Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6063
Title: | ผลของการใช้โปรแกรมป้องกันการคัดตึงเต้านมของมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตร |
Other Titles: | The effect of using the preventive breast engorgement program in postpartal cesarean delivery mothers |
Authors: | จิตราวรรณ คนเที่ยง |
Advisors: | สุกัญญา ประจุศิลป |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | sukunya.s@chula.ac.th, 79sukunya@usa.net |
Subjects: | การดูแลหลังคลอด ความสามารถในตนเอง พฤติกรรมสุขภาพ เต้านม -- การดูแลและสุขวิทยา |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาผลของการใช้โปรแกรมป้องกันการคัดตึงเต้านมของมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตร กลุ่มตัวอย่างคือ มารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรครรภ์แรก จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน โดยจับคู่ในด้านขนาดของเต้านม กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมป้องกันการคัดตึงเต้านม ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมปัองกันการคัดตึงเต้านม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามกรอบแนวคิดทฤษฏีการรับรู้ความสามารถของBandura (1997)เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินอาการและอาการแสดงของการคัดตึงเต้านม วิเคราะห์หาค่าความเที่ยงของเครื่องมือ โดยคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test statistic) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ อาการและอาการแสดงของการคัดตึงเต้านมของมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมป้องกันการคัดตึงเต้านมต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 |
Other Abstract: | Tested effectiveness of prevntive breast engorgement program in postpartal cesarean delivery mothers. Participants were 40 patients who were assigned to experimental and control group of 20 patients each. Groups were matched by size of breast. The experimental group received the preventive breast engorgement program, while the control group received routine nursing care.The reasearch instrument was developed by investigator and guided by the self-efficacy theory of Bandura (1997).The instrument for collection data was the Clincial Signs and Symptoms of Engorgement Questionaire. The reliability by Cronbach's alpha coefficient was .82. Data were analyzed using precentage, mean, standdard deviation and t-test statistic.Major finding were as follows: Signs and symptoms of breast engorgement in postpartal ceasarean delivery mothers in the experiment group who received the preventive breast engorgement program was significantly lower than those who received routive nursing care (p < .05) |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาบาลศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6063 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.526 |
ISBN: | 9741423349 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2005.526 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
chitrawan.pdf | 1.35 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.