Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61777
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดุจฤทัย พงษ์เก่า คะชิมา-
dc.contributor.advisorชื่นจิต ประกิตชัยวัฒนา-
dc.contributor.authorอัญชิษฐา วงค์ประทัต-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2019-05-14T07:56:54Z-
dc.date.available2019-05-14T07:56:54Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61777-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม. )--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en_US
dc.description.abstractการพัฒนาวัสดุให้มีสมบัติการต้านแบคทีเรียได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน ในงานวิจัยนี้ศึกษาการเพิ่มสมบัติการต้านแบคทีเรียในดินเกาลิน ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในอุตสาหกรรมเซรามิก และเนื่องจากแร่เกาลินไนท์ ซึ่งเป็นแร่องค์ประกอบหลักที่พบในดินเกาลินมีลักษณะโครงสร้างเป็นชั้นๆ อนุภาคเงินระดับนาโนจึงถูกแทรกเข้าไปในช่องว่างภายในชั้นของดินระหว่างชั้นของ octahedral และ tetrahedral sheets (OT sheets) โดยมีแนวความคิดว่าชั้นดินจะช่วยป้องกันไม่ให้อนุภาคเงินระดับ นาโนเกิดการสลายตัวไปที่อุณหภูมิสูง การทดลองเริ่มด้วยการขยายขนาดของชั้นดินด้วยไดเมทธิลซัลฟอกไซด์ เพื่อให้รอยต่อระหว่างชั้น OT ในแร่เกาลินไนท์ขยายตัวออก จากนั้นเติมสารละลาย AgNO₃ ลงไปโดยควบคุมอัตราส่วนของ Ag ต่อดินเกาลินที่ 0.1-20.0% และรีดิวซ์ไอออนเงิน (Ag⁺) ให้เป็นอนุภาคเงิน (Ag) ด้วย NaBH₄ กรองและปล่อยให้แห้งที่อุณหภูมิห้อง ผลวิเคราะห์รูปแบบการเลี้ยวเบนรังสีเอ็กซ์แสดงให้เห็นว่า อนุภาคเงินแทรกตัวเข้าไปในชั้นรอยต่อระหว่างชั้น OT ในแร่เกาลินไนท์จริง และมีอนุภาคเงินบางส่วนที่ไม่ได้แทรกเข้าไปเพียงแต่กระจายตัวอยู่ที่ผิวด้านนอกของแผ่นดินเท่านั้น สุดท้ายได้ทดสอบสมบัติต้านแบคทีเรียชนิด Escherichia coli ของอนุภาคเงินระดับนาโนในดินเกาลิน ณ อุณหภูมิต่างๆ เพื่อหาปริมาณอนุภาคเงินระดับนาโนในดินเกาลินที่แสดงฤทธิ์ต้าน E. coli ที่เหมาะสม โดยพบว่า 1, 0.3 และ 1% Ag แสดงฤทธิ์ต้านแบคทีเรียที่ อุณหภูมิห้อง อุณหภูมิ 250 °C และที่อุณหภูมิ 1200 °C ตามลำดับฤทธิ์การต้านแบคทีเรีย ณ อุณหภูมิต่างๆ แสดงให้เห็นว่า อุณหภูมิขึ้นรูปเป็นปัจจัยที่ส่งผลโดยตรงต่อสมบัติต้านแบคทีเรียของอนุภาคเงินระดับนาโนในดินเกาลินen_US
dc.description.abstractalternativeThe development of materials having antibacterial properties has been of great interest. In this research, the antibacterial activity of kaolin which is one of important raw materials in ceramic industries would be enhanced. According to the layered structure of Kaolinite, a major mineral found in kaolin, silver nanoparticles were intercalated in an interlamellar space between octahedral and tetrahedral sheets (OT sheets). Based upon this concept, silver nanoparticles would be protected in a layer structure of Kaolinite and they would not be decomposed even at the high temperature. Prior to this step, dispersion of Kaolinite was achieved by dimethyl sulfoxide (DMSO) in order to promote the swelling in lamellae, then it was suspended in aqueous AgNO₃ solution with adjusting ratio of Ag to kaolin from 0.1-20.0%. Finally the adsorbed Ag⁺ was reduced to Ag by NaBH₄, filtered and dried at the room temperature. As a result the as-received silver nanoparticle-Kaolinite was obtained. XRD patterns showed that there were silver nanoparticles intercalated between the OT sheets of the modified Kaolinite. Moreover, with the higher ratio of Ag/Kaolinite, more silver nanoparticles dispersed on the plate of the modified clay. Finally, inhibitory to grewth of Escherichia coli was also tested at 3 represented temperature to find the optimum inhibitory concentration of silver nanoparticle. The results were 0.1, 0.3 and 1% Ag at room temperature, 250°C and 1200°C respectively. These results confirmed that fabrication temperature plays a role in antibacterial activity of the silver nanoparticle intercalated Kaolin.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.2023-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectดินเกาลินen_US
dc.subjectอนุภาคนาโนen_US
dc.subjectKaolin-
dc.subjectNanoparticles-
dc.titleการแทรกอนุภาคเงินระดับนาโนในดินเกาลินสำหรับประยุกต์เพื่อต้านแบคทีเรียen_US
dc.title.alternativeIntercalation of silver nanoparticle in Kaolin for antibacterial applicationen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีเซรามิกen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorDujreutai.P@Chula.ac.th-
dc.email.advisorcheunjit.p@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.2023-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5072566123_2551.pdf5.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.