Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60222
Title: ปัจจัยเชิงสาเหตุของการนิเทศที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะครูที่สอนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาโครงการโรงเรียนประชารัฐ
Other Titles: CASUAL FACTORS OF EDUCATIONAL SUPERVISION INFLUENCING COMPETENCIESOF TEACHERS IN THE OPPORTUNITY EXPANSION SCHOOLSUNDER THE PRACHARATH SCHOOL PROJECT
Authors: มารุต ทรรศนากรกุล
Advisors: จุไรรัตน์ สุดรุ่ง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Jurairat.Su@Chula.ac.th,Jurairat.su@chula.ac.th
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาโมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยด้านการนิเทศที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะครู (2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยด้านการนิเทศที่มีต่อสมรรถนะครูกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (3) เพื่อวิเคราะห์ความหลากหลายของความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้านการนิเทศที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะครู ประชากร คือ ครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในโครงการโรงเรียนประชารัฐ จำนวน 21,812 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) จำนวน 1,040 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามจำนวน 1 ฉบับ มีทั้งหมด 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลด้านสถานภาพและสมรรถนะครู และตอนที่ 2 แบบสอบถามปัจจัยเชิงสาเหตุด้านการนิเทศ ในงานวิจัยนี้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติอนุมานและสถิติเชิงสรุปอ้างอิง การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) และโมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling) ซึ่งผู้วิจัยใช้โปรแกรม SPSS for Window และ R ร่วมกันในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการนิเทศ พฤติกรรมการนิเทศและกิจกรรมการนิเทศเป็นปัจจัยเชิงสาเหตุของการนิเทศที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะครูโดยสามารถนำมาสร้างเป็นโมเดลเชิงสาเหตุของการนิเทศและวิเคราะห์ความหลากหลายได้ 4 โมเดล ดังนี้ 1. โมเดลเชิงสาเหตุของรูปแบบการนิเทศแบบคลินิก มีรูปแบบการนิเทศเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อสมรรถนะครูสูงสุด (β = 0.44) รองลงมาเป็นพฤติกรรมการนิเทศ (β = 0.29) และกิจกรรมการนิเทศ (β = 0.21) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีความผันแปรร่วมกับสมรรถนะครูร้อยละ 77.4 2. โมเดลเชิงสาเหตุของรูปแบบการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ มีพฤติกรรมการนิเทศเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อสมรรถนะครูสูงสุด (β = 0.42) ตามด้วยกิจกรรมการนิเทศ (β = 0.26) และรูปแบบการนิเทศ (β = 0.25) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความผันแปรร่วมกับสมรรถนะครูร้อยละ 74.1 3. โมเดลเชิงสาเหตุของรูปแบบการนิเทศแบบพัฒนาตนเองมีรูปแบบการนิเทศ เป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อสมรรถนะครูสูงสุด (β = 0.79) รองลงมาเป็นกิจกรรมการนิเทศ (β = 0.26) และพฤติกรรมการนิเทศเป็นตัวแปรที่ส่งอิทธิพลต่อสมรรถนะครู (β = 0.02) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 และมีความผันแปรร่วมกับสมรรถนะครูร้อยละ 85.6 4. โมเดลเชิงสาเหตุของรูปแบบการนิเทศโดยผู้บริหาร มีรูปแบบการนิเทศโดยผู้บริหารเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อสมรรถนะครูสูงสุด (β =0.36) รองลงมาเป็นพฤติกรรมการนิเทศ (β = 0.302) และกิจกรรมการนิเทศ (β = 0.27) และมีความผันแปรร่วมกับสมรรถนะครูร้อยละ 85.6
Other Abstract: The objectives of this study were to 1) investigate the causal models of factors in educational supervision influencing teachers’ competencies; 2) examine the correlation between the models and the empirical evidence and 3) analyze the variation of causal relationships of educational supervision influencing teachers’ competencies. The population included 21,812 teachers in the opportunity expansion schools under the Pracharath School Projects, 1,040 of whom were selected as participants based on multi-stage random sampling. The research tool was a questionnaire divided into 2 parts: the first about the teachers’ status and competencies and the second about the causal factors of educational supervision. In addition to SPSS for Window and R, inferential statistics, reference statistics, confirmatory factor analysis and structural equation modeling were applied to analyze the data. The findings revealed that supervisory patterns, supervisory behaviors and supervisory activities were causal factors that influenced the teachers’ competencies; therefore, four causal models could be constructed as follows: 1.Clinical supervision model, in which supervisory patterns were the variables that directly influenced the teachers’ competencies most (β = 0.44) with statistical significance at .05, followed by supervisory behaviors (β = 0.29) and supervisory activities (β = 0.21). They were at variance with the teachers’ competencies at 77.4%. 2.Cooperative professional development supervision model, in which supervisory behaviors were the variables that directly influenced the teachers’ competencies most (β = 0.42) with statistical significance at .05, followed by supervisory activities (β = 0.26) and supervisory patterns (β = 0.25). They were at variance with the teachers’ competencies at 74.1%. 3. Self-directed supervision model, in which supervisory patterns were the variables that directly influenced the teachers’ competencies most (β = 0.79) with statistical significance at .05, followed by supervisory activities (β = 0.26) and supervisory behaviors(β=0.02). They were at variance with the teachers’ competencies at 85.6%. 4. Administrative supervision model, in which supervisory patterns conducted by administrators were the variables that directly influenced the teachers’ competencies most (β =0.36), followed by supervisory behaviors (β = 0.302) and supervisory activities (β = 0.27). They were at variance with the teachers’ competencies at 85.6%.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60222
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.893
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.893
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5983351127.pdf7.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.