Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61550
Title: Study of liquefaction mechanism in Chiang Rai province
Other Titles: การศึกษากลไกการเกิดทรายเหลวที่จังหวัดเชียงราย
Authors: Lindung Zalbuin Mase
Advisors: Suched Likitlersuang
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Engineering
Subjects: Earthquakes -- Thailand -- Chiang Rai
Soil liquefaction
แผ่นดินไหว -- ไทย -- เชียงราย
การเกิดทรายเหลว
Issue Date: 2017
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: ทางภาคเหนือของประเทศไทยได้เผชิญภัยแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ถึง 2 ครั้งคือ แผ่นดินไหวที่ศูนย์กลางอยู่ ที่เมืองทาร์เลย์ในประเทศเมียนมาปี ค.ศ. 2011 และแผ่นดินไหว ที่อ.แม่ลาว จ.เชียงรายในปี ค.ศ. 2014 งานวิจัยนี้จึงดำเนินการศึกษาการเกิดทรายเหลวระหว่างการเกิดแผ่นดินไหวโดยเฉพาะในจังหวัดเชียงราย งานวิจัยนี้เริ่มจากการวิเคราะห์ด้วยสูตรเชิงประสบการณ์โดยใช้ข้อมูลในหลายพื้นที่ในภาคเหนือ การศึกษาผลตอบสนองแผ่นดินไหวสามารถนำไปใช้ประเมินผลของการแผ่ขยายของคลื่นแผ่นดินไหวในชั้นดินได้ นอกเหนือจากนี้ มีการสำรวจพื้นที่ด้วยการทดสอบไมโครทริมเมอร์และการวิเคราะห์สเปกตรัมคลื่นผิวดินบริเวณพื้นที่ที่เคยเกิดทรายเหลวในระหว่างแผ่นดินไหวทั้งสองครั้ง การวิเคราะห์ผลตอบสนองต่อการเกิดทรายเหลวแบบหนึ่งมิติเพื่อสังเกตพฤติกรรมพลศาสตร์ของชั้นดินพบว่า ชั้นทรายชั้นแรกและชั้นที่สองของบริเวณที่ทำการศึกษามีโอกาสการเกิดทรายเหลวค่อนข้างสูง นอกเหนือจากนี้ ผลวิเคราะห์การแผ่ขยายของคลื่นพบว่า ที่บริเวณอ.แม่สาย ชายแดนไทย-เมียนมา อาจเกิดความเสียหายต่ออาคารความสูงปานกลางจากการขยายตัวของคลื่นแผ่นดินไหวได้ เนื่องจากการสั่นพ้องระหว่างดินและโครงสร้าง ส่วนผลการสำรวจพื้นที่ยังพบว่าสภาพทางธรณีวิทยาประกอบไปด้วยชั้นดินตะกอนของแม่น้ำที่มีความต้านทานต่อแรงเฉือนค่อนข้างต่ำ พฤติกรรมของดินพวกนี้ระหว่างการแผ่ขยายคลื่นน่าจะโอกาสเกิดทรายเหลวได้ง่าย การศึกษานี้น่าใช้แนะนำวิศวกรท้องถิ่นเพื่อให้ตระหนักถึงความไม่ปลอดภัยต่อแผ่นดินไหวและการเกิดทรายเหลวในพื้นที่ภาคเหนือโดยเฉพาะในจังหวัดเชียงรายได้
Other Abstract: ทางภาคเหนือของประเทศไทยได้เผชิญภัยแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ถึง 2 ครั้งคือ แผ่นดินไหวที่ศูนย์กลางอยู่ ที่เมืองทาร์เลย์ในประเทศเมียนมาปี ค.ศ. 2011 และแผ่นดินไหว ที่อ.แม่ลาว จ.เชียงรายในปี ค.ศ. 2014 งานวิจัยนี้จึงดำเนินการศึกษาการเกิดทรายเหลวระหว่างการเกิดแผ่นดินไหวโดยเฉพาะในจังหวัดเชียงราย งานวิจัยนี้เริ่มจากการวิเคราะห์ด้วยสูตรเชิงประสบการณ์โดยใช้ข้อมูลในหลายพื้นที่ในภาคเหนือ การศึกษาผลตอบสนองแผ่นดินไหวสามารถนำไปใช้ประเมินผลของการแผ่ขยายของคลื่นแผ่นดินไหวในชั้นดินได้ นอกเหนือจากนี้ มีการสำรวจพื้นที่ด้วยการทดสอบไมโครทริมเมอร์และการวิเคราะห์สเปกตรัมคลื่นผิวดินบริเวณพื้นที่ที่เคยเกิดทรายเหลวในระหว่างแผ่นดินไหวทั้งสองครั้ง การวิเคราะห์ผลตอบสนองต่อการเกิดทรายเหลวแบบหนึ่งมิติเพื่อสังเกตพฤติกรรมพลศาสตร์ของชั้นดินพบว่า ชั้นทรายชั้นแรกและชั้นที่สองของบริเวณที่ทำการศึกษามีโอกาสการเกิดทรายเหลวค่อนข้างสูง นอกเหนือจากนี้ ผลวิเคราะห์การแผ่ขยายของคลื่นพบว่า ที่บริเวณอ.แม่สาย ชายแดนไทย-เมียนมา อาจเกิดความเสียหายต่ออาคารความสูงปานกลางจากการขยายตัวของคลื่นแผ่นดินไหวได้ เนื่องจากการสั่นพ้องระหว่างดินและโครงสร้าง ส่วนผลการสำรวจพื้นที่ยังพบว่าสภาพทางธรณีวิทยาประกอบไปด้วยชั้นดินตะกอนของแม่น้ำที่มีความต้านทานต่อแรงเฉือนค่อนข้างต่ำ พฤติกรรมของดินพวกนี้ระหว่างการแผ่ขยายคลื่นน่าจะโอกาสเกิดทรายเหลวได้ง่าย การศึกษานี้น่าใช้แนะนำวิศวกรท้องถิ่นเพื่อให้ตระหนักถึงความไม่ปลอดภัยต่อแผ่นดินไหวและการเกิดทรายเหลวในพื้นที่ภาคเหนือโดยเฉพาะในจังหวัดเชียงรายได้
Description: Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2017
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Civil Engineering
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61550
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.146
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.146
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5771481921.pdf11.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.