Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60974
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชวลิต งามจรัสศรีวิชัย-
dc.contributor.authorพลเทพ ศักดิ์พาณิชย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-12-03T03:19:30Z-
dc.date.available2018-12-03T03:19:30Z-
dc.date.issued2558-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60974-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558-
dc.description.abstractในงานวิจัยนี้สตรอนเทียมไททาเนตเจือด้วยแลนทานัมที่มีโครงสร้างแบบมีโซ (LMSTs) ถูกสังเคราะห์ผ่านวิธีการเผาไหม้โซลเจล โดยใช้โคพอลิเมอร์แบบบล็อกชนิดไร้ประจุ (Pluronic P123) เป็นสารก่อโครงสร้าง กรดซิตริกถูกเติมในของผสมสังเคราะห์เพื่อเพิ่มอันตรกิริยาของไอออนโลหะ และส่งเสริมการเกิดวัฏภาคสตรอนเทียมไททาเนต (SrTiO3) ฐานเพอรอฟสไกต์ที่มีความบริสุทธิ์และความเป็นผลึกสูง ทำการศึกษาผลของอัตราส่วนโดยโมลของแลนทานัมต่อสตรอนเทียม (La/Sr) และอุณหภูมิในการเผาต่อสมบัติทางเคมีกายภาพของ LMSTs โดยใช้เทคนิควิเคราะห์ต่างๆ จากผลการทดลองพบว่าการแทนที่ของ La3+ กับ Sr2+ ในโครงสร้างของ SrTiO3 ทำให้เกิดวัฏภาค LaxSr1-xTiO3 แบบเพอรอฟสไกต์ทรงลูกบาศก์ที่อุณหภูมิในการเผาเท่ากับ 600 องศาเซลเซียส โครงสร้างแบบมีโซและสมบัติความพรุนของ LMSTs สามารถควบคุมโดยปรับปริมาณแลนทานัมที่ใช้ LMSTs ที่มีอัตราส่วนโดยโมลของ La/Sr เท่ากับ 1 (LMST-1) มีพื้นที่ผิวจำเพาะสูงที่สุด (37.3 ตารางเมตร กรัม-1) และความพรุนแบบมีโซที่สูง สมรรถนะเชิงเร่งปฏิกิริยาของ LMSTs ถูกตรวจสอบในปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชันของน้ำมันปาล์มกับเมทานอลเพื่อสังเคราะห์เมทิลเอสเทอร์ของกรดไขมัน (FAME) LMST-1 เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่เหมาะสมที่สุดเนื่องจากสภาพเบสสูง ดังยืนยันได้จากการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค Hammett indicator และการคายตามอุณหภูมิที่โปรแกรมของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ภายใต้ภาวะในการทำปฏิกิริยาที่เหมาะสม (อัตราส่วนโดยโมลของเมทานอลต่อน้ำมันเท่ากับ 20 ต่อ 1 น้ำหนักตัวเร่งปฏิกิริยาเท่ากับ 10 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก อุณหภูมิเท่ากับ 170 องศาเซลเซียส และเวลาเท่ากับ 3 ชั่วโมง) LMST-1 ให้ผลได้ของ FAME สูงสุด >96 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก และสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำในปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชันได้อย่างน้อย 3 ครั้ง -
dc.description.abstractalternativeIn the present work, a series of lanthanum-doped mesostructured strontium titanate materials (LMSTs) was synthesized via sol-gel combustion method in the presence of non-ionic triblock copolymer (Pluronic P123) as a structure-directing agent. Citric acid was added into synthesis mixture to enhance metal ions interaction, and to promote formation of high purity and crystallinity perovskite-based strontium titanate (SrTiO3) phases. In addition, the effects of La/Sr molar ratios and calcination temperature on the physicochemical properties of the LMSTs were investigated by using various characterization techniques. The results showed that the substitution of La3+ for Sr2+ into the SrTiO3 lattice generated cubic perovskite LaxSr1-xTiO3 at calcination temperature of 600 °C. The mesostructures and textural properties of LMSTs can be manipulated by varying the La doping amount. The LMST with La/Sr molar ratio of 1 (LMST-1) had the highest BET surface area (37.3 m2 g−1) and high mesoporosity. The catalytic performance of LMSTs was tested in transesterification of palm oil with methanol to produce fatty acid methyl esters (FAME). LMST-1 was the suitable catalyst due to its high basicity as evidenced by Hammett indicator and temperature-programed desorption of carbon dioxide (CO2). Under the suitable reaction conditions (methanol to oil molar ratio of 20:1, catalyst amount of 10 wt.%, temperature of 170 °C and time of 3 h), the highest FAME yield of >96 wt.% was achieved over LMST-1. Moreover, LMST-1 can be reused in the transesterification at least 3 cycles.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.854-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectเมทิลเอสเทอร์-
dc.subjectกรดไขมัน-
dc.subjectMethyl esters-
dc.subjectFatty acids-
dc.titleสตรอนเทียมไททาเนตเจือด้วยแลนทานัมสำหรับทรานส์เอสเทอริฟิเคชันของน้ำมันปาล์มเป็นเมทิลเอสเทอร์ของกรดไขมัน-
dc.title.alternativeLanthanum-doped strontium titanate for transesterification of palm oil to fatty acid methyl esters-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineเคมีเทคนิค-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.keywordSTRONTIUM TITANATE-
dc.subject.keywordMESOPOROUS MIXED OXIDES-
dc.subject.keywordLANTHANUM DOPING-
dc.subject.keywordSOL-GEL COMBUSTION-
dc.subject.keywordHETEROGENEOUS CATALYSTS-
dc.subject.keywordTRANSESTERIFICATION-
dc.subject.keywordChemical Engineering-
dc.subject.keywordMaterials Science-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.854-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5672033523.pdf10.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.