Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60883
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ธิติมา วัฒนวิจิตรกุล | - |
dc.contributor.author | บุษยา เดชปั้น | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2018-12-03T03:05:46Z | - |
dc.date.available | 2018-12-03T03:05:46Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60883 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 | - |
dc.description.abstract | ยาทางเลือกสำหรับอซีเนโตแบคเตอร์ บอมมานิไอ ที่ดื้อต่อยาต้านจุลชีพหลายขนาน (Multidrug resistant Acinetobacter baumannii, MDRAB) มีจำกัด ผลการทดสอบความไวของเชื้อที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ พบว่า MDRAB ดื้อต่อยาหลายกลุ่มแต่ยังไวต่อยาไทเกซัยคลินและยาโคลิสติน การศึกษานี้มี 2 ส่วน ส่วนที่ 1 เป็นการศึกษาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลังเพื่อเปรียบเทียบการรักษาโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อ MDRAB ระหว่างการรักษาด้วยแบบแผนที่มียาไทเกซัยคลินกับแบบแผนที่มียาโคลิสติน รวมทั้งศึกษาปัจจัยทำนายการเสียชีวิตภายใน 30 วัน ส่วนที่ 2 เป็นการศึกษาไปข้างหน้าเพื่อติดตามประเมินผลการรักษาของแบบแผนที่ให้ผลการรักษาที่ดีกว่าจากผลการศึกษาในส่วนที่ 1 วิธีการดำเนินงานวิจัย: ส่วนที่ 1 เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่ได้รับยาไทเกซัยคลินหรือยาโคลิสติน เพื่อรักษาโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อ MDRAB ติดต่อกันอย่างน้อย 3 วัน ณ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ ระหว่าง 1 มกราคม พ.ศ. 2555 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 โดยเปรียบเทียบอัตราการเสียชีวิตภายใน 30 วัน อัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาล อาการแสดงทางคลินิกที่ดีขึ้น การเกิดภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลัน การเกิดภาวะตับบาดเจ็บระหว่างได้รับการรักษา วิเคราะห์ปัจจัยที่อาจมีผลต่อการเสียชีวิตภายใน 30 วัน ของผู้ป่วยปอดอักเสบจากการติดเชื้อ MDRAB โดยใช้สถิติการถดถอยโลจิสติก และส่วนที่ 2 เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาเก็บข้อมูลไปข้างหน้า ระหว่างเดือน กันยายน ถึง ตุลาคม พ.ศ. 2560 ติดตามอัตราการเสียชีวิตภายใน 30 วัน อัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาล อาการแสดงทางคลินิกที่ดีขึ้น และการเกิดภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลัน และการเกิดภาวะตับบาดเจ็บระหว่างได้รับการรักษาของแบบแผนที่ให้ผลการรักษาที่ดีกว่าจากผลการศึกษาในส่วนที่ 1 ผลการวิจัย: ส่วนที่ 1 ผู้ป่วยที่ผ่านเกณฑ์คัดเลือก 264 ราย อายุ 65 ปี (พิสัยควอไทล์ 51-77 ปี) เป็นเพศชายร้อยละ 61.0 จำแนกผู้ป่วยตามแบบแผนของยาที่ได้รับ ได้แก่ แบบแผนที่มียาไทเกซัยคลิน (66 ราย) แบบแผนที่มียาโคลิสติน (85 ราย) และแบบแผนที่มียาไทเกซัยคลินร่วมกับยาโคลิสติน (113 ราย) พบอัตราการเสียชีวิตภายใน 30 วัน ร้อยละ 62.1, 45.9 และ 58.4 (p>0.05) อัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลร้อยละ 54.5, 47.1 และ 58.4 (p>0.05) อาการแสดงทางคลินิกที่ดีขึ้นร้อยละ 40.9, 47.1 และ 41.6 (p>0.05) พบภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลันร้อยละ 15.2, 47.1 และ 58.4 (p<0.05) ภาวะตับบาดเจ็บร้อยละ 16.7, 5.9 และ 7.1 ตามลำดับ (p<0.05) จากการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกพบปัจจัยทำนายการเสียชีวิตภายใน 30 วัน คือ septic shock (OR, 3.113; 95% CI, 1.813-5.344) การได้รับการรักษาด้วยแบบแผนที่มียาไทเกซัยคลิน (OR, 2.830; 95% CI, 1.332-6.014) ภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลัน (OR, 2.296; 95% CI, 1.289-4.091) การมี Charlson Comorbidity Index (CCI) 5 คะแนนขึ้นไป (OR, 1.984; 95% CI, 1.018-3.869) และอายุ 60 ปีขึ้นไป (OR, 1.774; 95% CI, 1.036-3.037) ส่วนที่ 2 ผู้ป่วย 30 ราย ได้รับแบบแผนที่มียาโคลิสติน อายุเฉลี่ย 66±13 ปี มีอัตราการเสียชีวิตภายใน 30 วัน ร้อยละ 46.7 อัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลร้อยละ 46.7 อาการแสดงทางคลินิกที่ดีขึ้นร้อยละ 66.7 พบภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลันร้อยละ 73.3 และผู้ป่วยที่เกิดภาวะตับบาดเจ็บร้อยละ 0 สรุป: จากการศึกษาย้อนหลังพบผู้ป่วยปอดอักเสบจากการติดเชื้อ MDRAB ที่ได้รับแบบแผนที่มียาโคลิสติน มีอัตราการเสียชีวิตภายใน 30 วัน ต่ำกว่ากลุ่มที่มียาไทเกซัยคลิน ปัจจัยทำนายการเสียชีวิตภายใน 30 วัน ได้แก่ septic shock การได้รับการรักษาด้วยแบบแผนที่มียาไทเกซัยคลิน ภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลัน การมี CCI 5 คะแนนขึ้นไป และอายุ 60 ปีขึ้นไป การศึกษาแบบไปข้างหน้ายืนยันผลการรักษาที่ดีจากแบบแผนที่มียาโคลิสติน ทั้งนี้ควรติดตามการทำงานของไตอย่างใกล้ชิด | - |
dc.description.abstractalternative | Treatment options for multidrug resistant Acinetobacter baumannii (MDRAB) are very limited. Sawanpracharak hospital drug susceptibility test showed that most MDRAB were resistant to multiple antibiotic classes, but remained susceptible to colistin and tigecycline. There were 2 parts in this study. Part I, a retrospective study, aimed to compare treatment outcomes during treatment with tigecycline or colistin. Predictors of 30-day mortality were also identified. Then the regimen with better treatment outcomes was evaluated in a prospective manner in Part II. Methods: Part I is a retrospective analytical study conducted in adult patients with MDRAB pneumonia treatment with tigecycline or colistin for more than 3 consecutive days between 1 January 2012 and 31 December 2015 at Sawanpracharak hospital. Thirty-day mortality rate, hospital mortality rate, clinical improvement, acute kidney injury and drug-induced liver injury were compared. Predictors of 30-day mortality were analysed by logistic regression. Part II is a prospective descriptive study between September and October 2017 to evaluate the regimen with better treatment outcomes in terms of 30-day mortality rate, hospital mortality rate, clinical improvement, acute kidney injury and drug-induced liver injury. Results: Part I. There were 264 patients (61% male) met inclusion criteria. The median age was 65 years (IQR 51-77 years). Patients were categorized into three groups: tigecycline-based (n=66), colistin-based (n=85) and tigecycline-colistin combination (n=113). The 30-day mortality rates were 62.1%, 45.9% and 58.4% (p>0.05), hospital mortality rates were 54.5%, 47.1% and 58.4% (p>0.05), rates of clinical improvement 40.9%, 47.1 % and 41.6% (p>0.05), acute kidney injury 15.2%, 47.1% and 58.4% (p<0.05) and liver injury 16.7%, 5.9% and 7.1% (p<0.05), respectively. Logistic regression analysis identified septic shock (OR 3.113; 95% CI 1.813-5.344), tigecycline-based regimen (OR 2.830; 95% CI 1.332-6.014), acute kidney injury (OR 2.296; 95% CI 1.289-4.091), Charlson Comorbidity Index (CCI) ≥ 5 (OR 1.984; 95% CI 1.018-3.869) and age ≥ 60 years (OR 1.774; 95% CI 1.036-3.037) as predictors of 30-day mortality. Part II. There were 30 patients received colistin-based. The mean age was 66±13 years. The 30-day mortality rate were 46.7%, hospital mortality rate were 46.7%, clinical improvement was 66.7% acute kidney injury was 73.3% and liver injury was 0%. Conclusion: Patients with MDRAB pneumonia receiving colistin-based regimen had a lower 30-day mortality rate than those receiving tigecycline-based regimen. Predictors of 30-day mortality included septic shock, tigecycline-based regimen, acute kidney injury, CCI ≥ 5 and age ≥ 60 years. Prospective study confirmed that colistin-based is an appropriate treatment for patients with MDRAB pneumonia and their renal function during should be monitored closely. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.645 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | ปอดอักเสบ -- การรักษาด้วยยา | - |
dc.subject | การดื้อยาหลายชนิด | - |
dc.subject | Pneumonia | - |
dc.subject | Multidrug resistance | - |
dc.title | ผลลัพธ์ของการรักษาด้วยยาไทเกซัยคลินและโคลิสติน ในการรักษาโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้ออซีเนโตแบคเตอร์ บอมมานิไอ ที่ดื้อยาต้านจุลชีพหลายขนาน | - |
dc.title.alternative | Outcomes of tigecycline-based and colistin-based treatment in multidrug-resistant acinetobacter baumannii pneumonia | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | เภสัชกรรมคลินิก | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject.keyword | TIGECYCLINE | - |
dc.subject.keyword | COLISTIN | - |
dc.subject.keyword | PNEUMONIA | - |
dc.subject.keyword | ACINETOBACTER BAUMANNII | - |
dc.subject.keyword | MULTIDRUG RESISTANT | - |
dc.subject.keyword | Medicine | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2017.645 | - |
Appears in Collections: | Pharm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5776114533.pdf | 4.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.