Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61750
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | จิราภรณ์ ธนียวัน | - |
dc.contributor.author | พรทิพย์ ศิริเรืองสกุล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2019-05-14T02:26:36Z | - |
dc.date.available | 2019-05-14T02:26:36Z | - |
dc.date.issued | 2553 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61750 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 | en_US |
dc.description.abstract | เมื่อทำการกลายพันธุ์ Pichia anomala PY1 ด้วยรังสีอัลตราไวโอเลตร่วมกับสาร Ethylmethane sulfonate คัดเลือกได้ยีสต์สายพันธุ์กลาย MUE24 เมื่อทำการเพาะเลี้ยงในอาหารที่มีน้ำมันถั่วหลือง 4 % เป็นแหล่งคาร์บอน โดยให้ค่าการกระจายน้ำมันเท่ากับ 17.64 ตารางเซนติเมตร ซึ่งมีค่ามากกว่าประมาณ 3 เท่า เมื่อเทียบกับสายพันธุ์ PY 1 และค่าแรงตึงผิวต่ำสุดเท่ากับ 35 mN/m ในอาหารเลี้ยงเชื้อชนิดเดียวกัน และเมื่อทำการหาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพของสายพันธุ์กลาย MUE24 พบว่าสามารถผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในอาหารเหลวปรับปรุงสูตรที่ประกอบด้วย KH₂PO₄ 0.02 % MgSO₄.7H₂O 0.02 % สารสกัดยีสต์ 0.65 % NaNO₃ 0.11 % น้ำมันถั่วเหลือง 13.34 % และกลูโคส 6.66 % (อัตราส่วน 2:1) ควบคุมค่าความเป็นกรดด่างเริ่มต้นเท่ากับ 4.5 โดยมีภาวะการเลี้ยงเชื้อที่อุณหภูมิ 30 °C ในระดับขวดเขย่าอัตราเร็ว 200 รอบต่อนาที เป็นเวลา 7 วัน สารลดแรงตึงผิวชีวภาพที่ผลิตได้มีค่าแรงตึงผิวต่ำสุด 37.25 mN/m ค่าการกระจายน้ำมันเท่ากับ 53.87 ตารางเซนติเมตร และให้ผลผลิตเท่ากับ 0.50 กรัมต่อลิตร จากการวิเคราะห์สารลดแรงตึงผิวชีวภาพที่ผลิตได้จากยีสต์สายพันธุ์กลาย MUE 24 ด้วยวิธีโครมาโตกราฟีแบบ Analytical Thin-Layer Chromatography พบว่ามีส่วนประกอบ 4 ส่วน ที่มีค่าคงที่ของอัตราส่วนการเคลื่อนที่ (Rf ) เท่ากับ 0.96, 0.89, 0.84 และ 0.69 (Fa-Fd) ตามลำดับ ซึ่งต่างจากของยีสต์ Pichia anomala PY1 โดย Fb ของยีสต์สายพันธุ์กลาย MUE 24 ให้ค่าการกระจายน้ำมันสูงสุด และการศึกษาความสามารถในการก่ออิมัลชันของสารลดแรงตึงผิวชีวภาพที่ผลิตได้โดยการวัดค่าความเสถียรในการก่ออิมัลชัน (Emulsification stability) และค่าดัชนีการเกิดอิมัลชัน (Emulsion Index) ต่อน้ำมัน 2 ชนิดได้แก่ น้ำมันคาโนลา และน้ำมันถั่วเหลือง ที่ 24 ชั่วโมง ซึ่งยีสต์สายพันธุ์กลาย MUE 24 ให้ค่าค่าดัชนีการเกิดอิมัลชันเท่ากับ 94.14 และ 88.53 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ | en_US |
dc.description.abstractalternative | Mutation of Pichia anomala PY1 was conducted by UV and ethylmethane sulfonate (EMS) mutation. Among the mutants isolated, strain MUE24 gave high biosurfactant activity when cultivated in production medium containing 4% soybean oil as a carbon source. The biosurfactant yielded could lower surface tension down to 35 mN/m and 17.64 cm2 in term of oil displacement of which is a 3 folds higher than the parent strain. The biosurfactant production by MUE24 consisted KH₂PO₄ 0.02%, MgSO₄.7H₂O 0.02%, NaNO₃ 0.11%, yeast extract 0.64%, soybean oil 13.34% and glucose 6.66% with initial pH of 4.5 while cultivation condition was incubated at 30°C in shake flask at 200 rpm. After 7 days of cultivation, the biosurfactant showed minimum surface tension of 37.25 mN/m, oil displacement activity of 53.87 cm2 with yield of 0.5 g/l, hence MUE24 gave a 10 folds increase in oil displacement activity and 2 folds increase yield as compared to parental strain PY1. Analysis of the biosurfactants produced via analytical TLC showed 4 major peaks with Rf of 0.96, 0.89, 0.84 and 0.69 (Fa-Fd) respectively while peak Fb gave highest oil displacement activity. In addition we also observed that the active band with biosurfactant with oil displacement activity gave different Rf than that of parental strain; Pichia anomala PY1. Emulsification stability and emulsifying index of MUE24 strain at 24 hours with canola oil and soy bean oil were 94.14% and 88.53% respectively. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1688 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | Biosurfactants | en_US |
dc.subject | Pichia anomala | en_US |
dc.subject | สารลดแรงตึงผิวชีวภาพ | en_US |
dc.title | การเสริมการผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพใน Pichia anomala PY1 โดยการกลายพันธุ์ | en_US |
dc.title.alternative | Enhancement of biosurfactant production in Pichia anomala PY1 by mutation | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | จุลชีววิทยา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | jiraporn.Th@chula.ac.th | - |
dc.email.author | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2010.1688 | - |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5072375623_2553.pdf | 2.19 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.