Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61893
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา | - |
dc.contributor.author | นิยะดา สาริกภูติ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.coverage.spatial | อินเดีย | - |
dc.date.accessioned | 2019-05-17T03:54:36Z | - |
dc.date.available | 2019-05-17T03:54:36Z | - |
dc.date.issued | 2515 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61893 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2515 | en_US |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างละครไทย และละครภารตะว่ามีมากน้อยเพียงใด และในลักษณะเช่นใดบ้าง พร้อมทั้งจะทำการวิเคราะห์ถึงความคล้ายคลึงในละครทั้งสองนี้อย่างละเอียดเท่าที่สามารถจะกระทำได้ โดยอาศัยหลักฐานจากเอกสารต่าง ๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ รวมทั้งการสัมภาษณ์ท่านผู้รู้หลายท่าน การวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 6 บท บทที่ 1 กล่าวถึงความเป็นมาของปัญหา บทที่ 2 กล่าวถึงรายละเอียดของละครภารตะนับตั้งแต่ตำนานการฟ้อนรำ, คัมภีร์อธิบายลักษณะละคร และประเภทของละครภารตะที่แบ่งออกตามทฤษฎีการแสดง และทฤษฎีการเขียน บทที่ 3 กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของละครไทย, อิทธิพลของละครภารตะที่มีต่อละครไทยในสมัยแรกเริ่ม และประเภทของละครไทยซึ่งแบ่งตามลักษณะการแสดง บทที่ 4 กล่าวถึงการเบิกโรงของละครภารตะและของละครไทย และอิทธิพลของการเบิกโรงในละครภารตะที่มีต่อการเบิกโรงในละครไทย บทที่ 5 กล่าวถึงความคล้ายคลึงของลักษณะบางประการในบทละครสันสกฤตและในบทละครไทย บทที่ 6 เป็นบทสรุป กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างละครไทยและละครภารตะว่ามีความคล้ายคลึงในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ คือ ท่ารำ, แบบแผนในการแสดงละคร, ชื่อของละคร, การเบิกโรง และลักษณะบางประการในบทละคร ซึ่งในเรื่องเหล่านี้ผู้เขียนเชื่อว่าละครไทยคงจะได้รับอิทธิพลจากละครภารตะแน่นอน วิทยานิพนธ์เรื่องนี้จบลงด้วยข้อเสนอแนะว่าควรจะได้มีการศึกษาถึงประวัติและความเป็นมาของนาฏกรรมอื่น ๆ ของไทย เช่น โขนซึ่งในวิทยานิพนธ์เล่มนี้ผู้เขียนเชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับกถกฬิซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของละครภารตะ ตามทฤษฎีการแสดง นอกจากนั้นก็มี หุ่น หนังใหญ่ และการแสดงของหลวง เช่น ระเบง โมงครุ่ม กุลาตีไม้ เป็นต้น ซึ่งน่าจะมีการศึกษาค้นคว้าในทำนองเดียวกันกับที่ผู้เขียนได้กระทำในวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ เพราะปัจจุบันการแสดงต่าง ๆ อันนับว่าเป็นมรดกสำคัญทางวัฒนธรรมของไทยกำลังค่อยเสื่อมหายไปจากความนิยมของคนไทยในสมัยปัจจุบัน ซึ่งนับวันความรู้ความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้จะเลือนลางไปทุกทีจนอาจสูญหายไปในที่สุด | en_US |
dc.description.abstractalternative | This thesis is an attempt in presenting a careful study of the nature of the Thai and Indian dramas and their relationship. Paralellisms between the two arts are drawn and analyzed based on available documentaries in Thai as well as in English. Additional informations were also sought by interviewing people of various authorities. The work is devided into six chapters. The first chapter deals with the nature of the problems. The second chapter treats in detail the Hindu dramaturgy: its legendary history, the dramaturgical texts, and the categories of the Bharata drama classified by its theories of acting and composing. The third chapter concerns the history of the Thai drama, the Hindu influence upon the Thai drama from the beginning, categories of the Thai drama from the presentation’s point of view. Chapter Four deals with the prelude of the play, the Hindu theories and practices, the Thai counterpart and the Indian influence upon the Thai in this aspect Chapter Five gives a treatment of some similarities between the Hindu and the Thai plays. The sixth chapter is the conclusion in which the relationship between the two arts is summarized according to the following points: gestures, types of plays, title, prelude and some salient features found in the plays. The thesis also suggests and encourages further study on the history and the development of other kinds of Thai entertainment, for instance, the Khon (the Masked Play), which might have, its original characteristics related to the Kathakali dance, a popular form of the Hindu dramatic art. Others which deserve more attention are Hun (marionette), Nang Yai and other court entertainments such as Rabeng, Mong Khrum, Kula-ti-mai, etc. Researches in those said above which constitute a part of the valuable heritage of the Thai people, should be conducted along the line followed by the writer of this thesis. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ละครไทย | en_US |
dc.subject | ละครอินเดีย | en_US |
dc.title | ความสัมพันธ์ระหว่างละครไทยและละครภารตะ | en_US |
dc.title.alternative | The relationship between the Thai drama and the the Indian drama | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | ภาษาไทย | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Niyada_Sa_front.pdf | หน้าปก | 559.24 kB | Adobe PDF | View/Open |
Niyada_Sa_ch1.pdf | บทที่ 1 | 569.39 kB | Adobe PDF | View/Open |
Niyada_Sa_ch2.pdf | บทที่ 2 | 3.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Niyada_Sa_ch3.pdf | บทที่ 3 | 4.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Niyada_Sa_ch4.pdf | บทที่ 4 | 1.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Niyada_Sa_ch5.pdf | บทที่ 5 | 1.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
Niyada_Sa_ch6.pdf | บทที่ 6 | 297.9 kB | Adobe PDF | View/Open |
Niyada_Sa_back.pdf | ภาคผนวก | 856.29 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.