Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61492
Title: สมบัติฟิล์มพอลิแล็กติกแอซิดเสริมแรงด้วยไมโครไฟบริลเลเตดเซลลูโลสจากซังข้าวโพด
Other Titles: Properties of poly(lactic acid) film reinforced with microfibrillated cellulose from corn cobs
Authors: ประภัสสร ดีแจ่ม
Advisors: สิรีรัตน์ จารุจินดา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: กรดโพลิแล็กติก
โพลิไวนิลแอลกอฮอล์
การเชื่อมขวาง (โพลิเมอไรเซชัน)
พลาสติกเสริมแรงด้วยเส้นใย
Polylactic acid
Polyvinyl alcohol
Crosslinking (Polymerization)
Fiber-reinforced plastics
Issue Date: 2558
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการเตรียมและปรับปรุงสมบัติของฟิล์มพอลิแล็กติกแอซิดด้วยสารเสริมแรงเส้นใยไมโครไฟบริลเลเตดเซลลูโลสจากซังข้าวโพดซึ่งเป็นวัตถุดิบที่เหลือใช้ทางเกษตรที่พบมากในประเทศไทย โดยนำเซลลูโลสที่สกัดได้จากซังข้าวโพดมาผสมกับสารละลายผสมโซเดียมไฮดรอกไซด์/ยูเรีย และปั่นกวนผสมด้วยเครื่องปั่นกวนผสมความเร็วสูง โดยปรับเปลี่ยนเวลาในการปั่นกวนผสม (10, 20, 30, 40 และ 50 นาที) แล้วนำสารแขวนลอยที่ได้มาแช่แข็งที่อุณหภูมิ -13 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นนำออกมาปั่นกวนช้าๆจนถึงอุณหภูมิห้อง ได้สารละลายไมโครไฟบริลเลเตดเซลลูโลส จากนั้นนำสารละลายไมโครไฟบริลเลเตดเซลลูโลสกับสารละลายพอลิไวนิลแอลกอฮอล์มาเชื่อมขวางทางกายภาพหรือเชื่อมขวางทางเคมีโดยใช้อิพิคลอโรไฮดรินเป็นสารเชื่อมขวาง ก่อนนำไปผสมกับสารละลายพอลิแล็กติกแอซิดในอัตราส่วนต่างๆ (99:1, 97:3, 95:5) และขึ้นรูปเป็นฟิล์มพอลิแล็กติกแอซิดคอมพอสิตโดยเทคนิคการหล่อแบบด้วยตัวทำละลาย เมื่อนำฟิล์มพอลิแล็กติกคอมพอสิตที่เตรียมได้ไปทดสอบสมบัติเชิงกลพบว่าความทนแรงดึงและความยืด ณ จุดขาดของฟิล์มพอลิแล็กติกแอซิดเพิ่มขึ้นและดีที่สุดเมื่อเสริมแรงด้วยเส้นใยไมโครไฟบริลเลเตดเซลลูโลสที่ใช้เวลาการปั่นกวนผสม 20 นาที ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงเลือกเวลาในการปั่นกวนผสม 20 นาทีเพื่อเตรียมเส้นใยไมโครไฟบริลเลเตดเซลลูโลส/พอลิไวนิลแอลกอฮอล์ที่ผ่านและไม่ผ่านการเชื่อมขวางและศึกษาผลของสารเสริมแรงที่แตกต่างกันดังกล่าวต่อสมบัติเชิงกลของฟิล์มพอลิแล็กติกแอซิด พบว่าฟิล์มพอลิแล็กติกแอซิดที่เสริมแรงด้วยเส้นใยไมโครไฟบริลเลเตดเซลลูโลส/พอลิไวนิลแอลกอฮอล์ที่เชื่อมขวางทางเคมีมีความทนแรงดึงและความยืด ณ จุดขาดสูงสุด นอกจากนี้อัตราส่วนระหว่างพอลิแล็กติกแอซิดกับเส้นใยไมโครไฟบริลเลเตดเซลลูโลส/พอลิไวนิลแอลกอฮอล์ที่ 99 ต่อ 1 ในฟิล์มพอลิแล็กติกแอซิดคอมพอสิตทุกสูตร มีสมบัติเชิงกลดีที่สุด อย่างไรก็ตามการเสริมแรงด้วยเส้นใยไมโครไฟบริลเลเตดเซลลูโลสในฟิล์มพอลิแล็กติกแอซิดทุกสูตรไม่สามารถช่วยปรับปรุงเสถียรภาพทางความร้อนเนื่องจากการเข้ากันไม่ดีระหว่างเฟส
Other Abstract: This research aims to prepare and improve properties of poly(lactic acid) (PLA) film by using microfibrillated cellulose (MFC) from corn cob, which is an abundant agricultural waste in Thailand, as a reinforcing filler. Extracted cellulose from corn cob was mixed with sodium hydroxide/urea mixed solution and followed by homogenizing with high-speed homogenizer in various times (10, 20, 30, 40 and 50 minutes). The MFC suspension was then frozen at -13°C for 24 h and thawed and stirred at room temperature to obtain MFC solution. Then the MFC solution and polyvinyl alcohol (PVA) solution were physical crosslinked (freeze/thaw cycle) or chemical crosslinked (epichlorohydrin as a crosslinking agent). MFC/PVA solution was mixed with PLA solution in various ratios (99:1, 97:3, 95:5) and was immediately subjected to cast film on glass plate. The tensile strength and elongation at the break of PLA composite film reinforced with MFC/PVA increased when the homogenized time is 20 minutes. Therefore, the homogenized time at 20 minutes was selected to prepare MFC/PVA with and without crosslinking and to study the effects of different types of MFC/PVA on the mechanical properties of PLA composite film reinforced with MFC/PVA. The results showed that the PLA composite film reinforced with chemical crosslinked MFC/PVA exhibited the highest tensile strength and elongation at the break. Moreover, the weight ratio of PLA and reinforcing filler was 99:1 improved the mechanical properties of PLA film. However, MFC reinforcing filler cannot improve the thermal properties of PLA film due to poor interfacial adhesion between phase.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ปิโตรเคมีและวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61492
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.836
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.836
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5672009523.pdf6.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.