Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60836
Title: การเพิ่มมูลค่าแร่โดโลไมต์โดยวิธีแคลซิเนชั่น กรณีศึกษาเหมืองศิลาชัย ประเทศไทย
Other Titles: Value added of dolomite by calcination method : a case study of Silachai Mine, Thailand
Authors: ธิดารัตน์ มีคช
Advisors: สมศักดิ์ สายสินธุ์ชัย
เพ็ชรพร เชาวกิจเจริญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Subjects: โดโลไมต์
Dolomite
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: แร่โดโลไมต์เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจมากอย่างหนึ่งที่มีประโยชน์ในงานอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมเซรามิก แต่ส่วนใหญ่จะใช้ในงานอุตสาหกรรมก่อสร้างซึ่งมีมูลค่าไม่สูงมากนัก แต่สำหรับอุตสาหกรรมบางประเภทได้มีการนำแมกนีเซียมออกไซด์ที่อยู่ในแร่โดโลไมต์ซึ่งเป็นองค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญมากมาใช้ประโยชน์ เนื่องจากว่าแร่โดโลต์นั้นจะมีค่าแมกนีเซียมคาร์บอเนตอยู่ร้อยละ 45.65 แต่ในธรรมชาติแร่โดโลไมต์ที่พบมักมีค่าแมกนีเซียมคาร์บอเนตน้อยกว่านี้เสมอ การวิจัยครั้งนี้จึงมีแนวคิดที่จะเพิ่มมูลค่าแร่โดโลไมต์ โดยวัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ คือ การศึกษาหาขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง และอุณหภูมิที่เหมาะสมในกระบวนการแคลซิเนชั่นของตัวอย่างแร่โดโลไมต์ ตัวอย่างแร่โดโลไมต์ที่ใช้ในการศึกษานี้นำมาจากบริษัท ศิลาชัยสุราษฎร์ จำกัด จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประเทศไทย ในการทดลองจะนำตัวอย่างแร่โดโลไมต์ของพื้นที่เอ และพื้นที่บีขนาด 25  50 และ 75 มิลลิเมตร มาผ่านกระบวนการแคลซิเนชั่นที่อุณหภูมิ 1,000  1,100 และ 1,200 องศาเซลเซียส ตามเวลาที่กำหนด จากนั้นจะนำตัวอย่างแร่โดโลไมต์ไปวิเคราะห์เพื่อหาองค์ประกอบทางเคมี และค่าการสูญเสียน้ำหนักของการเผาไหม้โดยใช้เครื่องเอกซเรย์ฟลูออเรสเซนต์ จากผลการศึกษาพบว่าตัวอย่างแร่โดโลไมต์ก่อนเผาจะมีค่าแคลเซียมออกไซด์ร้อยละ 37  ค่าแมกนีเซียมออกไซด์ร้อยละ 14 และค่าการสูญเสียน้ำหนักของการเผาไหม้ร้อยละ 47  และเมื่อเผาเสร็จแล้วตัวอย่างแร่โดโลไมต์หลังเผาจะมีค่าแคลเซียมออกไซด์มากกว่าร้อยละ 54  ค่าแมกนีเซียมออกไซด์มากกว่าร้อยละ 26 และค่าการสูญเสียน้ำหนักของการเผาไหม้น้อยกว่าร้อยละ 19  และยังพบว่าตัวอย่างแร่โดโลไมต์ของพื้นที่บีหลังเผาที่ขนาด 75 มิลลิเมตร อุณหภูมิ 1,200 องศาเซลเซียส เวลา 2 ชั่วโมง มีค่าแคลเซียมออกไซด์สูงสุดร้อยละ 60.22 ค่าแมกนีเซียมออกไซด์สูงสุดร้อยละ 37.64 และค่าการสูญเสียน้ำหนักของการเผาไหม้น้อยสุดร้อยละ 1.82  ถือว่าเป็นสภาวะที่เหมาะสมในกระบวนการแคลซิเนชั่นของการวิจัยในครั้งนี้ เนื่องจากค่าแมกนีเซียมออกไซด์ที่เป็นองค์ประกอบหลักทางเคมีของแร่โดโลไมต์มีค่าสูงกว่าร้อยละ 35  และค่าการสูญเสียน้ำหนักของการเผาไหม้น้อยกว่าร้อยละ 6  ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่าวิธีแคลซิเนชั่นสามารถเพิ่มมูลค่าแร่โดโลไมต์ได้จริงเมื่อทำการเผาที่อุณหภูมิสูง นอกจากนี้ยังสามารถนำไปวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์โดยการใช้แบบจำลองการคิดลดกระแสเงินสดเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการเพิ่มมูลค่าแร่โดโลไมต์ อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจในการลงทุน และเป็นแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพของแหล่งแร่โดโลไมต์อื่นๆ ในประเทศไทยต่อไป
Other Abstract: Dolomite is useful economical resource in many industries such as agricultural, steel, ceramics industries. Some industries use magnesium oxide which is the important component in dolomite. Naturally, dolomite has magnesium carbonate less than 45.65 percent thus this research focus on improvement of dolomite values. The objective of this research is to find an optimum condition for calcination process by varying the dolomite diameter and temperature. Dolomite sample using in this research obtained from Silachai Surat Co., Ltd., Surat thani province, Thailand. The experiment was carry out by using dolomite (25, 50 and 75 mm. diameter) obtained from area A and B. Samples were taken to calcination process at temperature of 1,000, 1,100 and 1,200 degree Celsius. After calcine, the dolomite was analyzed of it is chemical compositions and loss on ignition by x–ray fluorescent. The results indicated that pre-calcination of dolomite sample had 37, 14 and 47 percent of calcium oxide, magnesium oxide and loss on ignition, respectively. Post–calcination dolomite sample had calcium oxide and magnesium oxide composition higher than 54 and 26 percent and loss on ignition less than 19 percent. Moreover, the post–calcination dolomite sample (75 mm. diameter) of area B at the calcination temperature of 1,200 degree Celsius and at duration of 2 hours had maximum calcium oxide composition of 60.22 percent, maximum magnesium oxide composition of 37.64 percent and minimum loss on ignition of 1.82 percent. The aforementioned condition was suitable for calcination process in this research because magnesium oxide composition of dolomite was exceed the value of 35 percent and loss of ignition less than 6. These results indicated that calcination at high temperature was able to increase dolomite values. Economic analysis by discounted cash flow was executed for investigation feasibility of dolomite values improvement, investment decision and guideline of other dolomite sources of Thailand.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมทรัพยากรธรณี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60836
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1345
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1345
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5670227621.pdf8.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.