Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61407
Title: | ผลการสอนซ่อมเสริมคณิตศาสตร์โดยใช้กลยุทธ์การสอนของพอลโลเวย์และแพตตันร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกเร็พพรีเซนเทชันให้กับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ:พหุกรณีศึกษา |
Other Titles: | Effects of mathematics remedial teaching Polloway and Patton's teaching strategy together with graphic representation technique for special needs students : Multicase study |
Authors: | ศิฏามาส ภาพันธ์ |
Advisors: | อัมพร ม้าคนอง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Subjects: | การแก้ปัญหา การเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน ความสามารถทางคณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์ -- การสอนซ่อมเสริม Problem solving Problem-based learning Mathematical ability Mathematics -- Remedial teaching |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์และเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ ก่อนและหลังการสอนซ่อมเสริมคณิตศาสตร์โดยใช้กลยุทธ์การสอนของพอลโลเวย์และแพตตันร่วมกับเทคนิคกราฟิกเร็พพรีเซนเทชัน โดยภาพรวมและจำแนกตามองค์ประกอบ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาของผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ ก่อนและหลังการสอนซ่อมเสริมคณิตศาสตร์โดยใช้กลยุทธ์การสอนของพอลโลเวย์และแพตตันร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกเร็พพรีเซนเทชัน 3) เพื่อศึกษาพัฒนาการของความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาของผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ ก่อน ระหว่าง และหลังการสอนซ่อมเสริมคณิตศาสตร์โดยใช้กลยุทธ์การสอนของพอลโลเวย์และแพตตันร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกเร็พพรีเซนเทชัน โดยภาพรวมและจำแนกตามลักษะของความต้องการพิเศษ กลุ่มเป้าหมายการวิจัย เป็นผู้เรียนมีความต้องการพิเศษในการเรียนคณิตศาสตร์ โรงเรียนมัธยมศึกษา ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ แบบวัดเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ และ แบบบันทึกการสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการสอนซ่อมเสริม ได้แก่ แผนการจัดการสอนเฉพาะบุคคล โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์หลังการซ่อมเสริมคณิตศาสตร์โดยใช้กลยุทธ์การสอนของพอลโลเวย์และแพตตันร่วมกับเทคนิคกราฟิกเร็พพรีเซนเทชันที่ดีมากกว่าการแสดงพฤติกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ก่อนการสอนซ่อมเสริมคณิตศาสตร์โดยใช้กลยุทธ์การสอนของพอลโลเวย์และแพตตันร่วมกับเทคนิคกราฟิกเร็พพรีเซนเทชัน 2) ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษส่วนใหญ่มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนคณิตศาสตร์หลังการสอนซ่อมเสริมคณิตศาสตร์โดยใช้กลยุทธ์การสอนของพอลโลเวย์และแพตตันร่วมกับเทคนิคกราฟิกเร็พพรีเซนเทชันที่ดีมากกว่าก่อนการสอนซ่อมเสริมคณิตศาสตร์โดยใช้กลยุทธ์การสอนของพอลโลเวย์และแพตตันร่วมกับเทคนิคกราฟิกเร็พพรีเซนเทชัน 3) ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษส่วนใหญ่มีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาเรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวหลังการสอนซ่อมเสริมคณิตศาสตร์โดยใช้กลยุทธ์การสอนของพอลโลเวย์และแพตตันร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกเร็พพรีเซนเทชันสูงขึ้นมากกว่าก่อนการสอนซ่อมเสริมคณิตศาสตร์โดยใช้กลยุทธ์การสอนของพอลโลเวย์และแพตตันร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกเร็พพรีเซนเทชัน และ 4) ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษส่วนใหญ่มีพัฒนาการของความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา เรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวก่อน ระหว่าง และหลังการสอนซ่อมเสริมโดยใช้กลยุทธ์การสอนของพอลโลเวย์และแพตตันร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกเร็พพรีเซนเทชันที่ดีขึ้นตามลำดับ |
Other Abstract: | The purpose of this research were 1) to study attitude and behavior toward mathematics learning of special needs students before and after being taugh by using Polloway and Patton’s teaching strategy together with graphic representation technique, 2) to compare mathematics problems solving ability of special needs students before and after being taught by using Polloway and Patton’s teaching strategy together with graphic representation technique. 3) to study development of mathematics problems solving ability of special needs students before, between, and after being taught by using Polloway and Patton’s teaching strategy together with graphic representation technique. The target groups were 6 of special needs students in secondary school in Bangkok. The research instruments consisted of mathematics problems solving ability test , attitude test, and interview questionnaire. The remedial teaching materials were lesson plans (IIP) using Polloway and Patton’s teaching strategy together with graphic representation technique. The data were analyzed by mean of arithmetic mean, standard deviation and qualitative analysis The results of the study revealed that 1) the behavior toward mathematics learning of the special needs students after remedial teaching using Polloway and Patton’s teaching strategy together with graphic representation technique was better than that before using Polloway and Patton’s teaching strategy together with graphic representation technique, 2) the attitude toward mathematics learning after using Polloway and Patton’s teaching strategy together with graphic representation technique was better than that before using Polloway and Patton’s teaching strategy together with graphic representation, 3) mathematics problems solving ability of special needs students after remedial teaching by using Polloway and Patton’s teaching strategy together with graphic representation technique was higher than that before remedial teaching using Polloway and Patton’s teaching strategy with graphic representation technique, 4) mathematics problem solving ability of the special needs students being taught by using Polloway and Patton’s teaching strategy together with graphic representation technique were developed respectively. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | หลักสูตรและการสอน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61407 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1461 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2018.1461 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5983886627.pdf | 4.74 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.