Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61536
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธราพงษ์ วิทิตศานต์-
dc.contributor.authorภัทราพร พรหมทันต์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2019-02-26T13:54:25Z-
dc.date.available2019-02-26T13:54:25Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61536-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เน้นศึกษาเชิงเปรียบเทียบตัวเร่งปฏิกิริยาแมกนีเซียมออกไซด์ แมกนีเซียมออกไซด์ผสมถ่านกัมมันต์ที่อัตราส่วน 1:1 และโดโลไมต์ผสมถ่านกัมมันต์ที่อัตราส่วน 1:1 ซึ่งประกอบด้วยตัวแปรอุณหภูมิในการทำปฏิกิริยาในช่วง 380 ถึง 440 องศาเซลเซียส ระยะเวลาในการทำปฏิกิริยาในช่วง 30 ถึง 75 นาที ความดันไฮโดรเจน ไม่เติม ถึง 5 บาร์ ปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยาในช่วงร้อยละ 0.0 ถึง 5.0 โดยน้ำหนัก พบว่า ไม่เติมตัวเร่งปฏิกิริยาหรือการแตกสลายด้วยความร้อน (Thermal Cracking) คือ อุณหภูมิในการทำปฏิกิริยา 440 องศาเซลเซียส ระยะเวลาในการทำปฏิกิริยา 45 นาที และความดันไฮโดรเจน 1 บาร์ เติมตัวเร่งปฏิกิริยาแมกนีเซียมออกไซด์ แมกนีเซียมออกไซด์ผสมถ่านกัมมันต์ที่อัตราส่วน 1:1 และโดโลไมต์ผสมถ่านกัมมันต์ที่อัตราส่วน 1:1 ภาวะเหมาะสมคือ อุณหภูมิในการทำปฏิกิริยา 420 องศาเซลเซียส ระยะเวลาในการทำปฏิกิริยา 45 นาที ความดันไฮโดรเจน 1 บาร์ ปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยาแมกนีเซียมออกไซด์ แมกนีเซียมออกไซด์ผสมถ่านกัมมันต์ที่อัตราส่วน 1:1 ร้อยละ 2.5 โดยน้ำหนักและโดโลไมต์ผสมถ่านกัมมันต์ที่อัตราส่วน 1:1 ร้อยละ 5.0 โดยน้ำหนัก วิเคราะห์องค์ประกอบเชื้อเพลิงเหลวด้วยเครื่องแก๊สโครมาโทกราฟีจำลองการกลั่น (DGC) พบว่า สัดส่วนกากน้ำมันร้อยละ 29.89 24.69 23.91 และ 18.64 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ สัดส่วนของดีเซลร้อยละ 23.49 28.45 33.26 และ 39.44 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ เมื่อเติมตัวเร่งปฏิกิริยามีผลทำให้อุณหภูมิในการทำปฏิกิริยาลดลง 20 องศาเซลเซียส ผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงเหลวที่ผ่านกระบวนการแตกตัวโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาโดโลไมต์ร่วม (Catalytic Cracking) ส่งเสริมให้เกิดปฏิกิริยาดีคาร์บอกซิเลชันและดีคาร์บอนิลเลชัน ทำให้องค์ประกอบของธาตุออกซิเจนลดลงเหลือร้อยละ 3.75 โดยน้ำหนัก เมื่อเปรียบเทียบกับไขมันวัวที่มีค่าร้อยละ 23.03 โดยน้ำหนัก องค์ประกอบของธาตุออกซิเจนที่สูงในไขมันวัวส่งผลให้สมบัติทางเชื้อเพลิงของไขมันวัวมีค่าความร้อน 39.87 เมกะจูลต่อกิโลกรัม ซึ่งต่ำกว่าผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงเหลวที่ผ่านกระบวนการแตกตัวโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาโดโลไมต์ร่วม (Catalytic Cracking) ค่าความร้อน 49.32 เมกะจูลต่อกิโลกรัม-
dc.description.abstractalternativeThe main objective of this research focused on a comparative study of the catalytic cracking on MgO, a mixture of MgO and activated carbon at 1:1 ratio, and a mixture of dolomite and activated carbon at 1:1 ratio. Variables consisted of the temperatures at 380 to 440 oC, time of reactivity ranging from 30 to 75 minutes, initial hydrogen pressure at without presence of hydrogen pressure to 5 bars, and the amount of the foregoing catalysts at 0 to 5 wt%. The results show that without presence of catalysts (Thermal Cracking) is 440 oC, time of reactivity is 45 minute, initial hydrogen pressure is 1 bar ; with MgO, a mixture of MgO and activated carbon at 1:1 ratio and a mixture of dolomite and activated carbon at 1:1 ratio is 420 oC, time of reactivity is 45 minute, initial hydrogen pressure is 1 bar, the amount of the MgO, MgO and activated carbon at 1:1 ratio catalysts at 2.5 wt%. and the amount of the dolomite and activated carbon at 1:1 ratio 5 wt%. An analysis of liquid fuel component with Distillation Gas Chromatography (DGC) found that the percentage of residual oil is at 29.89 wt%, 24.69 wt%, 23.91 wt%, and 18.64 wt% respectively. When a catalyst is introduced, the reactivity temperature decreases by 20 oC. Liquid fuels processed with catalytic cracking promotes decarboxylation and decarbonylation resulting in a decrease in oxygen component to only 3.75 wt%, compared to that of beef tallow at 23.03 wt%. A high oxygen component in beef tallow contributes to its fuel properties of 39.87 MJ/kg, lower than the liquid fuel processed with catalytic cracking which offers 49.32 MJ/kg.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.950-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectปิโตรเลียม-
dc.subjectการแตกตัวด้วยตัวเร่งปฏิกิริยา-
dc.subjectPetroleum-
dc.subjectCatalytic cracking-
dc.subject.classificationEnergy-
dc.titleการศึกษาเชิงเปรียบเทียบของการแตกตัวเชิงเร่งปฏิกิริยาของไขมันวัวบนแมกนีเซียมออกไซด์และโดโลไมต์ที่ผสมด้วยถ่านกัมมันต์-
dc.title.alternativeComparative study of beef tallow catalytic cracking on magnesium oxide and dolomite mixed with activated carbon-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineปิโตรเคมีและวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.keywordไขมันวัว-
dc.subject.keywordกากน้ำมัน-
dc.subject.keywordแตกตัวด้วยความร้อน-
dc.subject.keywordแตกตัวโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาร่วม-
dc.subject.keywordbeef tallow-
dc.subject.keywordresidual oil-
dc.subject.keywordThermal Cracking-
dc.subject.keywordCatalytic Cracking-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2018.950-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5972407923.pdf2.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.