Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60657
Title: การออกแบบเรขศิลป์สำหรับวัยเกษียณด้วยแนวความคิดเพลงสุนทราภรณ์  
Other Titles: Graphic design for retirement by the Suntharaporn songs concept
Authors: หัฐณัฐ นาคไพจิตร
Advisors: อารยะ ศรีกัลยาณบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Araya.S@Chula.ac.th
Subjects: การออกแบบกราฟิก
Graphic design
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงปัญหาและความต้องการของวัยเกษียณ  2) ศึกษาหลักการและข้อแนะนำพื้นฐานเพื่อการออกแบบเรขศิลป์สำหรับวัยเกษียณ 3) เพื่อกำหนดองค์ประกอบและหลักการออกแบบเรขศิลป์สำหรับวัยเกษียณ ด้วยแนวความคิดเพลงสุนทราภรณ์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้เชี่ยวชาญด้านระเบียบวิธีวิจัย ผู้เชี่ยวชาญด้านมนุษย์และสังคมศาสตร์ การสนทนากลุ่ม ระหว่างผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรี กับผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเรขศิลป์ การสนทนากลุ่มระหว่างกลุ่มเป้าหมายจำนวน 5 ท่าน และการใช้แบบสอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรี จำนวน 5 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเรขศิลป์ จำนวน 5 ท่าน และกลุ่มเป้าหมายจำนวน 5 ท่าน ใช้สถิติเชิงพรรณนา ในการบรรยายคุณลักษณะสิ่งที่ต้องการศึกษา ด้วยวิธีการรวมตัวแปร แล้วแจกแจงความถี่ และค่าร้อยละ แล้วทำการสรุปผลออกมาเป็นลำดับ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์งานวิจัยพบว่า 1) ปัญหาและความต้องการของวัยเกษียณ สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเด็น คือ 1.1 สุขภาพ  1.2 เศรษฐกิจ 1.3 สังคม  1.4 ที่อยู่อาศัย 2)  ข้อแนะนำพื้นฐานเพื่อการให้ข้อมูลสำหรับวัยเกษียณ ประกอบด้วย 2.1 ลักษณะของคอลัมน์ ที่เหมาะสมในการให้ข้อมูลสำหรับวัยเกษียณ คือ แบบ 1 คอลัมน์ และ 2 คอลัมน์ 2.2 ลักษณะขนาดของตัวอักษรที่เหมาะสมในการให้ข้อมูลสำหรับวัยเกษียณ คือ ขนาด 16 พอยต์ และ 18 พอยต์ 3) แนวทางการออกแบบเรขศิลป์สำหรับวัยเกษียณ 3.1 ประเด็นเรื่องสุขภาพ สามารถระบุองค์ประกอบและหลักการ ได้ดังนี้ รูปทรงอินทรียรูป ภาพกราฟิกเวกเตอร์ และสีน้ำ ภาพแอนิเมชั่น ภาพการ์ตูน ภาพแฟนตาซี ภาพแสดงอารมณ์ขัน ภาพถ่ายสวยงาม ภาพถ่ายเรียบง่าย ภาพมุมมองที่แปลกตา สมดุลสมมาตร ตัวพิมพ์ลักษณะตัวพาดหัว 1 แบบ ตัวพิมพ์ลักษณะตัวเนื้อเรื่อง 1 แบบ เส้นโค้ง Analogous Color Scheme, Rectangle or Tetradic Color Scheme, Vivid, Bright, Subdued 3.2 ประเด็นเรื่องเศรษฐกิจ สามารถระบุองค์ประกอบและหลักการ ได้ดังนี้ รูปทรงเรขาคณิต รูปทรงอปกติ รูปทรงอิสระ ภาพกราฟิกเวกเตอร์ ภาพแอนิเมชั่น ภาพการ์ตูน ภาพที่สื่อความหมายของคำพาดหัว ภาพเรขาคณิต ภาพถ่ายสวยงาม ภาพถ่ายเรียบง่าย ภาพเหนือจริง ภาพสัญลักษณ์ ภาพอุปมาอุปมัยและการเล่นสำนวน สมดุลสมมาตร ตัวพิมพ์ลักษณะตัวพาดหัว 2 แบบ ลักษณะตัวเนื้อเรื่อง 1 แบบ เส้นโค้ง Split Complementary Color Scheme, Vivid, Bright 3.3 ประเด็นเรื่องสังคม สามารถระบุองค์ประกอบและหลักการ ได้ดังนี้ รูปทรงอปกติ รูปทรงอิสระ ภาพกราฟิกเวกเตอร์ ภาพเหนือจริง ภาพอุปมาอุปมัยและการเล่นสำนวน สมดุลสมมาตร ตัวพิมพ์ลักษณะตัวพาดหัว 1 แบบ ตัวพิมพ์ลักษณะตัวเนื้อเรื่อง 1 แบบ เส้นโค้ง Monochromatic Color Scheme, Analogous Color Scheme, Rectangle or Tetradic Color Scheme, Vivid, Bright, Subdued 3.4 ประเด็นเรื่องที่อยู่อาศัย สามารถระบุองค์ประกอบและหลักการ ได้ดังนี้ รูปทรงอินทรียรูป ภาพกราฟิกเวกเตอร์ และภาพสีน้ำ ภาพแอนิเมชั่น ภาพการ์ตูน ภาพแฟนตาซี ภาพแสดงอารมณ์ขัน ภาพถ่ายสวยงาม ภาพถ่ายเรียบง่าย ภาพมุมมองที่แปลกตา สมดุลสมมาตร ตัวพิมพ์ลักษณะตัวพาดหัว 1 แบบ ตัวพิมพ์ลักษณะตัวเนื้อเรื่อง 1 แบบ เส้นโค้ง Monochromatic Color Scheme, Analogous Color Scheme, Bright, Subdued 
Other Abstract: The objectives of the study are 1) to examine the problems and the needs of the retirees, 2) to explore basic principles and guidelines of graphic design for the retirees and 3) to determine the elements and principles of graphic design for the retirees, based on Suntharaporn songs. The study is conducted by using mixed methods, which include in-depth interviews of research methodology expert and humanities and social sciences expert, focus group discussions between music expert and graphic design expert, focus group discussions among 5 people from the target group and questionnaires for 5 music experts, 5 graphic design experts and 5 people from the target group.  Descriptive statistics is also applied to describe the studied topics, starting from variable collection, frequency and percentage declaration to result conclusion respectively.  The results from data analysis are shown below.      1)  Problems and needs of the retirees can be categorized into 4 issues           1.1 Health 1.2 Economy 1.3 Society 1.4 Residence      2)  Basic principles and guidelines           2.1 Column styles appropriate for graphic design for the retirees are 1 column and 2 columns.           2.2 Font sizes appropriate for graphic design for the retirees are 16 point and 18 point.      3) Elements and Principles           3.1 Regarding health issue, elements and principles are as follows.           Organic form, graphic / vector, water color, animation, cartoon, fantasy, humor, outstanding photograph, simplification, unusual view, symmetrical balance, headline 1 font style, text 1 font style, curved line, analogous color scheme, rectangle or tetradic color scheme, vivid, bright, subdued.           3.2 Regarding economy issue, elements and principles are as follows.           Geometric form, irregular form, hand-drawn form, graphic / vector, animation, cartoon, association, geometric design, outstanding photograph, simplification, surrealism, symbol combination, visual puns, symmetrical balance, headline 2 font styles, text 1 font style, curved line, split complementary color scheme, vivid and bright.           3.3 Regarding society issue, elements and principles are as follows.           Irregular form, hand-drawn form, graphic / vector, surrealism, visual puns, symmetrical balance, headline 1 font style, text 1 font style, curved line, monochromatic color scheme, analogous color scheme, rectangle or tetradic color scheme, vivid, bright, subdued.           3.4 Regarding residence issue, elements and principles are as follows.           Organic form, graphic / vector, water color, animation, cartoon, fantasy, humor, outstanding photograph, simplification, unusual view, symmetrical balance, headline 1 font style, text 1 font style, curved line, monochromatic color scheme, analogous color scheme, rectangle or tetradic color scheme, vivid, bright, subdued. 
Description: วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ศิลปกรรมศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60657
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1479
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1479
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5786830835.pdf12.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.