Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60173
Title: นิเวศบริการของนาข้าวในอีสาน กรณีศึกษา: บ้านโพนงาม ต.โพนงาม อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม
Other Titles: ECOSYSTEM SERVICES OF PADDY FIELDS IN ISAN A CASE STUDY OF BAN PONNGAM, TAMBON PONNGAM, AMPHOE KOSUMPISAI, MAHASARAKHAM PROVINCE
Authors: สุภารักษ์ พงศ์เรืองฤทธิ์
Advisors: ดนัย ทายตะคุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Danai.Th@Chula.ac.th,Danai.Th@chula.ac.th
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาภูมินิเวศ พลวัตและนิเวศบริการของนาข้าว เพื่อทำความเข้าใจประโยชน์ของนาข้าวต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ รวมถึงเสนอแนวทางพัฒนาบนฐานทรัพยากรให้เกิดความยั่งยืนในชนบทต่อไป โดยดำเนินการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของพื้นที่บ้านโพนงาม ตำบลโพนงาม อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ร่วมกับวิธีการเก็บข้อมูลภาคสนาม โดยการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม เพื่อทราบถึงข้อมูลกิจกรรมที่เกิดขึ้น และการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อให้เห็นข้อแตกต่างในด้านนิเวศบริการของการทำนาปีและนาปรัง ผลการวิจัยพบว่าการทำนาทั้งสองรูปแบบมีกระบวนการและให้ผลด้านนิเวศบริการแตกต่างกัน โดยการทำนาปียังคงมีกระบวนการทำนาที่สอดคล้องกับพลวัตของภูมินิเวศแบบแห้งสลับเปียก ซึ่งรักษาความหลากหลายของนิเวศบริการต่อการดำรงชีวิตของชาวบ้าน แต่การทำนาปรังมีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำนาที่ไม่สอดคล้องกับพลวัตของภูมินิเวศ ทำให้ความหลากหลายของนิเวศบริการลดลง จึงสรุปได้ว่าการทำนาปีสอดคล้องกับพลวัตของภูมินิเวศ ให้ประโยชน์และนิเวศบริการที่หลากหลายต่อการดำรงชีวิตของชาวบ้านเมื่อเปรียบเทียบกับนาปรัง
Other Abstract: This research aims to study the landscape ecology, and ecological services of rice fields in order to explore the benefits of rice field towards human well-being and to propose the sustainable rural development guidelines. The study was conducted by collecting the site data, Ban Ponngam, Tambon Ponngam, Amphoe Kosumpisai Mahasarakham Province, site observation including participate and non-participate observation, and also interview to compare and identify differences of ecological services between rain fed paddy field and irrigated paddy field. It was found that both types of rice field are different in term of processes and ecological services. The process of rain fed paddy field harmonize with the dynamics of dry and wet landscape ecology which preserve the diversity of ecological services toward human livings. On the other hand, the process of irrigated paddy field does not harmonize with the dynamics of landscape ecology resulting the decrease of ecological service’s diversity. The conclusion is the rain fed paddy field, which harmonize with the dynamics of landscape ecology, provides more benefits and diversity of ecological services towards human living comparing to the irrigated paddy field.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภูมิสถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60173
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1177
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1177
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5973374025.pdf15.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.