Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6020
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอลิศรา ชูชาติ-
dc.contributor.authorธนาวุฒิ ลาตวงษ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-02-26T07:52:12Z-
dc.date.available2008-02-26T07:52:12Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9741424159-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6020-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ที่เรียนวิทยาศาสตร์ด้วยรูปแบบ SSCS 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ระหว่างกลุ่มที่เรียนวิทยาศาสตร์ด้วยรูปแบบ SSCS กับกลุ่มที่เรียนวิทยาศาสตร์การเรียนการสอนแบบปกติ 3) ศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มที่เรียนวิทยาศาสตร์ด้วยรูปแบบ SSCS และ 4) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ระหว่างกลุ่มที่เรียนวิทยาศาสตร์ด้วยรูปแบบ SSCS กับกลุ่มที่เรียนวิทยาศาสตร์ด้วยการเรียนการสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคการเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548 โรงเรียนปทุมรัตต์พิทยาคม อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 45 คน คือ กลุ่มทดลอง เป็นนักเรียนที่เรียนวิทยาศาสตร์ด้วยรูปแบบ SSCS และกลุ่มเปรียบเทียบเป็นนักเรียนที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์ด้วยการเรียนการสอนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ 1) แผนการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ด้วยรูปแบบ SSCS และ 2) แผนการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ด้วยการสอนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.84 และค่าความยากอยู่ระหว่า 0.45-0.80 และ 2) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา มีค่าความเที่ยง 0.79 และค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.47-0.80 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าเบี่ยงมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. หลังการทดลอง นักรียนกลุ่มทดลองที่เรียนวิทยาศาสตร์ด้วยรูปแบบ SSCS มีคะแนนเฉลี่ยสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์คิดเป็น 72.80% ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ 70% 2. หลังการทดลอง นักเรียนกลุ่มทดลองที่เรียนวิทยาศาสตร์ด้วยรูปแบบ SSCS มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ สูงกว่านักเรียนกลุ่มเปรียบเทียบที่เรียนวิทยาศาสตร์ด้วยการเรียนการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. หลังการทดลอง นักเรียนกลุ่มทดลองที่เรียนวิทยาศาสตร์ด้วยรูปแบบ SSCS มีความสามารถในการแก้ปัญหา สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. หลังการทดลอง นักเรียนกลุ่มทดลองที่เรียนวิทยาศาสตร์ด้วยรูปแบบ SSCS มีความสามารถในการแก้ปัญหา สูงกว่านักเรียนกลุ่มเปรียบเทียบที่เรียนวิทยาศาสตร์ด้วยการเรียนการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en
dc.description.abstractalternativeThis study was a quasi-experimental research. The purposes of the research were 1) to study the science learning achievement of students after learning science through SSCS instruction model 2) to compare science learning achievement of students between groups learning science through SSCS instruction model and learning science through the convention instruction method 3) to study the problem solving ability of students after learning science through SSCS instruction model and 4) to compare problem solving ability of students between groups learning science through SSCS instruction model and learning through the convention instruction method. The sample were mattayom suksa one students of Patumratpittayakorn school in Roi-et province in academic year 2005. The sample were divided into two groups with 45 students in each group: an experimental group which was learning science through SSCS instruction model and the comparative group which was learnig science through the convention instruction method. The research instruments were 1) science learning achievement test with reliability at 0.84 and difficulty levels was between 0.45-.080 and 2) problem solving ability test with reliability at 0.79 and difficulty levels was between 0.46-0,80. The collected data were analyzed by means of arithmetic mean, mean of percentage, standard deviation and t-test. The research findings were summarized as follows 1. After the experiment, the mean score of science learning achievement of the experimental group was 72.80% which was higher than the criterion score set at 70%. 2. After the experiment, an experimental group had mean score of science learning achievement higher than comparative group at .05 level of significance. 3. After the experiment, an experimental group had the mean score of problem solving ability higher than before the experiment at .05 level of significance. 4. After the experiment, an experimental group had the mean score of problem solving ability higher than a comparative group at .05 level of significance.en
dc.format.extent2639863 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2005.629-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectวิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)en
dc.subjectการแก้ปัญหาen
dc.subjectผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนen
dc.titleผลของการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ด้วยรูปแบบ เอสเอสซีเอส ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นen
dc.title.alternativeEffects of science instruction using SSCS model on learning achievment and problem solving ability of lower secondary school studentsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการศึกษาวิทยาศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorAlisara.C@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2005.629-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thanawuth_La.pdf2.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.