Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60874
Title: | Effect of combinations of emblica officinalis extract, achras sapota extract and silymarin on in vitro anti-aging activities |
Other Titles: | ผลของสารผสมสารสกัดมะขามป้อม สารสกัดละมุด และซิลิมารินต่อฤทธิ์การชะลอวัยแบบนอกกาย |
Authors: | Sirinya Pientaweeratch |
Advisors: | Vipaporn Panapisal Anyarporn Tansirikongkol |
Other author: | Chulalongkorn University. Faculty of Pharmaceutical Sciences |
Subjects: | Aging -- Prevention Plant extracts Antioxidants สารสกัดจากพืช การชะลอวัย แอนติออกซิแดนท์ |
Issue Date: | 2014 |
Publisher: | Chulalongkorn University |
Abstract: | Since skin aging is an unavoidable condition involving several pathways, a combination of extracts in skincare product to alleviate the skin aging and improve skin condition becomes common. However, there are a few reports that showed the influence of combined extracts on their biological activities. This study aims to investigate an effect of combined extracts on their antioxidant, anti-collagenase and anti-elastase activity when compares with each individual extracts. Ethanolic amla (Emblica officinalis) extract, ethanolic sapota (Achras sapota) extract and silymarin were individually screened for antioxidant, anti-collagenase and anti-elastase properties as well as were quantified for their total phenolic content and total flavonoid content. The antioxidant capacity was evaluated by colorimetric methods. The effects of MMP-1, MMP-2 and elastase inhibitions were determined by using the gelatinase/collagenase and elastase assay kits (EnzChek®). The quantities of phenolic and flavonoid compounds were determined by Folin-Ciocalteu and aluminium chloride colorimetric methods, respectively. Two extracts were chosen from their superior activities on for anti-oxidant, anti-collagenase and anti-elastase and were used in the combination study. The effect of combination was reported as combination index (CI) and categorized into three types: synergism (CI < 1), additive (CI = 1) or antagonism effects (CI > 1), respectively. The reference combination index was calculated at the median effect. Regarding to antioxidant activity, ethanolic amla extract showed the most potent activity with IC50 values of 1.61 ± 0.04 μg/mL. While ethanolic sapota showed the highest inhibitions on collagenase and elastase with IC50 of 86.47 ± 3.04 μg/mL and 35.73 ± 0.61 μg/mL, respectively. Therefore, amla and sapota were combined at different combination ratios. The combination index at median effect was revealed additive effect (CI = 1.00 ± 0.02) on anti-oxidant activity. But the amla and sapota combinations exhibited synergist effects on inhibitions of MMP-1 (CI = 0.79 ± 0.02) and MMP-2 (CI = 0.58 ± 0.02) and elastase (CI = 0.76 ± 0.04). Surprisingly, the elastase inhibitions of the combination at concentration other than the median point, antagonist effect could be observed at particular combination ratios. For the elastase inhibition, the effects could be synergist or antagonist depending on the combination ratios. In conclusion, combining extracts or actives could have an influence on the biological activities. Some activities showed additive effect presenting no advantage over usage of single extract while some showed synergist effect demonstrating some advantages. The importance of combination ratios was seen for anti-elastase activity but not for others; therefore, some special tests may be required at earlier stage of product development. |
Other Abstract: | ผิวที่ขาดความยืดหยุ่น และมีริ้วรอย เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และเกิดผ่านกลไกที่ซับซ้อน มากมาย ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวต่างๆ ที่มีส่วนผสมของสารสกัดหลายตัว เพื่อชะลอวัยและปรับเปลี่ยนสภาพผิว ได้ถูกพัฒนาขึ้นอย่างมายมายหลากหลาย อย่างไรก็ตามรายงานเกี่ยวกับผลของการผสมสารสกัดต่อฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดยังมีจำนวนจำกัด ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลกระทบของการผสมสารสกัดต่อฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านเอมไซม์คอนลาจิเนส และฤทธิ์ต้านเอนไซม์อิลาสเทส เปรียบเทียบกับฤทธิ์ของสารสกัดเดี่ยว สารสกัดเอทานอลของผลมะขามป้อม สารสกัดเอทานอลของผลละมุด และซิลิมาริน สารสกัดเดี่ยวแต่ละชนิดถูกนำมาทดสอบกลั่นกรองฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านเอมไซม์คอนลาจิเนส และฤทธิ์ต้านเอนไซม์อิลาสเทส รวมถึงการหาปริมาณรวมของสารฟินอลิคและฟลาโวนอยด์ ฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระทำการประเมินโดยวิธีวัดการเปลี่ยนแปลงสี สำหรับการประเมินฤทธิ์ต้านคอนลาจิเนส ทั้ง MMP-1, MMP-2 และฤทธิ์ต้าน อีลาสเทส ทำการทดสอบโดยใช้ชุดทดสอบ EnzChek® การวิเคราะห์ปริมาณรวมของสารฟินอลิคและฟลาโวนอยด์ ทดสอบได้ด้วยวิธีวัดการเปลี่ยนแปลงสีของการทำปฏิกิริยาระหว่างสารสกัดกับสารละลาย Folin-Ciocalteu และอลูมิเนียมคลอไรด์ ตามลำดับ สารสกัด 2 ชนิดจะถูกคัดเลือกโดยพิจารณาจากฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านเอนไซม์คอนลาจิเนส และฤทธิ์ต้านเอนไซม์อีลาสเทส และนำมาศึกษาผลกระทบจากการผสมสารสกัดทั้งสองเข้าด้วยกัน ซึ่งรายงานผลเป็นค่าดัชนีการผสมสาร หรือ CI ซึ่งถูกจัดแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ CI < 1 การเสริมฤทธิ์, CI = 1 การรวมฤทธิ์ และ CI > 1 การต้านฤทธิ์ ค่าอ้างอิง CI คำนวณจากค่ากลางผลตอบสนอง เมื่อกล่าวถึงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ สารสกัดเอทานอลของผลมะขามป้อมแสดงฤทธิ์สูงที่สุดด้วยค่า IC50 เท่ากับ 1.61 ± 0.04 ไมโครกรัม / มิลลิลิตร ในขณะที่สารสกัดเอทานอลของผลละมุดแสดงฤทธิ์ต้านเอนไซม์คอนลาจิเนสและอีลาสเทสสูงที่สุด ด้วยค่า IC50 เท่ากับ 86.47 ± 3.04 ไมโครกรัม / มิลลิลิตรและ 35.73 ± 0.61 ไมโครกรัม / มิลลิลิตร ตามลำดับ ดังนั้นจึงนำสารสกัดมะขามป้อมและละมุดมาผสมกันที่อัตราส่วนต่างๆกัน ค่าอ้างอิง CI ที่คำนวณจากค่ากลางผลตอบสนองสำหรับฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระแสดงผลกระทบจากการผสมเป็นการรวมฤทธิ์ ด้วยค่า CI เท่ากับ 1.00 ± 0.02 แต่สารผสมสารสกัดมะขามป้อมและละมุดแสดงผลกระทบจากการผสมเป็นการเสริมฤทธิ์ต้านคอนลาจิเนส MMP-1 ด้วยค่า CI เท่ากับ 0.79 ± 0.02 และ MMP-2 ด้วยค่า CI เท่ากับ 0.58 ± 0.02 และฤทธิ์ต้านเอนไซม์อีลาสเทส ด้วยค่า CI เท่ากับ 0.76 ± 0.04 เป็นที่น่าแปลกใจเกี่ยวกับฤทธิ์ต้านเอนไซม์อีลาสเทสของสารผสมที่ความเข้มข้นนอกเหนือจากที่ค่ากลางผลตอบสนอง ผลกระทบจากการผสมสามารถปรากฏเป็นการต้านฤทธิ์ที่อัตราส่วนของสารผสมหนึ่งๆ สำหรับฤทธิ์ต้านเอนไซม์อีลาสเทส ผลกระทบจากการผสมอาจเป็นได้ทั้งการเสริมฤทธิ์และการต้านฤทธิ์ขึ้นอยู่กับอัตราส่วนของสารผสม โดยสรุป คือ การผสมสารสกัดหรือสารสำคัญสามารถมีอิทธิพลต่อฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัด บ้างแสดงผลเป็นการรวมฤทธิ์ โดยไม่มีประโยชน์เหนือกว่าการใช้สารสกัดเดี่ยว ในขณะที่บ้างแสดงผลเป็นการเสริมฤทธิ์ซึ่งได้รับประโยชน์จากการผสม อัตราของสารผสมแสดงความสำคัญต่อฤทธิ์ต้านเอมไซม์อีลาสเทส แต่กลับไม่ปรากฏต่อฤทธิ์อื่นๆ ดังนั้น การศึกษาจำเพาะบางประเภทอาจมีความจำเป็นในระยะต้นๆของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ |
Description: | Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2014 |
Degree Name: | Master of Science in Pharmacy Program |
Degree Level: | Master's Degree |
Degree Discipline: | Pharmaceutical Technology |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60874 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1449 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.1449 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pharm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5576357533.pdf | 3.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.