAL LEADERSHIP TOWARDS PROFESSIONAL LEARNING COMMUNITY OF SCHOOLS UNDER SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 5-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorYotsawee.Sa@chula.ac.th,yotsawee.s@gmail.com-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2017.1011-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5883855027.pdf5.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.