Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61417
Title: การพัฒนากรอบแนวคิดความสามารถในการสื่อสารเชิงอารมณ์ของบุคลากรต่างรุ่นในองค์กรไทย
Other Titles: Conceptualizing emotional communication competence In Thai intergenerational workplaces
Authors: ชัยวัฒน์ โรจน์สุรกิตติ
Advisors: ปภัสสรา ชัยวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Subjects: รุ่นวัย
การสื่อสารในองค์การ -- ไทย
Generations
Communication in organizations -- Thailand
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหากรอบแนวคิดความสามารถในการสื่อสารเชิงอารมณ์ที่คาดหวังของบุคลากรต่างรุ่นในองค์กรไทย รวมถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการแสดงความสามารถในการสื่อสารเชิงอารมณ์ของบุคลากรในแต่ละรุ่น ผู้วิจัยดำเนินการศึกษาโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบสหวิธี ได้แก่ วิธีวิจัยเชิงปริมาณ จากการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม (403 คน) และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์เชิงลึก (20 คน) จากกลุ่มตัวอย่างบุคลากร 2 รุ่นอายุ ได้แก่ บุคลากรรุ่นก่อน (อายุ 40 ปีขึ้นไป) และ บุคลากรรุ่นหลัง (อายุ 39 ปีลงมา) ซึ่งเป็นพนักงานทั้งระดับบริหารและระดับปฏิบัติการในองค์กรไทยภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชนจำนวน 12 องค์กร ผลการศึกษาวิจัยพบว่า: 1. ส่วนใหญ่บุคลากรทั้งสองรุ่นอายุมีระดับความคาดหวังต่อการแสดงพฤติกรรมที่สะท้อนความสามารถในการสื่อสารเชิงอารมณ์ของบุคลากรต่างรุ่นมากกว่าที่มีระดับการรับรู้ถึงการแสดงพฤติกรรมที่สะท้อนความสามารถในการสื่อสารเชิงอารมณ์ของบุคลากรต่างรุ่นในความเป็นจริงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 โดยบุคลากรทั้งสองรุ่นอายุต่างมีระดับการรับรู้และความคาดหวังพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการสื่อสารเชิงอารมณ์เพื่อ “สร้างและรักษาบรรยากาศในที่ทำงาน” จากบุคลากรต่างรุ่นมากที่สุด ส่วนพฤติกรรมที่ทั้งสองรุ่นอายุมีระดับการรับรู้และความคาดหวังน้อยที่สุดคือพฤติกรรมเกี่ยวกับ “การระบายอารมณ์เชิงลบในที่ทำงาน” นอกจากนี้ บุคลากรรุ่นหลังมีความคาดหวังการแสดงพฤติกรรมที่สะท้อนความสามารถในการสื่อสารเชิงอารมณ์จากบุคลากรรุ่นก่อนมากกว่าที่บุคลากรรุ่นก่อนคาดหวังจากบุคลากรรุ่นหลังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 2. บุคลากรทั้งสองรุ่นอายุรับรู้ว่าปัจจัย “ลักษณะส่วนบุคคล” และ “ระดับความสนิทสนม” มีอิทธิพลต่อการสื่อสารเชิงอารมณ์ของตนเองมากที่สุด ในขณะที่ปัจจัยที่มีอิทธิพลน้อยที่สุดได้แก่ “ประเภทธุรกิจ” และ “ช่องทางการติดต่อสื่อสารแบบข้อความ” นอกจากนี้ ผลการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพบ่งชี้ว่า บุคลากรรุ่นก่อนรับรู้ว่าว่าปัจจัย “เทคโนโลยีและโซเชียลมีเดีย” มีอิทธิพลต่อการสื่อสารเชิงอารมณ์ของบุคลากรรุ่นหลัง มากกว่าที่บุคลากรรุ่นหลังรับรู้ถึงอิทธิพลของปัจจัยดังกล่าวต่อการการสื่อสารเชิงอารมณ์ของตนเอง
Other Abstract: This survey study was aimed to conceptualize the emotional communication competence in Thai intergenerational workplaces, also, to explore the factors that affect the emotional communication competence of Thai intergenerational employees. The researcher employed both quantitative and qualitative research methods to collect data in this study. Questionnaire data (N=403) and additional in-depth interview data (N=20) were collected from executives and operational employees working in twelve Thai large public, state enterprise, and private organizations. Subjects were separated into two groups, “Digital immigrants” (40 years old and above), and “Digital natives” (39 years old and below). The results in this study revealed that: 1. Both generations expect the others to have more emotional communication competence behavior than perceived in reality. “Creating and maintaining harmony in workplaces” are the most perceived and expected emotional communication competence behaviors that both generations while “Releasing negative emotions in workplace” is the least perceived and expected emotional communication competence behaviors. Moreover, Digital natives expected more emotional communication competence behaviors from Digital immigrants than Digital immigrants expected from them. 2. Both generations perceived that “Personal characteristic” and “Level of intimacy” affect their emotional communication competence behaviors the most while “Type of business” and “Text communication” are the least. Furthermore, qualitative data found that Digital immigrants perceived that “Technologies and social media” affect the Digital natives’ emotional communication competence behaviors more than the natives perceived themselves.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61417
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.831
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.831
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5984656828.pdf2.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.