Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61967
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรัญ หาญสืบสาย
dc.contributor.authorปาณิศา พิริยะวรรธน์
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-05-27T07:30:38Z
dc.date.available2019-05-27T07:30:38Z
dc.date.issued2554
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61967
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เปรียบเทียบการผลิตเยื่อโซดา คราฟต์ และคราฟต์ดัดแปรจากลำต้นกล้วย เริ่มจากการผลิตเยื่อแบบโซดาโดยใช้ปริมาณโซเดียมไฮดรอกไซด์เท่ากับร้อยละ 10 15 และ 20 ของน้ำหนักแห้ง พบว่าการใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผลผลิตเยื่อและ คัปปานัมเบอร์ลดลง แต่ความต้านทานแรงฉีกเพิ่มขึ้น ปริมาณโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่เหมาะสมคือ ระดับร้อยละ 15 ของน้ำหนักแห้ง สำหรับการผลิตเยื่อแบบคราฟต์โดยใช้ค่าซัลฟิดิตี้เท่ากับร้อยละ 20 25 และ 30 พบว่าเมื่อค่าซัลฟิดิตี้เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผลผลิตเยื่อลดลงแต่ความขาวสว่างเพิ่มขึ้น ค่าซัลฟิดิตี้ที่เหมาะสม คือ ร้อยละ 25 การผลิตเยื่อแบบคราฟต์ดัดแปรโดยใช แอนทราควิโนนเท่ากับร้อยละ 0.1 และ 0.2 ของน้ำหนักแห้ง พบว่าการใช้แอนทราควิโนนส่งผลให้ผลผลิตเยื่อและความต้านทานแรงฉีกเพิ่มขึ้น แต่คัปปานัมเบอร์ และความแข็งแรงต่อแรงดึงลดลง ปริมาณแอนทราควิโนนที่เหมาะสม คือ ร้อยละ 0.2 สำหรับการผลิตเยื่อแบบคราฟต์ดัดแปรโดยใช้เมทานอลร้อยละ 20 ของปริมาตรของเหลวทั้งหมด พบว่าให้ผลไปในทิศทางเดียวกับการใช้แอนทราควิโนน ยกเว้นการใช้เมทานอลส่งผลให้ความยาวของเส้นใยลดลง และจากการเปรียบเทียบผลของชนิดการผลิตเยื่อแบบต่างๆ พบว่าการผลิตเยื่อด้วยวิธีคราฟต์ดัดแปรโดยใช้แอนทราควิโนนหรือเมทานอลให้ผลผลิตเยื่อสูงกว่าการผลิตเยื่อแบบคราฟต์และโซดา การผลิตเยื่อด้วยวิธีคราฟต์ให้ค่าคัปปานัมเบอร์สูงที่สุด ซึ่งค่าคัปปานัมเบอร์นี้ลดลงเมื่อมีการใช้แอนทราควิโนน และ/หรือ เมทานอล การผลิตเยื่อแบบคราฟต์ดัดแปรโดยใช้เมทานอลและแอนทราควิโนนให้ปริมาณลิกนินในเยื่อน้อยสุด โดยให้ปริมาณแอลฟาเซลลูโลสและเฮมิเซลลูโลสสูงกว่าการผลิตเยื่อแบบคราฟต์และแบบโซดา การผลิตเยื่อคราฟต์แบบดัดแปรให้ความแข็งแรงต่อแรงดึงต่ำกว่าการผลิตเยื่อแบบคราฟท์และโซดา แต่ให้ความต้านทานแรงฉีกสูงกว่าการผลิตเยื่อแบบคราฟต์ โดยค่าที่ได้จะใกล้เคียงกับการผลิตเยื่อแบบโซดาen_US
dc.description.abstractalternativeThis research compared soda, kraft and modified kraft pulping of banana pseudostem. Soda pulping was done using sodium hydroxide (NaOH) dosages of 10, 15 and 20% based on oven dried (O.D.) chip weight. Increasing NaOH decreased pulp yield and kappa number but increase tear resistance. The optimal dosage of NaOH was 15%. Kraft pulping was done using sulfidities equal to 20, 25 and 30%. Higher sulfidity led to lower pulp yield but higher brightness. The optimal sulfidity was 25%. Modified kraft pulping was done using anthraquinone (AQ) dosages of 0.1 and 0.2 based on O.D. chip weight. Using AQ increased pulp yield and tear resisatance but decrased kappa number and tensile strength. The optimal dosage of AQ was 0.2%. Modified kraft pulping using 20% of methanol based on total liquid volume was executed. Using methanol provided the results similar to using AQ except lower fiber length. When all pulping methods were compared, it was found that modified kraft pulping with AQ or methanol gave higher pulp yield than kraft and soda pulping. Highest kappa number obtained by kraft pulping; however, kappa number was lower when AQ and/or methanol was used with kraft pulping. Modified kraft pulping with methanol and AQ offered pulp with lowest lignin content but higher alpha cellulose and hemicellulose than kraft and soda pulping. Tensile strength obtained from modified pulping was lower than from kraft and soda pulping. However, tear resistance obtained from modified kraft pulping was higher than from kraft pulping but close to soda pulping.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2198
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการผลิตเยื่อกระดาษen_US
dc.subjectการผลิตกระดาษ
dc.subjectPulping
dc.subjectPapermaking
dc.titleการเปรียบเทียบการผลิตเยื่อโซดา เยื่อคราฟต์และเยื่อคราฟต์ดัดแปรจากลำต้น(เทียม)กล้วยen_US
dc.title.alternativeComparison of soda, kraft and modified kraft pulping from banana pseudostemen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีทางภาพen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorharan@sc.chula.ac.th
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.2198
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5272419823_2554.pdf1.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.