Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6089
Title: ผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ที่ดินต่อน้ำหลากในลุ่มน้ำเพชรบุรี
Other Titles: The effect of land use change on floods in Phetchaburi river basin
Authors: ศรีเลิศ โชติพันธรัตน์
Advisors: เสรี จันทรโยธา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Seree.C@chula.ac.th
Subjects: ลุ่มน้ำเพชรบุรี
น้ำหลาก
การใช้ที่ดิน -- ไทย -- ลุ่มน้ำเพชรบุรี
อุทกภัย -- ไทย -- ลุ่มน้ำเพชรบุรี
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาผลของการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน จากพื้นที่ป่าไม้ไปเป็นพื้นที่เกษตรกรรมในลุ่มน้ำเพชรบุรี ต่อสภาพน้ำหลากซึ่งพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำหลากและชลภาพน้ำหลาก มีพื้นที่ศึกษาครอบคลุม 2 ลุ่มน้ำย่อยในลุ่มน้ำเพชรบุรีคือ ลุ่มน้ำห้วยแม่ประจันต์ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินค่อนข้างมาก และลุ่มน้ำเพชรบุรีตอนบนซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินน้อยมาก ในการศึกษาผลของการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินต่อปริมาณน้ำหลากนั้น ได้แบ่งข้อมูลปริมาณน้ำหลากสูงสุดในรอบปีในลำน้ำห้วยแม่ประจันต์ (สถานี B.6) ที่มีการจดบันทึกไว้ตั้งแต่ปี 1961-2000 ออกเป็น 2 และ 3 ชุดข้อมูล และวิเคราะห์หาค่าพื้นฐานทางสถิติ และวิเคราะห์ขนาดน้ำหลากที่คาบการเกิดต่างๆ ของแต่ละชุดข้อมูลที่ได้แบ่งนั้นนำมาเปรียบเทียบ นอกจากนี้ข้อมูลปริมาณน้ำหลากสูงสุดในรอบปีที่มีการบันทึกไว้ที่สถานี B.6 ความยาว 39 ปีต่อเนื่องได้นำมาทำเป็น 26 ชุดข้อมูลที่แต่ละชุดมีความยาวข้อมูล 15 ปีต่อเนื่อง แล้ววิเคราะห์หาปริมาณน้ำหลากสูงสุดในรอบปีที่คาบการเกิดต่างๆ โดยใช้ฟังก์ชันการแจกแจงความถี่แบบ Log Pearson Type III และหาความสัมพันธ์ของเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงของน้ำหลาก และเปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ที่ไม่ใช่ป่าไม้ เนื่องจากเปลี่ยนไปเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่า ขนาดของปริมาณน้ำหลากสูงสุดในรอบปี สูงขึ้นในขณะที่พื้นที่ป่าไม้ลดลง นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน มีผลกระทบต่อปริมาณน้ำหลากที่คาบการเกิดต่ำๆ (ช่วงคาบการเกิด 2-5 ปี) มากกว่าปริมาณน้ำหลากที่ควบการเกิดสูงๆ (ช่วงคาบการเกิด 50 ปี ขึ้นไป) และชลภาพหนึ่งหน่วยน้ำท่าของช่วงหลังปี 1982 มีค่าปริมาณการไหลสูงสุดสูงขึ้นประมาณ 10% ทุกช่วงเวลา นอกจากนี้พบว่าปริมาณน้ำท่ารายปีในลุ่มน้ำห้วยแม่ประจันต์เพิ่มขึ้นประมาณ 41%
Other Abstract: To investigate the effects of land use change in Phetchaburi river basin, particularly changes in forest area to agricultural land, on flood characteristics which compose of peak flood flows and flood hydrographs. The study area covers two sub river basins of the Phetchaburi river basin, namely Huai Mae Prachan river basin which is considered of greatly changed land use area and the upper Phetchaburi river basin which most area lies within Kang Krachan national park and is considered the insignificantly chaged land use area. In order for studying the effects of land use change on floods, annual peak flood data observed at Huai Mae Prachan (Station B.6) during the years 1961-2000 are splitted into two halfs and three equal periods recpectively. Then, basic statistical parameters and flood frequency estimates are made for each set. In addition, 39-year peak flood flow data observed at B.6 are treated to 26-flood data sets of equal record length of 15-years. Log Pearson Type III frequency function is used in flood frequency estimates for determining annual peak floods at various return periods for each of 26-flood data sets. Percent changes in flood flows due to changing forest area to agricultural land and percent in non forest area are correlated. It has been found that magnitudes of annual peak floods increase as the forest area decreases. Furthermore, changes in land use more likely affect smaller floods associate with return periods of 2 to 5 years than major floods associated with return periods of 50 years or greater and it has been found that the peak unit hydrograph derived from flood data at B.6 during the periods of 1961-1981 is about 10% lesser than from which obtained from the periods of 1982-2000. In addition mean annual flow for the first period is also lesser than for the second period about 41 percents.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมแหล่งน้ำ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6089
ISBN: 9741724853
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Srilert.pdf31.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.