Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60855
Title: การประเมินสมรรถนะในการควบคุมกล้ามเนื้อมัดเล็กที่ใช้เขียนของนักเรียนรอบเหมืองแร่ทองคำโดยใช้หลักการของฟิตส์และสเตียริง
Other Titles: A performance evaluation of fine mortor control for writing of student around a gold mining based on Fitts and Steering’s law
Authors: ภาณุพงศ์ ทองประสิทธิ์
Advisors: ไพโรจน์ ลดาวิจิตรกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Subjects: พัฒนาการของเด็ก
มือ -- กล้ามเนื้อ
Child development
Hand -- Muscles
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเด็กระดับประถมศึกษา เมื่อเด็กนักเรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมโดยเฉพาะอย่างยิ่งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนสารเคมีสู่สิ่งแวดล้อมส่งผลให้พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กหยุดชะงักลงได้ จึงได้ทำการศึกษาเปรียบเทียสมรรถนะกล้ามเนื้อมัดเล็กที่ใช้ในการเขียนด้วยปากกาดิจิตอลบนแท็บเล็ตของนักเรียนอายุ 9-12 ปี ที่อาศัยอยู่ในบริเวณรอบเหมืองทองคำ จำนวน 116 คน และที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 68 คน ตามแนวทางมาตรฐาน ISO 9241-9 ทำการวิจัยการทำงานตามกฎของฟิตส์สำหรับงานแตะและสเตียริงสำหรับงานลาก จากผลการวิจัยพบว่าค่าสมรรถนะเฉลี่ยของงานลากของนักเรียนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครสอดคล้องตามพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดเล็กตามช่วงอายุที่เพิ่มขึ้น ในทางกลับกันค่าสมรรถนะเฉลี่ยของนักเรียนที่อาศัยอยู่ในบริเวณรอบเหมืองทองคำการทำงานแตะและลากไม่สอดคล้องกับพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดเล็ก จากค่าสถิติยังพบว่าระยะเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของดัชนีความยากของงานทั้ง 3 ดัชนี ของนักเรียนทั้งการทำงานแตะและลากสามารถแสดงถึงความผิดปกติของสมรรถนะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กในการเขียนเบื้องต้นได้  นอกจากนี้ทำการแบ่งกลุ่มนักเรียนจากระยะเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของดัชนีความยากของงานต่ำกับค่าสมรรถนะของนักเรียน พบว่าเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของระดับดัชนีความยากของงานสูงและค่าสมรรถนะสำหรับการทำงานลากของนักเรียนบางกลุ่มสามารถใช้ตรวจสอบความสัมพันธ์ของปริมาณสารเคมีที่สะสมในร่างกายได้
Other Abstract: The development of the fine motor is important to the growth of students in primary school. When the students live in the environment which is particularly contaminated by chemical substances, their fine motor is affected to stop developing. The research compared the performance of the fine motor by digital pen writing on the tablets of the  9-12-year-old students: 116 students living around the mine gold and 68 living in Bangkok; regarding to ISO 9241-9 standard. The research applied Fitts’ Law for tapping test, as well as Steering Law for dragging test. The experimental results showed that the average index of performance of dragging test in Bangkok students is consistent with the growth of fine motor as increasing age. Meanwhile, the average index of performance of dragging and tapping in students living around the gold mine is not consistent with the development of their fine motor. Furthermore, the statistic shows that the movement time of the 3 indexes of difficulty in dragging and tapping of the students can initially show the abnormality of the performance to use the fine motor through writing. Additionally, the experiment grouped the students from the movement time of the difficulty in low level with their performances found that the movement time of the index of difficulty is high, and the dragging performance of some groups of the students can be referred to investigate the relation of the quantity of chemicals stored in human body.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60855
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1441
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1441
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5870217521.pdf5.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.